ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระธรรมกาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Farang Rak Tham (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7357620 สร้างโดย YURi (พูดคุย) เป็นเนื้อหาที่ไม่มีอ้างอิ่งมานาน
บรรทัด 133:
== การวิพากษ์วิจารณ์ ==
[[ไฟล์:MemorialHall Closeup.JPG|300px|thumb|มหาวิหารพระมงคลเทพมุนี]]
วัดพระธรรมกายมีผู้ศรัทธาจำนวนหนึ่ง แต่ก็เป็นที่แคลงใจของประชาชนทั้งยังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง แม้สื่อมวลชนจำนวนหนึ่งขอขมาแล้วก็ตาม<ref>{{cite news|title=คำชี้แจง|first=สุชาติ|last=ศรีสุวรรณ|url=http://www.matichonelibrary.com/view.php?imag=LzQ2LzM2Lzk3LzQ2MzY5NzAzLlRJRg|accessdate=8 มี.ค. 2560|work=[[มติชน]]|date=19 ก.ค. 2546|page=10|via=Matichon E-library}}</ref> เป็นต้นว่า
* '''การแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์''' กรณีที่วัดพระธรรมกายนำเงินบริจาคไปลงทุนเพื่อแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยอ้างว่าเพื่อให้เงินเกิดดอกออกผลติดตามมานั้น ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวาง เช่น ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ทำวิจัยเรื่องหนังสือพิมพ์ผู้จัดการเรียกวัดพระธรรมกาย ได้แสดงความเห็นว่า "พระสงฆ์ต้องพอใจจากปัจจัยที่ผู้คนบริจาคให้ การนำไปลงทุนเพื่อเอากำไรอาจทำให้จิตใจเฉไฉไปทางอื่นได้"{{Citation needed|date=มี.ค. 2560}} หนังสือพิมพ์ผู้จัดการจึงเรียกเป็น "แหล่งพุทธพาณิชย์ขนาดใหญ่ของโลก"<ref name="เพี้ยน" /> วัดพระธรรมกายเผยแพร่ความเชื่อโดยอาศัยวิธีทางการตลาด มีการโฆษณาชวนเชื่อ ชักชวนผู้คนให้เข้ามาบวชเป็นศิษย์มาก ๆ และสร้างวัตถุใหญ่โต พร้อมคำสอนสั่งว่า "ผู้ที่ร่ำรวยในชาตินี้เพราะในอดีตทำบุญมาก ผู้ที่ยากจนเพราะไม่ได้ทำบุญ" นั้น ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน โดยรองศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ พระสุธีวรญาณ (ณรงค์ จิตฺตโสภโณ) รองอธิการบดีมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ระบุว่า แม้การเผยแผ่พุทธศาสนาใช้ระบบขายตรงมาแต่ดั้งเดิม แต่วัตถุประสงค์ต่างจากของวัดพระธรรมกาย เพราะพระพุทธเจ้าทรงมุ่งทำให้[[กิเลส]]ของผู้คนน้อยลง เป็นการติดอาวุธทางปัญญา มิใช่มุ่งติดอาวุธทางการเงิน{{citation needed|date=มี.ค. 2560}}
* '''การยักยอกทรัพย์''' กรณีที่วัดพระธรรมกายถูกพระธัมมชโย เจ้าอาวาส ยักยอกทรัพย์ โดยปรากฏว่าโฉนดที่ดินมากมายของวัดมีชื่อพระธัมมชโยเป็นเจ้าของ เรื่องนี้ถูกนำเข้า[[มหาเถรสมาคม]]และเกิดเป็นคดีอาญาในเวลาต่อมา การไต่สวนดำเนินมาเจ็ดปี แต่สุดท้ายอัยการสูงสุดได้มีมติให้ถอนฟ้อง เนื่องจากพระธัมมชโยได้คืนที่ดินให้แก่วัดพระธรรมกายแล้ว<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9530000066922|title=ย้อนคดี ธัมมชโย ยักยอกทรัพย์วัดพระธรรมกาย อัยการตัดตอนถอนฟ้อง|date=2553-05-15|publisher=Manager Online|accessdate=2556-03-23}}</ref>
* '''การธุดงค์ในเมือง''' กรณีที่วัดพระธรรมกายจัดให้พระสงฆ์ออกเดิน[[ธุดงค์]]ในเมือง เรียกว่า "ธุดงค์ธรรมชัย" โดยให้นำเครื่องลาดมาปูรองที่เดิน โปรยบุปผชาติบนเครื่องลาด และจัดให้ประชาชนซึ่งเป็นสาวกมาเฝ้าแห่แหนริมเครื่องลาด ทั้งมีขบวนแห่อย่างวิจิตรอลังการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2554<ref>{{cite web | title = บทวิเคราะห์ธรรมกาย กฎหมายหมิ่นศาสนา และอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่ซ้อนรัฐ | author = ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ | publisher = ประชาไท | url = http://prachatai.com/journal/2012/04/39991 | date = 2555-04-06 | accessdate = 2556-07-08}}</ref> นั้น ก่อปัญหาการจราจรในเมือง และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง<ref name="บุกกรุง">{{cite web|title=ขบวนภิกษุธรรมกายบุกกรุง! สาวกแห่โปรย “ดาวรวย” รับ “พงศ์เทพ” ยักไหล่ใช้ ร.ร.ปักกลด|url=http://www.manager.co.th/politics/viewnews.aspx?NewsID=9560000010355|publisher=[[ผู้จัดการ]]|date=2556-01-25|accessdate=2556-07-08}}</ref><ref name="หลายฝ่ายฉะ">{{cite web|title=หลายฝ่ายฉะ “ธุดงค์กลางเมือง” ไม่เหมาะสม “ธรรมกาย” อ้างไม่ผิดหลักศาสนา|url=http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000042667|publisher=[[ผู้จัดการ]]|date=2555-04-04|accessdate=2556-07-08}}</ref><ref>{{cite web|title=ธุดงค์นะจ๊ะ... ธรรมเกินนะฮะ!|url=http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000042941|publisher=[[ผู้จัดการ]]|date=2555-04-05|accessdate=2556-07-08}}</ref> เป็นต้นว่า
บรรทัด 142:
* '''การจัดการพนัน''' กรณีที่วัดพระธรรมกายเปิดให้สาธารณชนกด "ถูกใจ" (like) หน้าเฟซบุ๊กของวัด แล้วลงชื่อเสียงเรียงนามพร้อมที่อยู่สำหรับติดต่อกลับ เพื่อชิงรางวัลพระพุทธรูปทองคำมูลค่าสิบล้านบาท เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2556 นั้น ถูกนักนิติศาสตร์วิพากษ์วิจารณ์ว่า เป็นการขยายฐานลูกค้าของวัด และเป็นการจัดการพนันโดยแจ้งชัดซึ่งตามกฎหมายแล้วต้องขออนุญาตจาก[[กระทรวงมหาดไทย]]ก่อน อย่างไรก็ดี นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า ไม่ผิดอะไร เป็นเรื่องมโนสาเร่ไม่ควรใส่ใจ เพราะเป็นเพียงวิธีดึงดูดความสนใจของวัด และเห็นว่า ที่กิจกรรมนี้ถูกมองว่าเป็นการแสวงหาผลประโยชน์บางประการนั้น "ก็เพราะวัดแห่งนี้มีภาพลักษณ์ที่คนนอกมักมองว่าเลวอยู่ก่อนแล้ว"<ref>{{cite web|title=นักวิชาการชี้ กดแชร์ธรรมะ ธรรมกาย ลุ้น 10 ล้าน เข้าข่ายการพนัน|url=http://fb.kapook.com/hilight-88083.html|work=กะปุก|date=2556-07-03|accessdate=2556-07-03}}</ref>
* กิจกรรมของวัดพระธรรมกายยังเป็นหัวเรื่องหนึ่งที่นิยมศึกษาและวิจัย เช่น งานวิทยานิพนธ์ของ[[พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี]] ที่ได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางบนอินเทอร์เน็ตกลางปี 2556 เมื่อ[[สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน]]ถูกวิพากษ์วิจารณ์ที่บังคับให้ข้าราชการครูเข้าอบรมยังวัดพระธรรมกาย<ref name="แชร์ว่อน" /> โดยพระมหาวุฒิชัยได้วิจัยเกี่ยวกับงานวิชาการต่างๆ ของ[[พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)]] แล้วสรุปว่า วัดพระธรรมกายเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐาน<ref name="แชร์ว่อน">{{cite web|title=แชร์ว่อน!วิทยานิพนธ์พระว.'ธรรมกาย'อันตราย|url=http://www.komchadluek.net/detail/20130910/167865/แชร์ว่อน!วิทยานิพนธ์พระว.ธรรมกายอันตราย.html#.Ui9QYsaFuu9|publisher=คมชัดลึก|date=2556-09-11|accessdate=2556-09-11}}</ref>
* นอกจากนี้ วัดพระธรรมกายยังถูกเรียกในเชิงล้อเลียนว่า "วัดจานบิน" เพราะมหาวิหารพระมงคลเทพมุนีซึ่งตั้งอยู่กลางวัดนั้นมีสัณฐานละม้ายคล้ายคลึงกับ[[จานบิน]] (UFO){{citation needed|date=มี.ค. พ.ศ. 2560}}
 
== ดูเพิ่ม ==