ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เชอร์ล็อก โฮมส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้จำนวนฤดูกาล (จาก 3 เป็น 4 ฤดูกาล ) ของซีรีย์ Sherlock ของ BBC ในหมวดรายการโทรทัศน์
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
<br /> using AWB
บรรทัด 3:
| name = เชอร์ล็อก โฮมส์
| title_orig = Sherlock Holmes
| translator = [[หลวงสารานุประพันธ์]],</br />[[อ. สายสุวรรณ]]
| image = Sherlock Holmes - The Man with the Twisted Lip.jpg
| image_caption = ภาพวาด ''เชอร์ล็อก โฮมส์''</br />ในนิตยสารสแตรนด์ ค.ศ. 1891
| author = [[อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์|เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์]]
| illustrator =
บรรทัด 25:
}}
 
'''เชอร์ล็อก โฮมส์ ''' ({{Lang-en|Sherlock Holmes}}, {{IPA-en|həʊmz|pron}}) เป็นนวนิยายสืบสวนหรือ[[รหัสคดี]] ประพันธ์โดย[[อาร์เธอร์ โคแนน ดอยล์|เซอร์อาร์เธอร์ โคนัน ดอยล์]] นักเขียนและนายแพทย์[[ชาวสกอตแลนด์|ชาวสกอต]] ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตัวละคร ''เชอร์ล็อก โฮมส์'' เป็น[[นักสืบ]]ชาว[[ลอนดอน]]ผู้ปราดเปรื่องที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านทักษะการประมวลเหตุและผล ทักษะด้าน[[นิติวิทยาศาสตร์]] โดยอาศัยหลักฐานและการสังเกตอันคาดไม่ถึงเพื่อคลี่คลายคดี
 
โคนัน ดอยล์ แต่งเรื่อง ''เชอร์ล็อก โฮมส์'' ไว้ทั้งสิ้นเป็นเรื่องยาว 4 เรื่อง และเรื่องสั้น 56 เรื่อง เกือบทุกเรื่องเป็นการบรรยายโดยเพื่อนคู่หูของโฮมส์ คือ '''[[จอห์น เอช. วอตสัน|นายแพทย์จอห์น เอช. วอตสัน]]''' หรือ '''หมอวอตสัน''' ในจำนวนนี้ มี 2 เรื่องที่โฮมส์เป็นผู้เล่าเรื่องเอง และอีก 2 เรื่องเล่าโดยบุคคลอื่น เรื่องสั้นสองเรื่องแรกตีพิมพ์ใน ''Beeton's Christmas Annual'' ในปี ค.ศ. 1887 และ ''Lippincott's Monthly Magazine'' ในปี ค.ศ. 1890 แต่หลังจากที่ชุดเรื่องสั้นลงพิมพ์เป็นคอลัมน์ประจำใน ''นิตยสารสแตรนด์'' เมื่อปี ค.ศ. 1891 นิยายเรื่องนี้ก็โด่งดังเป็นพลุ เหตุการณ์ในนิยายอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1878 ถึง ค.ศ. 1903 และคดีสุดท้ายเกิดในปี ค.ศ. 1914
บรรทัด 37:
 
== โครงเรื่อง ==
''เชอร์ล็อก โฮมส์'' ตอนแรกที่ลงตีพิมพ์ใน ''Beeton's Christmas Annual'' คือ ตอน ''แรงพยาบาท (A Study in Scarlet) '' โดยบทแรกเล่าถึงการพบกันครั้งแรกระหว่างโฮมส์กับวอตสัน ทั้งสองมาเช่าห้องพักร่วมกันที่บ้านเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1881 แต่เนื้อเรื่องใน ''แรงพยาบาท'' เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1884<ref name="timeline">[http://www.sherlockpeoria.net/Who_is_Sherlock/SherlockTimeline.html A Basic Timeline of Terra 221B] จาก sherlockpeoria.net</ref>
 
เวลานั้นโฮมส์เป็นนักสืบอยู่แล้ว ส่วนหมอวอตสันเพียงต้องการพักผ่อนหลังจากเกษียนตัวเองจากสงครามอัฟกานิสถาน ในช่วงแรกหมอวอตสันรู้สึกว่าโฮมส์ช่างเป็นคนแปลกประหลาด แต่ต่อมาเมื่อคุ้นเคยขึ้น วอตสันจึงเข้าใจและมองเห็นความสำคัญของสิ่งที่โฮมส์ทำ นับแต่นั้นหมอวอตสันได้ร่วมในการสืบสวนคดีของโฮมส์หลายต่อหลายครั้ง และเขียนเป็นบันทึกเก็บไว้อ่าน เนื้อเรื่อง ''เชอร์ล็อก โฮมส์'' ที่โคนัน ดอยล์ ประพันธ์นั้น สมมติขึ้นว่าเป็นการเล่าเรื่องจากสมุดบันทึกของหมอวอตสัน ซึ่งเขาส่งให้หนังสือพิมพ์ตีพิมพ์บ้างบางตอน เพราะต้องการเผยแพร่กิตติคุณความสามารถของโฮมส์ให้โลกรู้
บรรทัด 82:
อย่างไรก็ดี มีบางเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่า หมอวอตสันประเมินโฮมส์ผิดไปบ้าง เช่น เหตุการณ์ในตอน ''เหตุอื้อฉาวในโบฮีเมีย'' ซึ่งโฮมส์สามารถตระหนักถึงความสำคัญของเคานต์ฟอนแครมได้ทันที หรือในหลาย ๆ คราวที่โฮมส์มักเอ่ยอ้างถึงถ้อยคำในพระคัมภีร์[[ไบเบิล]] [[วิลเลียม เชกสเปียร์|เชกสเปียร์]] หรือ[[เกอเธ่]] แต่กระนั้น โฮมส์กลับเคยบอกกับหมอวอตสันว่า เขาไม่สนใจเลยว่า[[โลก]]หรือ[[ดวงอาทิตย์]]จะหมุนรอบใครกันแน่ เพราะมันไม่มีประโยชน์ต่อการคลี่คลายคดีสักนิด
 
โฮมส์มีความสามารถในการวิเคราะห์หลักฐานทางกายภาพอย่างถูกต้องแม่นยำ กระบวนการตรวจสอบหลักฐานของเขามีหลายกรรมวิธี เช่น การเก็บรอยรองเท้า รอยเท้าสัตว์ หรือรอยล้อรถจักรยาน เพื่อวิเคราะห์การกระทำใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเกิดอาชญากรรม (เช่น ตอน ''แรงพยาบาท'' หรือ ''หมาผลาญตระกูล'') หรือการวิเคราะห์ประเภทของยาสูบเพื่อระบุตัวตนของอาชญากร (เช่น ตอน ''จองเวร (The Resident Patient) '' หรือ ''หมาผลาญตระกูล'') โฮมส์เคยตรวจสอบร่องรอยผง[[ดินปืน]] และเปรียบเทียบ[[กระสุน]]ที่พบในที่เกิดเหตุ ทำให้แยกแยะได้ว่าฆาตกรมีสองคน (จาก ตอน ''จดหมายนัดพบ'' และ ''บ้านร้าง (The Empty House) '') นอกจากนี้ โฮมส์ยังเป็นคนแรก ๆ ที่มีแนวคิดในการตรวจสอบ[[ลายนิ้วมือ]]อีกด้วย (จาก ตอน ''ช่างก่อสร้างเจ้าเล่ห์'')
 
ในช่วงปีหลัง ๆ ระหว่างที่โฮมส์หยุดพักผ่อนที่ซัสเซกซ์ดาวน์ (ในตอน ''รอยเปื้อนที่สอง (The Second Stain) '') เขาได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งเพื่อบันทึกการสังเกตเรื่องวิถีชีวิตของ[[ผึ้ง]] ชื่อ "Practical Handbook of Bee Culture" นอกจากนี้ ยังมีงานเขียนด้านวิชาการอื่น ๆ ของโฮมส์อีกหลายเล่ม เช่น "Upon the Distinction Between the Ashes of the Various Tobaccos" (การแยกแยะรายละเอียดระหว่างขี้เถ้าของยาสูบชนิดต่าง ๆ) หรือ บทความสองเรื่องเกี่ยวกับ "หู" ที่ได้เผยแพร่ใน Anthropological Journal เป็นต้น<ref name="resume" />
บรรทัด 103:
[[ไฟล์:A Study in Scarlet from Beeton's Christmas Annual 1887.jpg|thumb|upright|ภาพแรกของโฮมส์ที่ตีพิมพ์เมื่อ ค.ศ. 1887]]
 
นอกเหนือไปจากการผจญภัยของโฮมส์ที่หมอวอตสันบันทึกเอาไว้ มีรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของเขาน้อยมาก ถึงกระนั้นก็ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตวัยเยาว์และครอบครัวของเขาอยู่บ้าง ทำให้เห็นภาพชีวประวัติของโฮมส์บ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ
 
จากอายุของโฮมส์ที่ระบุไว้ในเรื่อง ''ลาโรง'' ทำให้ประมาณได้ว่า เขาเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1854 เพราะเหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1914 และบรรยายว่าโฮมส์มีอายุ 60 ปี เลสลี คลิงเกอร์ ระบุวันเกิดของโฮมส์ว่าเป็นวันที่ 6 มกราคม<ref>{{cite book | last = Klinger | first = Leslie | title = The New Annotated Sherlock Holmes | publisher=W.W. Norton | location = New York | year = 2005 | isbn = 0-393-05916-2 |page=xlii}}</ref>
บรรทัด 109:
โฮมส์เคยบอกว่าเขาเริ่มพัฒนากระบวนการลำดับเหตุผลของตนขึ้นตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา คดีแรก ๆ ของเขาสมัยที่ยังเป็นมือสมัครเล่นนั้นมาจากพวกเพื่อนนักศึกษาในมหาวิทยาลัย<ref name=musgrave1989>{{cite book|last=Doyle|first=Arthur Conan|title=The Original illustrated 'Strand' Sherlock Holmes|publisher=Wordsworth |location=Ware, England|year=1893|edition=1989|pages=354–355|isbn=978-1-85326-896-0}}</ref> ตามที่โฮมส์เล่า การได้พบกับพ่อของเพื่อนร่วมชั้นคนหนึ่งทำให้เขาตัดสินใจถืออาชีพเป็นนักสืบ<ref>จากเรื่อง "เรือบรรทุกนักโทษ"</ref> และเขาใช้เวลาอีก 6 ปีทำงานเป็นนักสืบที่ปรึกษา จนกระทั่งประสบปัญหาทางการเงิน จึงต้องมาหาคนร่วมแบ่งห้องเช่า และได้พบกับหมอวอตสัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของนิยายชุดนี้
 
นับแต่ปี 1881 โฮมส์อาศัยอยู่ที่ห้องเลขที่ 221 บี ถนนเบเกอร์ กรุงลอนดอน อันเป็นที่ซึ่งเขาดำเนินกิจการนักสืบที่ปรึกษา ห้อง 221 บี เป็นอะพาร์ตเมนต์ชั้นบน มีบันได 17 ขั้น ตั้งอยู่ทางซีกบนของถนน ก่อนจะพบกับหมอวอตสัน โฮมส์ทำงานเพียงลำพัง และจ้างชาวบ้านหรือเด็กข้างถนนใช้งานเป็นครั้งคราว
 
มีการกล่าวถึงครอบครัวของโฮมส์เพียงเล็กน้อย ไม่มีการเอ่ยถึงพ่อแม่ของเขาในนิยายเลย เขาพูดถึงบรรพบุรุษของตนคร่าว ๆ ว่าเป็น "ผู้ดีบ้านนอก" ในเรื่อง ''ล่ามภาษากรีก'' โฮมส์บอกว่าลุงของพ่อเขาคือ เวอร์เนต์ ศิลปินชาวฝรั่งเศส พี่ชายของโฮมส์ชื่อ ไมครอฟต์ อายุมากกว่าเขา 7 ปี ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ปรากฏในนิยาย 3 เรื่อง<ref>''ล่ามภาษากรีก'', ''ปัจฉิมปัญหา'' และ ''แผนผังเรือดำน้ำ''</ref> และถูกเอ่ยถึงในนิยายอีก 1 เรื่อง<ref>''บ้านร้าง''</ref> ตำแหน่งงานของไมครอฟต์เป็นพลเรือน ทำหน้าที่คล้าย ๆ ฝ่ายข้อมูลหรือฐานข้อมูลเคลื่อนที่สำหรับนโยบายของรัฐบาลทั้งหมด นิยายบรรยายถึงไมครอฟต์ว่ามีพรสวรรค์ในด้านการสังเกตและการวิเคราะห์เหตุผลยิ่งกว่าโฮมส์เสียอีก แต่เขาออกจะขี้เกียจและไม่ชอบงานภาคสนามแบบโฮมส์ กลับชอบใช้เวลาว่างอยู่ในสมาคมไดโอจีนีส ซึ่งบรรยายไว้ว่าเป็น "สมาคมสำหรับชายผู้ไม่ชอบสมาคมแห่งลอนดอน"
บรรทัด 120:
วอตสันมี 2 บทบาทในชีวิตของโฮมส์ อย่างแรกคือเป็นผู้ช่วยโฮมส์ในการสางคดี ทำหน้าที่คอยดูต้นทาง เป็นนกต่อ เป็นผู้ช่วยและส่งข่าว อย่างที่สอง เขาเป็นผู้บันทึกชีวประวัติของโฮมส์ เรื่องราวของโฮมส์เขียนขึ้นจากมุมมองของวอตสันในรูปบทสรุปของคดีน่าสนใจต่าง ๆ ที่โฮมส์เคยสะสางมา โฮมส์มักบ่นว่างานเขียนของวอตสันนั้นเร้าอารมณ์มากเกินไป และมักบอกให้วอตสันบันทึกแต่ข้อเท็จจริงกับรายงานทางวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว
 
ถึงกระนั้น โฮมส์ถือว่ามิตรภาพกับวอตสันมีความสำคัญสูงยิ่ง มีบรรยายในนิยายหลายเรื่องถึงความชื่นชมที่โฮมส์มีต่อวอตสัน ซึ่งมักถูกปิดบังเอาไว้ภายใต้ความเย็นชาของเขา เช่นในเรื่อง ''พินัยกรรมประหลาด'' วอตสันได้รับบาดเจ็บจากการเผชิญหน้ากับโจร โฮมส์จัดการเอาปืนกระแทกศีรษะคนร้ายแล้วเข้าไปหาวอตสันทันที แม้กระสุนปืนนั้นจะเพียงแค่ถากไปก็ตาม และยังประกาศกับคนร้ายว่าหากคนร้ายฆ่าวอตสัน เขาจะไม่ปล่อยอีกฝ่ายให้ออกจากห้องนี้ทั้งที่ยังมีชีวิต
 
โดยรวมแล้วโฮมส์ประกอบอาชีพนักสืบอยู่ 23 ปี โดยมีหมอวอตสันร่วมอยู่ในชีวิตการงานของเขา 17 ปี<ref>จากเรื่อง "หญิงคลุมหน้า"</ref>
บรรทัด 294:
 
=== สมาคม ===
ปี ค.ศ. 1934 มีการก่อตั้งสมาคมเชอร์ล็อก โฮมส์ขึ้นใน[[กรุงลอนดอน]] และหน่วยลาดตระเวนถนนเบเกอร์ก็ตั้งขึ้นใน[[นครนิวยอร์ก]] สมาคมทั้งสองนี้ยังคงมีกิจกรรมต่อเนื่องอยู่จนถึงปัจจุบัน (แม้ว่าสมาคมเชอร์ล็อก โฮมส์ จะสลายตัวไปในปี 1937 แต่ก็มีการรื้อฟื้นขึ้นใหม่ในปี 1951) และยังมีสมาคมเชอร์ล็อก โฮมส์ ตั้งขึ้นในประเทศอื่น ๆ อีก เช่น ใน[[เดนมาร์ก]] [[อินเดีย]] และ[[ญี่ปุ่น]]
 
[[ไฟล์:Bakerstreet london.JPG|thumb|200px|พิพิธภัณฑ์เชอร์ล็อก โฮมส์ บนถนนเบเกอร์]]
บรรทัด 330:
''เชอร์ล็อก โฮมส์'' เป็นตัวละครจากนิยายคนแรกที่มีการนำมาดัดแปลงเป็นรายการโทรทัศน์ โดยตอน ''พินัยกรรมประหลาด (The Three Garridebs) '' ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 1937 จากเวที Radio City Music Hall ใน[[นครนิวยอร์ก]]โดยสมาพันธ์เครือข่ายวิทยุอเมริกัน (American Radio Relay League) ภาพการแสดงสดจะนำมาประกอบกับบทบรรยายข้างใต้ก่อนออกอากาศ หลุยส์ เฮคเตอร์ แสดงเป็นนักสืบโฮมส์ และวิลเลียม พอดมอร์ แสดงเป็นหมอวอตสันเพื่อนคู่หู<ref>[http://www.museum.tv/archives/etv/S/htmlS/sherlockholm/sherlockholm.htm SHERLOCK HOLMES Mystery (Various National Productions)]</ref>
 
ปี ค.ศ. 1968 [[บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ|สถานีโทรทัศน์บีบีซี]] ดัดแปลงเรื่องราวของนักสืบผู้ยิ่งใหญ่นี้ออกอากาศทางช่องบีบีซี 1 โดยมี ปีเตอร์ กุชชิ่ง รับบทเป็นโฮมส์ และไนเจล สตอค เป็นหมอวอตสัน แต่ละครโทรทัศน์ชุดที่โด่งดังที่สุด คือ ชุดที่ทอม เบเกอร์ รับบทเป็นโฮมส์ ในตอน ''หมาผลาญตระกูล'' ในปี ค.ศ. 1982<ref name="h_bbc" />
 
เรื่องยาวของโคนัน ดอยล์ ตอน ''หมาผลาญตระกูล'' เป็นตอนที่มีการนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์มากที่สุดถึง 18 ครั้ง ครั้งล่าสุดออกอากาศทางช่อง บีบีซี 1 เมื่อช่วงคริสต์มาส ปี 2003 นำแสดงโดยริชาร์ด ร็อกซเบิร์ก เป็นโฮมส์ และเอียน ฮาร์ท เป็นหมอวอตสัน<ref name="h_bbc" />
บรรทัด 341:
 
=== เชอร์ล็อก โฮมส์ยุคหลัง ===
หลังจากที่ โคนัน ดอยล์ เสียชีวิตไปแล้ว มีนักประพันธ์ที่สร้างนวนิยายเกี่ยวกับ เชอร์ล็อก โฮมส์ สืบเนื่องต่อมาอีก ส่วนหนึ่งมีการเขียนร่วมกับทายาทของโคนัน ดอยล์ และบางส่วนเขียนขึ้นเองเป็นเอกเทศ แม้ในยุคเดียวกันกับโคนัน ดอยล์ เอง ก็มีนักประพันธ์เลื่องชื่อท่านอื่น ๆ ที่นำ ''เชอร์ล็อก โฮมส์'' ไปปรากฏในผลงานเขียนของตน เช่น [[มาร์ค ทเวน]] ได้ประพันธ์เรื่อง ''A Double Barrelled Detective Story'' เมื่อปี ค.ศ. 1902 เป็นนิยายเชิงขบขันล้อเลียน เขานำบุคลิกของโฮมส์ไปตีความในแง่มุมที่ขบขัน (ทำให้แฟน ๆ ของโฮมส์ไม่ชอบใจนักและบางคนบอกว่าเขาเลวไปเลย) <ref>เวสลี่ย์ บริตตอน. [http://www.twainweb.net/reviews/es-rev1.html รวมบทวิจารณ์ อารมณ์ขันของมาร์ค ทเวน กับ "The Double-Barreled Detective Story"] เรียบเรียงจากเว็บไซต์ [http://www.twainweb.net/ marktwain forum]</ref> นักเขียนนิยายสืบสวนและสยองขวัญชื่อดังอย่าง [[สตีเฟน คิง]] ก็เคยเขียนเรื่อง ''The Doctor's Case'' ในปี ค.ศ. 1987 โดยในเรื่องนี้ หมอวอตสัน สามารถคลี่คลายคดีได้ก่อนโฮมส์<ref>[http://www.horrorking.com/findstory.html รวมผลงานของสตีเฟน คิง]</ref> แต่ก็ทำให้ผู้คนไม่รู้สึกดีเท่าไรนัก
 
ลูกชายของโคนัน ดอยล์ ชื่อ [[เอเดรียน โคนัน ดอยล์]] ร่วมกับ [[จอห์น ดิกสัน คารร์]] ในการแต่งเรื่องสั้นเกี่ยวกับการสืบสวนคดีของเชอร์ล็อก โฮมส์ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 12 เรื่อง พิมพ์รวมเล่มในปี ค.ศ. 1954 ใช้ชื่อว่า ''The Exploits of Sherlock Holmes''
 
งานเขียนชุดหนึ่งที่จัดว่ามีชื่อเสียงไม่แพ้ชุดของโคนัน ดอยล์ เนื่องจากสามารถรักษาบุคลิกภาพและแนวทางดำเนินเรื่องได้คล้ายคลึงกับต้นฉบับ คืองานเขียนชุดเชอร์ล็อก โฮมส์ ของ[[นิโคลัส มีเยอร์]] ได้แก่เรื่อง ''[[The Seven-Per-Cent Solution]]'', ''The Canary Trainer'' และ ''The West End Horror'' มีเยอร์เปิดตัว ''The Seven-Per-Cent Solution'' ในปี 1974 โดยแต่งเนื้อเรื่องว่าทายาทของหมอวอตสันได้รับมอบเอกสารส่วนหนึ่งมาเป็นมรดก ในเอกสารเหล่านั้นมี "บันทึกที่หายไป" ว่าด้วยคดีของเชอร์ล็อก โฮมส์ที่ยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน
บรรทัด 377:
* [http://www.storiesnow.com Sherlock Holmes radio dramas. Public domain audio radio dramas adapted from the canonical texts]
* [http://www.holmesian.net/forums/index.php?showtopic=364 Sherlock Holmes Granada TV series 41 episodes] and [http://my.core.com/~jcnash/sherlock_graphic.html filming locations]
* [http://www.harpooners.org The Harpooners of the Sea Unicorn] A Scion Society of the Baker St. Irregulars based in St. Charles Missouri
* [http://www.angelfire.com/ks/landzastanza/publication.html Publication order of Sherlock Holmes stories by A. Conan Doyle]