ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชนชั้นกระฎุมพี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มเนื้อหาสารานุกรม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''กระฎุมพี''' (ออกเสียงว่า กระ-ดุม-พี) โดยทั่วไปมักสะกดผิดเป็น ''กระฎุมภี'' หรือ ''กฎุมภี'' เป็นชนชั้นทางสังคมกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ในกลุ่ม[[ชนชั้นสูง]]หรือ[[ชนชั้นพ่อค้าวาณิช]] ซึ่งได้สถานะทางสังคมหรืออำนาจมาจากหน้าที่การงาน การศึกษา หรือความมั่งมี (ซึ่งตรงกันข้ามกับพวก[[อภิชน]]) เป็นชนชั้นที่มีฐานะจากการค้าขายหรืองานช่างฝีมือ ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ซึ่งอาจหมายรวมถึง นายทุน นายทุนน้อย คนชั้นกลาง ส่วน "ไพร่กระฎุมพี" นั้น หมายถึงชนชั้นที่อยู่ต่ำกว่ากระฎุมพีแต่สูงกว่าชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคม เป็น "พลเมืองที่มีเงินพอใช้เลี้ยงชีวิตไม่เป็นทาสบุคคลผู้ใด"<ref name="Thanet">[[ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ]], [http://www.sac.or.th/Subdetail/article/2549/September2/article5.html ไพร่กระฎุมพี ความคิดการเมืองไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์], [[มติชน]], 1 กันยายน พ.ศ. 2549 จากเว็บไซต์[[ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร]] (อ้างตาม[[หมอบรัดเลย์]])</ref>
 
แนวคิดเช่น [[เสรีภาพส่วนบุคคล]] [[สิทธิพลเมือง]]และการนับถือศาสนา และ[[การค้าเสรี]] ล้วนสืบทอดมาจาก[[ปรัชญา]]ของกระฎุมพี
 
== ในมุมมองมาร์กซิสต์ ==
หนึ่งในการวิจารณ์กระฎุมพีที่ทรงอิทธิพลที่สุดมาจาก [[คาร์ล มาร์กซ]] โดยเขาโจมตีทฤษฎีการเมือง และมุมมองต่อสังคมและวัฒนธรรมพลเมืองของกระฎุมพี ที่เชื่อว่าแนวคิดและสถาบันต่าง ๆ เหล่านี้เป็นความจริงสากลเสมอ
ในมุมมองของมาร์กซนั้น แนวคิดเหล่านี้เป็นเพียงอุดมการณ์ของกระฎุมพีในฐานะ[[ชนชั้นปกครอง]]กลุ่มใหม่ ซึ่งต้องการจะจัดระเบียบสังคมตามสิ่งที่ตนจินตนาการ
 
== กระฎุมพีในประเทศไทย ==
 
ลักษณะเด่นของกระฎุมพีในประเทศไทยก็คือ การกำเนิดและแหล่งที่มาของกระฎุมพีในสังคม[[รัตนโกสินทร์]]นั้น ไม่ได้กำเนิดแยกเป็นอิสระจาก[[ชนชั้นศักดินา]]ที่ครอบครองอำนาจและผลประโยชน์เศรษฐกิจของอาณาจักรมาก่อน ตรงกันข้ามกระฎุมพีไทยถือกำเนิดมาภายในและจากระบบศักดินาเอง กระฎุมพีที่เป็นชนชั้นนำในยุคแรกนั้นจึงล้วนเป็นชนชั้นศักดินาด้วย<ref name="Thanet" /> ซึ่งต่างจากกระฎุมพีใน[[ยุคกลางของยุโรป]]ที่กำเนิดมาจากการรวมตัวกันเป็นสมาคมและบริษัทของพ่อค้าตามเมืองต่าง ๆ เพื่อทำธุรกิจและช่วยเหลือผลประโยชน์ของตน
 
== รูปศัพท์ ==
ความหมายตาม[[พจนานุกรม]] ฉบับ[[ราชบัณฑิตยสถาน]] พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ ''น. (1) คำนี้เดิมแปลว่า คนมั่งมี, พ่อเรือน. <nowiki>[</nowiki>ในอินเดียบางแห่งหมายความว่า ชนจำพวกศูทรที่มั่งมีขึ้น (หนังสือ Hobson-Jobson ในคำว่า Kumbi-กุมพี), [[ภาษาทมิฬ]] (ภาษาปาก) ว่า คนจน<nowiki>]</nowiki>.''
 
คำว่า '''กระฎุมพี''' นี้ มาจากภาษาบาลีว่า '''กุฎุมฺพี''' หรือ '''กุฏุมฺพิก''' (กุ-ตุม-พิ-กะ) ซึ่งแปลว่า ''ผู้มีทรัพย์'' ซึ่งก็มาจากคำว่า ''กุฏุมฺพ'' (กุ-ตุม-พะ) ที่แปลว่า ''ขุมทรัพย์'' ลง ณี และ อิก (อิ-กะ) ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต จึงแปลว่า ''ผู้มีทรัพย์'' หรือ ''ผู้มีขุมทรัพย์'' มีฐานะต่ำกว่า ''เศรษฐี'' ตามปรกติมักจะเป็น ''ลูกน้อง'' หรือ ''บริวาร'' ของเศรษฐี<ref>[[จำนงค์ ทองประเสริฐ]], [http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?Search=1&ID=1243 www.royin.go.th - ไพร่-กระฎุมพี], โดย ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ]เว็บไซต์ราชบัณฑิตยสถาน</ref>
 
[[พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]] อธิบายว่า เป็นคำนามหมายถึง "ชนชั้นต่ำ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฏุมพี" โดยระบุว่ามาจากคำบาลีว่า "กุฎุมฺพิก" แปลว่า "คนมั่งมี"
เส้น 15 ⟶ 21:
* เพลง ''คนกับควาย'' ของ[[คาราวาน|วงคาราวาน]] มีการใช้คำนี้ ในเนื้อเพลงท่อนหนึ่งว่า ''"...กระฎุมพีกินแรงแบ่งชนชั้น ชนชั้นชาวนาจึงต่ำลง..."''<ref>[http://www.caravanonzon.com/fr_music%2032.htm www.caravanonzon.com - เพลงคนกับควาย วงคาราวาน]</ref>
 
== อื่นๆอ้างอิง ==
<references />
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
*[http://www.gegenstandpunkt.com/english/state/toc.html The Democratic State] &ndash; A Critique of Bourgeois Sovereignty (ภาษอังกฤษ)
 
[[หมวดหมู่:ชนชั้นทางสังคม]]