ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาวะคู่หรือคี่ของ 0"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
'''[[0]]''' (ศูนย์) เป็น[[จำนวนคู่]] กล่าวคือ '''[[ภาวะคู่หรือคี่ (คณิตศาสตร์)|ภาวะคู่หรือคี่]]'''ของ 0 คือคู่ วิธีง่ายที่สุดในการพิสูจน์ว่า 0 เป็นจำนวนคู่คือตรวจสอบว่าเข้ากับนิยามของ "คู่" หรือไม่ โดย 0 เป็น[[พหุคูณ]]ของ [[2]] คือ 0 × 2 ผลคือ ศูนย์มีคุณสมบัติทั้งหมดอันเป็นลักษณะของจำนวนคู่ คือ 0 [[ตัวหาร|หาร]]ด้วย 2 ลงตัว, 0 มี[[จำนวนคี่]]ที่มากกว่าและน้อยกว่าขนาบ, <math>0+x</math> มีภาวะคู่หรือคี่เหมือน <math>x</math> และ[[เซต (คณิตศาสตร์)|เซต]]ของวัตถุ 0 วัตถุสามารถแบ่งได้เป็นสองเซตเท่า ๆ กัน
 
0 ยังเข้ากับแบบรูปที่จำนวนคู่อื่นมี กฎ[[เลขคณิต]]ภาวะคู่หรือคี่ เช่น จำนวนคู่ − จำนวนคู่ = จำนวนคู่ กำหนดให้ 0 เป็นจำนวนคู่ 0 เป็น[[สมาชิกเอกลักษณ์]]การบวกของ[[กรุป (คณิตศาสตร์)|กรุป]]จำนวนเต็มคู่ และเป็นกรณีตั้งต้นซึ่ง[[จำนวนธรรมชาติ]]คู่อื่นมี[[บทนิยามเวียนเกิด]] การใช้การเวียนเกิดนี้จาก[[ทฤษฎีกราฟ]]จนถึง[[Computational geometry|เลขาคณิตการคณนา]]ต้องอาศัยว่า 0 เป็นจำนวนคู่ ไม่เพียงแต่ 0 หารด้วย 2 ลงตัวเท่านั้น แต่ยังสามารถหารด้วย[[กำลังของ 2]] ทุกจำนวนได้ลงตัว ซึ่งเกี่ยวข้องกับ[[ระบบเลขฐานสอง]]ที่คอมพิวเตอร์ใช้
 
ในหมู่สาธารณชนทั่วไป ภาวะคู่หรือคี่ของ 0 สามารถทำให้เกิดความสับสนได้ ในการทดลองเวลาปฏิกิริิยา คนส่วนใหญ่ระบุว่า 0 เป็นจำนวนคู่ช้ากว่า 2, 4, 6 หรือ 8 นักเรียนคณิตศาสตร์ รวมถึงครูอาจารย์บางส่วนคิดว่า 0 เป็นจำนวนคี่, หรือเป็นทั้งคู่และคี่ หรือไม่เป็นทั้งคู่และคี่ นักวิจัยด้านการศึกษาคณิตศาสตร์เสนอว่า ความเข้าใจผิดเหล่านี้สามารถเป็นโอกาสเรียนรู้ได้ การศึกษาภาวะเท่ากัน เช่น 0 × 2 = 0 สามารถตอบข้อสงสัยของนักเรียนเกี่ยวกับการเรียก 0 เป็น[[จำนวน]]และใช้ในเลขคณิต การอภิปรายกลุ่มสามารถนำให้นักเรียนเข้าใจหลักการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เช่น ความสำคัญของนิยาม การประเมินภาวะคู่หรือคี่ของจำนวนพิเศษนี้เป็นตัวอย่างอย่างง่ายของแก่นที่แพร่หลายในวิชาคณิตศาสตร์ คือ [[ภาวะนามธรรม (คณิตศาสตร์)|ภาวะนามธรรม]]ของมโนทัศน์คุ้นเคยไปสู่บริบทที่ไม่คุ้นเคย