ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอาจารย์ดี ฉนฺโน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 72:
'''การปลงอายุสังขาร''' เมื่อปี [[พ.ศ. 2502]] ในต้นเดือนกุมภาพันธ์ [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้นัดญาติโยมบ้านกุดแห่ บ้านดอนสวรรค์ บ้านดอนป่าโมง บ้านดอนม่วง ให้มาประชุมกัน ณ [[วัดป่าสุนทราราม]] เมื่อถึงเวลาได้มีศรัทธาญาติโยมมากันเป็นจำนวนมาก ท่านได้กล่าวในที่ประชุมว่า ''"...ป่วยอยู่ที่วัดภูถ้ำพระหลายวันแล้ว ได้สกัดหินออกให้ถ้ำกว้างขึ้น ได้พระงามา 1 องค์ ในหลืบหิน ขณะนี้อาการป่วยมีปวดบั้นเอวมาก ได้นิมิตว่าเดินเข้าวัดได้เห็นคนปั้นขี้ผึ้ง แล้วได้ถามว่าปั้นอะไร เขาตอบว่าปั้นเอวพระอาจารย์ดี ถามอีกต่อว่าต่อได้ไหม เขาตอบว่าต่อไม่ได้เป็นขี้เถาไปแล้ว นิมิตนั้นอาตมาเห็นว่าการป่วยคราวนี้คงจะหายได้ยาก..."'' และท่านได้มอบหมายให้ ''พระอาจารย์สิงห์ทอง ปภากโร'' ลูกศิษย์องค์สำคัญ ซึ่งต่อมาก็คือ [[พระครูสุนทรศีลขันธ์ (สิงห์ทอง ปภากโร)]] เป็นเจ้าอาวาส[[วัดป่าสุนทราราม]]แทน และหลังจากนั้น 3 วันต่อมา [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ได้เดินทางไปอยู่[[วัดป่าแสนสำราญ]] [[อำเภอวารินชำราบ]] [[จังหวัดอุบลราชธานี]] ซึ่งท่านได้ให้เหตุผลว่า ''"...เพราะที่นั้นเป็นศูนย์กลาง ศิษย์ทางใต้ ทางกรุงเทพฯ ก็จะมารวมกันที่นี่ ทางตะวันออก พิบูลมังสาหาร นาจะหลวย เดชอุดม ก็จะมารวมกันที่นั้น ทางเหนือ เขมราฐ อำนาจเจริญ ยโสธร กุดแห เลิงนกทา มุกดาหาร สกลนคร นครพนม ก็จะมารวมกันที่วัดป่าแสนสำราญได้ง่าย..."''
 
'''ปัจฉิมวัย''' ในวาระสุดท้ายของชีวิต [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] มีอาการอาพาธบริเวณช่องท้องและเอว ได้เข้ารักษาอาการอาพาธที่โรงพยาบาลทหาร อำเภอวารินชำราบ และโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี แต่อาการอาพาธไม่ดีขึ้น ท่านเล่าว่า ''"นิมิตเห็นว่าชาติปางก่อน เป็นพ่อค้า ได้นำสินค้าขึ้นเกวียนบรรทุกไปขายที่เมืองต่างๆ โดยใช้วัวลางลากจูง แล้วได้ใช้เหล็กปฏักอันแหลมคมทิ่มแทงที่เอวของวัว เพื่อให้มันลางจูงเกวียนไป กรรมที่เคยทำไว้ในอดีตชาตินั้นส่งผลให้เจ็บป่วยบ่อย รักษาอย่างไรก็ไม่หาย"''
 
'''ปัจฉิมพจน์''' วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2502 เมื่อเวลาประมาณตี 4 เกือบตี 5 พระเณรลูกศิษย์ใน[[วัดป่าแสนสำราญ]]นั่งล้อมเป็นหัตถบาตร [[พระอาจารย์ดี ฉนฺโน]] ท่านได้ให้ [[พระอาจารย์พุธ ฐานิโย]] พยุงอยู่ในอิริยาบทนั่งพิงหมอนสามเหลี่ยม แล้วท่านก็ได้พิจารณามองไปรอบๆ อีกทั้งกาลเวลาใกล้รุ่งเป็นเวลาอันเงียบสงบ และแล้วท่านก็แสดงธรรมเป็นวาระสุดท้าย โดยมีปัจฉิมพจน์ว่า ''"ผู้ที่อยู่ที่นี้จงฟัง...เบญจขันธ์นั้นเป็นของโลก ศิษย์แห่งพระพุทธองค์ที่ต่อสู้ปฎิบัติมาตลอดก็เพื่อเวลานี้ ถึงเวลาที่จะต้องปล่อยวางเบญจขันธ์สังขารเสีย ต่อนี้ไป ให้ผู้ที่อยู่หมั่นบำเพ็ญเพียรภาวนาตามแนวทางครูอาจารย์ที่สืบปฎิบัติมา กำหนดจิตรู้ที่ตนเท่านั้น..."'' หลังจากท่านพูดจบก็นิ่งเงียบไปประมาณ 5 นาที ท่านก็ได้ละสังขารไป มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ ณ ที่นั้น