ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จารึกเบฮิสตูน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Samai2008 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหา
Samai2008 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
จารึกเหมือนกันคือเขียนด้วยอักษรคูนิฟอร์ม มีสามรูปแบบคือใช้ภาษาที่แตกต่างกันสามแบบคือ ภาษาเปอร์เซียโบราณ ภาษาอีลาไมต์ และภาษาบาบิโลเนียน (ความหลากหลายของชาวอัคคัด) จารึกเป็นอักษรรูปลิ่ม จารึกหินโรเซตต้าเป็นอักษร[[ไฮเออโรกลีฟอียิปต์]] เอกสารที่สำคัญในการถอดระหัสของจารึกที่ขาดหายไป
 
จารึกสูงประมาณ 15 เมตร กว้าง 25 เมตร บนหน้าผาหินปูนสูง 100 เมตรจากถนนโบราณเชื่อมต่อเมืองหลวงของอาณาจักรบาลิโนเนียกับเมืองหลวงของอาณาจักรมีเดีย (เมืองบาบิลอนกับเมืองเอ็คบาทานา) ข้อความภาษาเปอร์เซียโบราณมี 414 บรรทัดในห้าคอลัมน์ ข้อความภาษาอีลาไมต์รวม 593 บรรทัดใน 8 คอลัมน์ และข้อความภาษาบาบิโลเนียน 112 บรรทัด จารึกมีรูปประกอบคือรูปสลักนูนต่ำของพระเจ้าดาไรอัสที่ 1 มหาราช ทรงถือคันธนูเป็นสัญลักษณ์แห่งราชอาณาจักร พร้อมด้วยพระบาทซ้ายเหยียบอยู่บนหน้าอกของรูปคนนอนอยู่ บุคคลที่นอนหงายอยู่เป็นที่ทราบกันว่าเป็นเคามาตะผู้อ้างสิทธิแห่งบัลลังก์ พระเจ้าดาไรอัสมีทหารองครักษ์สองคนอยู่ทางซ้ายมือ และบุคคลทั้ง 9 ยืนเรียงกันไปทางขวามือ และมีมือถูกผูกไว้และเชือกผูกคอของพวกเขาเป็นการแสดงถึงชนชาติที่ถูกยึดครอง สัญญลักษ์ ฟาราวาหะระ faravahar ลอยอยู่ข้างบน แสดงการประทานพรแก่พระราชาผู้กำลังขอพร รูปบุคคลผู้หนึ่งปรากฎเหมือนถูกสลักขึ้นภายหลังจากสิ่งอื่นๆสำเร็จแล้ว เช่นเดียวกับพระมัสสุ (เครา) ของพระเจ้าดาไรอัสเป็นบล๊อคหินที่แยกกันถูกแนบติดยึดด้วยหมุดเหล็กและตะกั่ว