ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สาธารณรัฐโรมัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
ในทางปฏิบัติ [[ชนชั้นทางสังคมในสาธารณรัฐโรมัน|สังคมโรมันเป็นแบบลำดับชั้น]]<ref>Gary Forsythe, A Critical History of Early Rome: From Prehistory to the First Punic War, p.368, University of California Press, 2006</ref><ref>V. Henry T. Nguyen, Christian Identity in Corinth: A Comparative Study of 2 Corinthians, Epictetus and Valerius Maximums, p.24, Mohr Siebeck, 2008</ref> วิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโรมันได้รับอิทธิพลอย่างมากจากการต่อสู้ระหว่างชนชั้นสูงผู้ถือครองที่ดินของโรม (พวกคณะพรรค) ผู้ซึ่งมีบรรพบุรุษย้อนไปตั้งแต่ประวัติศาสตร์ยุคต้นของอาณาจักรโรมัน กับชนชั้นไพร่ฟ้าประชาชน (พวกสามัญ) ที่มีจำนวนมากกว่ามาก เมื่อเวลาผ่านไป กฎหมายซึ่งให้สิทธิ์ขาดตำแหน่งสูงสุดของโรมแก่พวกคณะพรรคถูกยกเลิกหรือหย่อนลง ทำให้พวกสามัญเริ่มเข้ามาเรียกร้องสิทธิในอำนาจ บรรดาผู้นำของกรุงโรมได้พัฒนา[[mos maiorum|ประเพณีและศีลธรรม]]แข็งซึ่งต้องการบริการส่วนรวมและ[[การอุปถัมภ์ในโรมโบราณ|การอุปถัมภ์]]ในยามสันติและสงคราม หมายความว่า ความสำเร็จทางทหารและการเมืองเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ได้ ระหว่างสองศตวรรษแรก สาธารณรัฐโรมันได้ขยายตัวผ่านการพิชิตและพันธมิตรร่วมกัน จากอิตาลีตอนกลางเป็นทั้ง[[คาบสมุทรอิตาลี]] เมื่อถึงศตวรรษต่อมา รวมถึงแอฟริกาเหนือ [[คาบสมุทรไอบีเรีย]] กรีซ และพื้นที่ซึ่งปัจจุบันเป็นฝรั่งเศสตอนใต้ อีกสองศตวรรษจากนั้น ใกล้ปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล รวมถึงฝรั่งเศสปัจจุบันที่เหลือ และพื้นที่อีกมากในทางตะวันออก ถึงขณะนี้ แม้จะมีข้อจำกัดตามประเพณีและกฎหมายของสาธารณรัฐต่อการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองอย่างถาวรของบุคคล การเมืองโรมันถูกครอบงำโดยผู้นำโรมันไม่กี่คน พันธมิตรที่อึดอัดระหว่างพวกเขาถูกคั่นด้วย[[สงครามกลางเมืองสาธารณรัฐโรมัน|สงครามกลางเมือง]]เป็นระยะ
 
ผู้ชนะคนสุดท้ายในสงครามกลางเมืองเหล่านี้ [[ออกัสตัส ซีซาร์จักรพรรดิเอากุสตุส|ออกเตเวียนอ็อกตาวิอุส (ออกัสตัสเอากุสตุส)]] ปฏิรูปสาธารณรัฐเป็น[[Principate|สมัยผู้นำ]] โดยตั้งตนเป็น "พลเมืองหมายเลขหนึ่ง" ([[princeps]]) ของโรม วุฒิสภายังคงประชุมและโต้วาทีกัน มีการเลือกตั้งพนักงานผู้ปกครองประจำปีดังก่อน แต่การตัดสินใจสุดท้ายในประเด็นนโยบาย การสงคราม การทูตและการแต่งตั้งเป็นเอกสิทธิ์ของ princeps ในฐานะ "[[Primus inter pares|ผู้เป็นเอกในบรรดาผู้เท่าเทียม]]" (หรือ [[imperator]] เนื่องจากการถือ[[อำนาจสิทธิ์ขาด]] อันเป็นที่มาของคำว่า [[จักรพรรดิ]]) อำนาจของพระองค์เป็นแบบระบอบกษัตริย์ทุกอย่างเว้นแต่นามเท่านั้น และพระองค์ถืออำนาจไว้ตลอดชีพ ในนามของวุฒิสภาและประชาชนแห่งกรุงโรม สาธารณรัฐโรมันไม่เคยถูกฟื้นฟู แต่ก็ไม่เคยถูกล้มล้างเช่นกัน ดังนั้น เหตุการณ์อันเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิโรมันจึงยังเป็นประเด็นที่ต้องตีความต่อไป นักประวัติศาสตร์เสนอหลากหลายเหตุการณ์ เช่น การแต่งตั้งจูเลียส ซีซาร์เป็น[[ผู้เผด็จการโรมัน|ผู้เผด็จการ]]ตลอดชีพเมื่อ 44 ปีก่อน ค.ศ., ความพ่ายแพ้ของ[[มาร์ค แอนโทนี]]ใน[[ยุทธการแอคติอุม]]เมื่อ 31 ก่อน ค.ศ. และการมอบอำนาจเต็มแก่ออกเตเวียน (ออกัสตัส) ของวุฒิสภาโรมันภายใต้ข้อตกลงแรกเมื่อ 27 ปีก่อน ค.ศ. เป็น[[ต้นยุคอ้างอิง|เหตุการณ์]]นิยามการสิ้นสุดสาธารณรัฐ
 
โครงสร้างทางกฎหมายและนิติบัญญัติจำนวนมากของโรมยังพบเห็นได้ทั่วยุโรปและพื้นที่ส่วนอื่นของโลกโดย[[รัฐชาติ]]สมัยใหม่และ[[องค์การระหว่างประเทศ]] [[ภาษาละติน]] ภาษาของชาวโรมัน ส่งอิทธิพลต่อไวยากรณ์และคำศัพท์ทั่วบางส่วนของยุโรปและโลก