ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อันโตน ฟัน ไดก์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
== ชีวิตเบื้องต้น ==
อันโตน ฟัน ไดก์เกิดในครอบครัวที่มั่งคั่งที่แอนต์เวิร์ปใน[[ประเทศเบลเยียม]]ปัจจุบัน และเป็นผู้มีความสามารถทางการเขียนมาตั้งแต่ต้น ภายในปี ค.ศ. 1609 ก็ได้เข้าศึกษาการเขียนภาพกับแฮนดริก ฟัน บาเลิน (Hendrick van Balen) และเป็นช่างเขียนอิสระเมื่อปี ค.ศ. 1615 ตั้งโรงฝึกงานร่วมกับ[[ยัน เบรอเคิล ผู้ลูก]] (Jan Brueghel the Younger) เพื่อนรุ่นน้อง<ref>Brown, Christopher: ''Van Dyck 1599-1641'', page 15. Royal Academy Publications, 1999. ISBN 0-900946-66-0</ref> เมื่อมีอายุได้ 15 ปี อันโตน ฟัน ไดก์ก็เป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงแล้วจากที่เห็นได้จาก "[[ภาพเหมือนตนเอง]]" ที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1613-1614. อันโตนได้รับเข้าเป็นสมาชิกของ[[สมาคมเซนต์ลูคช่างนักบุญลูกา]]แห่ง[[แอนต์เวิร์ป]] ในฐานะช่างเขียนอิสระเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1618.<ref>Gregory Martin, ''The Flemish School, 1600-1900'', National Gallery Catalogues'', p.26, 1970, National Gallery, London, ISBN 0-901791-02-4</ref>
ภายในสองสามปึก็ได้เป็นผู้ช่วยเอกของ[[เปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์]] จิตรกรผู้มีชื่อเสียงของแอนต์เวิร์ปและทางตอนเหนือของยุโรปทั้งหมด ผู้ใช้วิธืจ้างโรงฝึกงานย่อย ๆ ให้ทำงานให้โรงฝึกงานใหญ่ของรือเบินส์เอง รือเบินส์มีอิทธพลต่อฟัน ไดก์เป็นอันมาก และกล่าวถึงลูกศิษย์อายุ 19 ปีว่าเป็น "ลูกศิษย์คนเก่งที่สุดในบรรดาลูกศิษย์คนอื่น ๆ"<ref>Brown, page 17.</ref> ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์จะเป็นอย่างไรไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่สันนิษฐานกันว่าฟัน ไดก์เป็นลูกศิษย์ของรือเบินส์ตั้งแต่ราวปี ค.ศ. 1613 เพราะงานในสมัยนั้นมีลักษณะอิทธิพลของรือเบินส์ แต่ก็ไม่มีหลักฐานอะไรแน่นอนไปกว่านี้<ref name="EW">Ellis Waterhouse, "Painting in Britain, 1530-1790", 4th Edn, 1978,pp 70-77, Penguin Books (now Yale History of Art series)</ref> และอาจจะเป็นได้ว่า ถึงแม้ฟัน ไดก์จะกลับมาแอนต์เวิร์ปบ้างในบางครั้ง แต่ฟัน ไดก์ก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในต่างประเทศเพราะเมืองแอนต์เวิร์ปเริ่มหมดความสำคัญลง<ref name="EW"/> ในปี ค.ศ. 1620 รือเบินส์ได้รับงานชิ้นสำคัญในการเขียนภาพบนเพดานวัด[[เยสุอิต]]ที่แอนต์เวิร์ป (ปัจจุบันถูกทำลายไปแล้ว) ฟัน ไดก์เป็นผู้หนึ่งที่ระบุไว้ว่าเป็นผู้วาดภาพจากการออกแบบของรือเบินส์<ref>Martin, op and page cit.</ref>