ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความน่าสะพรึงกลัว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "คณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ" → "คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม" ด้วยสจห.
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
กิโยตินกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งมีการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก เช่น [[มารี อ็องตัวแน็ต]]และ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 16]] ทั้งผู้สนับสนุนการปฏิวัติ [[หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์|ฟิลิปป์ เอกาลีเต (หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์)]] [[มาดามโรลองด์]]และกลุ่มฌีรงแด็ง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคน อาทิ [[อ็องตวน ลาวัวซีเย]] นักเคมีบุกเบิก ที่ต้องมาสังเวยชีวิตด้วยเช่นกัน ระหว่าง ค.ศ. 1794 ฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติถูกรุมเร้าด้วยการคบคิดโดยศัตรูทั้งในและนอกประเทศ สำหรับในประเทศ การปฏิวัติถูกชนชั้นสูงฝรั่งเศสคัดค้าน ซึ่งสูญเสียเอกสิทธิ์ที่ได้รับสืบทอดมา [[นิกายโรมันคาทอลิก]]โดยทั่วไปคัดค้านการปฏิวัติ ซึ่งได้เปลี่ยนนักบวชเป็นลูกจ้างของรัฐและบังคับให้ต้องปฏิญาณความจงรักภักดีต่อชาติ นอกเหนือจากนี้ [[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1]] ยังต้องสู้รบใน[[สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส|สงครามกับประเทศเพื่อนบ้าน]]ที่เจตนาทำลายการปฏิวัตินี้เสียเพื่อป้องกันมิให้ลุกลาม
 
การขยายของสงครามกลางเมืองและการรุกคืบของกองทัพต่างด้าวต่อดินแดนของชาติได้ก่อวิกฤตการณ์การเมืองและเพิ่มการแข่งขันระหว่างฌีรงแด็งกับฌากอแบ็งซึ่งหัวรุนแรงกว่า ฝ่ายหลังนี้ต่อมาได้รวมกลุ่มในกลุ่มแยกรัฐสภา เรียกว่า Mountain[[ลามงตาญ]] (La Montagne) และพวกเขาได้การสนับสนุนจากประชากรกรุงปารีส สภาฝรั่งเศสตั้ง[[คณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม]] ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1793 เพื่อปราบปรามกิจกรรมต่อต้านการปฏิวัติภายในประเทศและเพิ่มกำลังทหารฝรั่งเศสเพิ่มเติม
ผ่าน[[ศาลปฏิวัติ]] ผู้นำสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวใช้อำนาจเผด็จการอย่างกว้างขวางและใช้ประหารชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากและการกวาดล้างทางการเมือง การปราบปรามเพิ่มขึ้นในเดือนมถุนายนและกรกฎาคม ค.ศ. 1794 ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า "''la Grande Terreur''" (the Great Terror) และสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหารวันที่ 27 กรกฎาคม 1794 ซึ่งนำไปสู่[[ปฏิกิริยาเดือนแตร์มีดอร์]] (Thermidorian Reaction) ซึ่งผู้สนับสนุนสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวหลายคนถูกประหารชีวิต รวมทั้ง [[มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์]]