ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอาจารย์ดี ฉนฺโน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 40:
ปี [[พ.ศ. 2469]] มีเหตุการณ์สำคัญของ [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ที่ทำให้กองทัพธรรมสายของ [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] และ [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] ซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่เสนาสนะ บ้านสามผง [[อำเภอศรีสงคราม]] [[จังหวัดนครพนม]] มีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับความศรัทธาอย่างสูง เหตุการณ์ที่ว่านี้เป็นเพราะพระเถระที่ชาวบ้านศรัทธามาก 3 รูปได้ขอญัตติเป็นพระฝ่าย[[ธรรมยุต]] ติดตามปฏิบัติธรรมไปกับ [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] ได้แก่ [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ]] [[พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก]] และ[[พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร]]
 
ปี [[พ.ศ. 2470]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้ทำการ [[''ทัฬหิกรรม]]'' ญัตติเป็นพระภิกษุสังกัดคณะสงฆ์[[ธรรมยุติกนิกาย]] ณ พระอุโบสถวัดสร่างโศก อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ในขณะนั้น ปัจจุบันคือ [[วัดศรีธรรมาราม]] (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง [[จังหวัดยโสธร]] โดยมี ''พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (ทองพูน โสภโณ)'' เป็นพระอุปัชฌาย์ ในการนี้ [[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] และพระอาจารย์ที่ติดตามอีกหลายรูปร่วมนั่งหัตถบาตร
 
ปี [[พ.ศ. 2471]] เมื่อได้ฝึกอบรมจิตภาวนาและข้อวัตรปฏิบัติกับ[[หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต]] แล้ว [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] จึงธุดงค์กลับไปปักกลดที่ ''ดอนคอกวัว'' เพื่อโปรดชาว ''บ้านกุดแห่'' ซึ่งเป็นบ้านของท่าน พ่อเฒ่าฝ่ายหน้า บุรารัตน์ เจ้าของที่ดินแปลงนี้ได้ถวายที่ดินเพื่อให้สร้างวัด [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] จึงสั่งให้ญาติโยมรื้อศาลากุฏิจากวัดศรีบุญเรืองท่าแขกทั้งหมดเอาไปปลูกสร้างวัดใหม่ที่บริเวณดอนคอกวัว และในปีนี้ [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] จึงได้สร้างวัดใหม่ให้เป็นวัดป่าปฏิบัติกัมมัฏฐานสาย[[พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต]] และเห็นว่า ''พระอาจารย์อินทร์ สุนฺทโร (วงศ์เสนา)'' ซึ่งเป็นบิดาของท่านได้อุปสมบทมานานแล้ว จึงนำเรื่องเสนอพระเถระแต่งตั้ง [[พระอธิการอินทร์ สุนฺทโร]] เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก และตั้งชื่อวัดให้คล้ายฉายาของเจ้าอาวาสรูปแรกซึ่งเป็นรูปปฐมฤกษ์ว่า [[วัดป่าสุนทราราม]] และพื้นที่วัดศรีบุญเรืองท่าแขกเดิมได้กลายเป็นธรณีสงฆ์ของวันป่าสุนทรารามในปัจจุบัน
บรรทัด 50:
ปี [[พ.ศ. 2475]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้ออกเดินธุดงค์ไปโปรดประชาชนชาว[[จังหวัดขอนแก่น]] ผ่านบ้านโสกแสง [[อำเภอน้ำพอง]] บ้านเม็งใหญ่ บ้านยางคำ [[อำเภอหนองเรือ]] และบ้านกุดเค้า [[อำเภอมัญจาคีรี]] [[จังหวัดขอนแก่น]] จึงได้พำนักจำพรรษาบริเวณนี้
 
ปี [[พ.ศ. 2476]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้จำพรรษาอยู่ที่ ''วัดป่าศิลาวิเวก'' อำเภอเมือง [[จังหวัดมุกดาหาร]] ในช่วงนี้ท่านได้ปฎิบัติธรรมกรรมฐานทำความเพียรอย่างอุกฤษฎ์ และได้รับ ''สามเณรถิร บุญญวรรณ'' เป็นศิษย์ ซึ่งต่อมาก็คือ ''หลวงปู่ถิร ฐิตธมฺโม'' หรือ [[''พระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ (ถิร ฐิตธมฺโม)]]''
 
ปี [[พ.ศ. 2479]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้มีโอกาสกราบถวายตัวเป็นศิษย์ [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] และได้ออกธุดงค์ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ตลอดมา จนกระทั้งวาระสุดท้ายที่หลวงปู่เสาร์มรณภาพ
 
ในปีนี้ [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] ได้ปรารภถึงการเดินทางกลับ[[จังหวัดอุบลราชธานี]] คณะศิษย์ทั้งหลายจึงได้จัดประชุมคณะสงฆ์และร่วมทำบุญใน[[วันมาฆบูชา]] ณ ''วัดอ้อมแก้ว'' หรือ [['''''วัดเกาะแก้วอัมพวัน]]''''' [[อำเภอธาตุพนม]] [[จังหวัดนครพนม]] ซึ่งถือเป็นภารกิจสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ที่[[จังหวัดนครพนม]]และถือเป็นการให้โอวาทครั้งสุดท้ายแก่คณะศิษย์ที่ไม่ได้เดินทางติดตามไปที่[[จังหวัดอุบลราชธานี]] การประชุมในครั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นการประชุมพระธุดงค์กรรมฐานครั้งใหญ่ที่สุดของ[[จังหวัดนครพนม]]ในสมัยนั้น
 
คณะศิษย์ได้เดินทางติดตาม [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] ไปพำนักที่[[จังหวัดอุบลราชธานี]] ในครั้งนั้นมีพระภิกษุสามเณรไม่น้อยกว่า 70-80 รูป หลวงปู่ใหญ่เสาร์จึงแบ่งคณะศิษย์ออกเป็นหลายกลุ่มหลายคณะ โดยมีศิษย์อาวุโสรับเป็นหัวหน้าแต่ละคณะ พร้อมทั้งกำหนดหมู่บ้านต่างๆ ที่แต่ละคณะจะไปพำนักเพื่อโปรดญาติโยมชาวเมืองอุบลราชธานี เช่น [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] ไปพำนักจำพรรษาที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน [[พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล]] ศิษย์อาวุโสฝ่าย[[มหานิกาย]] ไปตั้งวัดจำพรรษาอยู่ที่บ้านชีทวน [[พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปุญโญ]] ไปอยู่บ้านท่าศาลา [[พระอาจารย์ทอง อโสโก]] ไปอยู่บ้านสวนงัว และ[[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ไปอยู่บ้านกุดแห่ ซึ่งเป็นบ้านของท่าน เป็นต้น
บรรทัด 62:
ปี [[พ.ศ. 2481]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] และชาว[[อำเภอพิบูลมังสาหาร]] ได้ก่อสร้าง [[วัดดอนธาตุ]] ขึ้นเพื่อถวาย [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] เนื่องด้วยหลวงปู่ใหญ่เสาร์ได้ไปสำรวจเกาะแก่งน้อยใหญ่ตามลำ[[แม่น้ำมูล]]ทางตอนใต้ของเมืองพิบูลมังสาหาร และได้ปรารภว่าอยากสร้าง ''เกาะดอนธาตุ'' แห่งนี้ขึ้นเป็นวัดป่ากรรมฐานเพราะมีความเหมาะสม จึงมอบหมายให้ [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] รับหน้าที่ดูแลการสร้างวัดและเสนาสนะ ซึ่งในวัดแห่งนี้ได้สร้าง ''พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน)'' ขึ้นตามดำริของ[[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] โดยมี [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] เป็นช่างปั้นพระพุทธรูปในครั้งนี้ และในการนี้ [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] ได้ตั้งชื่อ ''เกาะดอนธาตุ'' แห่งนี้ว่า ''วัดเกาะแก้วพระนอนคอนสวรรค์วิเวกพุทธกิจศาสนา'' ครูบาอาจารย์ในสมัยนั้นเรียกสั้นๆว่า ''วัดเกาะแก้ว'' ต่อมากรมการศาสนาได้เปลี่ยนชื่อให้เป็น [[วัดดอนธาตุ]] ดังปรากฎในปัจจุบัน ซึ่งปัจฉิมวัยของ[[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] ได้พำนักจำพรรษา ณ [[วัดดอนธาตุ]] [[อำเภอพิบูลมังสาหาร]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] อันเป็นสถานที่ที่ [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้สร้างถวายแห่งนี้
 
ปี [[พ.ศ. 2485]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้ธุดงค์ติดตามอุปัฏฐากรับใช้[[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] ในวาระสุดท้าย และได้อยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ [[หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล]] มรณภาพ ในอิริยาบถนั่งกราบพระประธานครั้งที่ 3 ภายในพระอุโบสถ[[วัดอำมาตยาราม]] [[อำเภอวรรณไวทยากร]] [[จังหวัดนครจัมปาศักดิ์]] [[ประเทศไทย]] ในขณะนั้น (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ[[แขวงจำปาศักดิ์]] [[ประเทศลาว]]) เมื่อวันอังคาร แรม 3 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สิริอายุ 82 ปี พรรษา 62 คณะศิษย์ได้เชิญศพของท่านกลับมา ณ [[วัดบูรพาราม]] อำเภอเมือง [[จังหวัดอุบลราชธานี]] และได้ทำการฌาปนกิจในวันที่ 15 - 16 เมษายน [[พ.ศ. 2486]]
 
ปี [[พ.ศ. 2493]] [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้ไปพำนักอยู่จำพรรษาและรับเป็นเจ้าอาวาส[[วัดป่าแสนสำราญ]] [[อำเภอวารินชำราบ]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] เพื่อโปรดญาติโยมในท้องที่อำเภอวารินชำราบ และในช่วงออกพรรษาของแต่ละปี ท่านก็ได้ออกธุดงค์ปลีกวิเวกไปตามท้องที่ต่างๆเพื่อโปรดศรัทธาญาติโยม