ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กากีกลอนสุภาพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แทนที่เนื้อหาด้วย "เย้ โดนสั้งงานมาใช่มั้ย คิคิ จากบุรุษปริศนา"
ป้ายระบุ: ถูกแทน blanking
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
เย้ โดนสั้งงานมาใช่มั้ย คิคิ จากบุรุษปริศนา
{{ตารางวรรณคดี
| กวี = [[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]]
| ประเภท = นิทานคำกลอน
| คำประพันธ์ = กลอนสุภาพ
| ความยาว =
| สมัย = [[ต้นรัตนโกสินทร์]]
| ปี =
| ชื่ออื่น = บทมโหรีเรื่องกากี
| ลิขสิทธิ์ =[[ กรมศิลปากร]]
}}
'''กากีกลอนสุภาพ''' เป็นวรรณคดีไทยประพันธ์ด้วย[[กลอนสุภาพ]] เล่าเรื่องเกี่ยวกับตำนานโบราณของ[[กากี|นางกากี]] ฉบับที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดี ไพเราะ เป็นสำนวนของ[[เจ้าพระยาพระคลัง (หน)]] มีบทเด่นที่จัดว่าเป็นวรรคทองของเรื่องนี้ก็คือ
 
{|align = "center"
|-
| รื่นรื่นชื่นจิตพี่จำได้
| เหมือนเมื่อไปร่วมภิรมย์ประสมศรี
|-
| ในสถานพิมานฉิมพลี
| กลิ่นยังซาบทรวงพี่ทั้งวรกาย
|-
| นิจจาเอ๋ยจากเชยมาเจ็ดวัน
| กลิ่นสุคันธรสรื่นก็เหือดหาย
|-
| ฤๅว่าใครแนบน้องประคองกาย
| กลิ่นสายสวาทซาบอุรามาฯ
|}
 
== เนื้อเรื่องย่อ ==
'''ท้าวพรหมทัต'''กษัตริย์แห่งนครพาราณสีแม้จะอายุมากแล้ว แต่ก็มีพระมเหสีรูปงามกลิ่นกายหอมชื่อว่า[[นางกากี]] พระองค์รักและหลงใหลนางกากี ไม่ให้มหาดเล็ก คนสนิทที่เป็นชายเข้าใกล้หรือได้เห็นนางยกเว้นที่จำเป็นเพียงไม่กี่คนเท่านั้น หนึ่งในหนุ่มคนสนิทที่สามารถเข้าใกล้นางกากีได้คือ '''“นาฏกุเวร”''' ผู้เป็นคนธรรพ์รูปงามมีหน้าที่บรรเลงดนตรี แต่งกลอน ขับกล่อม
ให้แก่ท้าวพรหมทัต ในยามที่พระองค์เล่นสกากีฬาโปรดปรานกับพระสหายสนิท ตามปกติคนธรรพ์เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทวดาที่มีความสามารถสูง ยิ่งเป็นนาฏกุเวรผู้มีความเปรื่องปราชญ์ก็ยิ่งเป็นที่รักใคร่ไว้วางพระทัยของท้าวพรหมทัต นอกจากพระประยูรญาติที่ท้าวพรหมทัตโปรดให้เล่นสกาด้วยแล้ว พระองค์มีสหายสนิทผู้มีความลึกลับที่มีฝีมือการทอดสกาเทียบเท่าพระองค์นามว่า'''เวนไตย''' เวนไตยเป็น[[พญาครุฑ]]ที่มีวิมานชื่อ[[ฉิมพลี]] ตั้งอยู่ที่เชิง[[เขาพระสุเมรุ]]เหนือดงงิ้ว ผู้มีร่างมาเป็นมานพรูปร่างสง่างามในเมืองมนุษย์ เวนไตยไม่ยอมบอกว่าตัวเองมาจากที่ไหน แต่ก็มาเล่นสกากับท้าวพรหมทัตอย่างสม่ำเสมอทุกๆ เจ็ดวัน
 
คำร่ำลือถึงความสง่างามของพญาเวนไตยจากสนมกำนัลมาเข้าหูนางกากี นางกากีลองแอบดูครั้งหนึ่งก็พอดีกับเวนไตยมองมา ทั้งคู่ต่างตื่นเต้นในความงามของกันและกันทำให้เวนไตยถึงกับทำอุบายลักพานางกากีไปจากท้าวพรหมทัต โดยการจำแลงตัวเป็นพญาครุฑบินไปบังแสงอาทิตย์ที่ส่องเมืองพาราณสีทำให้เมืองมืดมิดและอลหม่านจากการเกิดพายุใหญ่กระหน่ำ เวนไตยฉวยโอกาสนี้พาตัวนางกากีไปสมสู่ ณ วิมานฉิมพลี เนื่องจากนางกากีก็พึงพอใจเวนไตยเมื่อยามเป็นชายหนุ่มรูปร่างสง่างามในวิมานฉิมพลี ท้าวพรหมทัตเป็นทุกข์ระทมเมื่อนางกากีมเหสีสุดสวาทได้หายไปไม่สามารถตามหาได้ นาฏกุเวรผู้แอบหลงรักในรูปและกลิ่นกายของนางกากีอาสานำตัวนางกากีกลับ เพราะรู้ระแคะระคายเนื่องจากเหตุการณ์ในวันที่เวนไตยสบตากับนางกากีไม่พ้นจากสายตาของคนธรรพ์หนุ่มนี้ไปได้ นาฏกุเวรได้ผูกกลอนขับกล่อมขณะที่เวนไตยเล่นสกากับท้าวพรหมทัตจนสังเกตความผิดปรกติของเวนไตยได้ เมื่อท้าวพรหมทัตทรงอนุญาต การเล่นสกาครั้งต่อมานาฏกุเวรจึงแปลงร่างเป็นตัวไรเกาะปีกเวนไตยเมื่อเขากลายเป็นพญาครุฑตามไปถึงวิมานฉิมพลี เมื่อเวนไตยออกไปปฏิบัติภารกิจนอกวิมาน ก็คืนร่างเป็นนาฏกุเวรคนเดิม ด้วยความเสน่หาที่มีต่อนางกากี นาฏกุเวรก็ขอร่วมอภิรมย์สมสู่กับนางกากี โดยขู่ว่าจะไม่เปิดเผยความลับระหว่างเวนไตยกับนาง นางกากีเห็นว่านาฏกุเวรเปิดเผยว่ารักใคร่ตัวนางมาก่อน ก็ยอมสมสู่ด้วยเมื่อถึงกำหนดนัดเล่นสกากับท้าวพรหมทัต นาฏกุเวรก็จำแลงเป็นตัวไรเกาะปีพญาครุฑเวนไตยกลับเมืองพาราณสี และได้กราบทูลให้ท้าวพรหมทัตทำเป็นไม่ทราบเรื่อง ระหว่างการเล่นสกานาฏกุเวรก็แต่งกลอนยั่วยุให้เวนไตยโกรธ
โดยพรรณาถึงรายละเอียดทุกอย่างที่นางกากีมี แสดงว่านาฏกุเวรได้ร่วมอภิรมย์รักโดยนางกากีก็สมัครใจ เวนไตยโกรธมากที่นางกากีทรยศต่อตัวเอง เมื่อกลับไปก็คาดคั้นเอาความจริงกับนางกากี แต่นางกากียอมรับตอนหลังอ้างว่าถูกบังคับ ซึ่งเวนไตยไม่เชื่อและส่งนางกากีกลับคืนเมืองพาราณสี ท้าวพรหมทัตทั้งรักทั้งแค้นทั้งอับอาย ทรงตัดเยื่อใยนางกากีและสั่งให้มหาดเล็กนำไปลอยแพในมหาสมุทร
 
นางกากีต้องเผชิญเคราะห์กรรมอย่างแสนสาหัส เมื่อนายสำเภามาพบนางสลบไสลบนแพ เรือนร่างที่สวยงามย่อมเป็นที่หมายปองของนายสำเภา เขาจึงได้นางกากีเป็นภรรยา ต่อมาโจรสลัดได้ปล้นเรือนายสำเภาและหัวหน้าโจรบังคับนางกากีให้เป็นภรรยาอีก ท่ามกลางความอิจฉาริษยาของสมุนโจร เพราะหัวหน้าโจรไม่ยอมแบ่งผู้หญิงให้เหมือนรายอื่นๆ ในที่สุดก็เกิดการแก่งแย่งนางกากีกันในหมู่โจร ถึงกับฆ่าฟันกันเอง นางกากีฉวยโอกาสหลบหนีพวกโจรได้ แต่ต้องเผชิญกับความโหดร้ายในป่าจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด โชคดียังเป็นของนางกากี ที่บังเอิญมีกษัตริย์ชรานามว่า'''ท้าวทศวงศ์'''ผู้เป็นหม้ายแห่งเมืองไพศาลีเสด็จมาเที่ยวป่า ได้นำนางกากีไปชุบเลี้ยงเป็นถึงมเหสี นางกากีไม่บอกความจริงให้ท้าวทศวงศ์เพราะกลัวความไม่ดีของตนเองจะทำให้ท้าวทศวงศ์ไม่รับอุปการะ จิตใจของนางยังไม่เป็นสุขถึงจะได้เป็นถึงมเหสี แต่ท้าวทศวงศ์ก็โปรดปรานมเหสีร่างงามและกลิ่นกายหอม
 
ตั้งแต่ท้าวพรหมทัตลอยแพนางกากีไป ก็ไม่มีความสุขกลับต้องระทมทุกข์ ถึงกับประชวรและสวรรคตในเวลาต่อมา เนื่องจากพระองค์ไม่มีทายาท ข้าราชบริพารจึงได้เลือกผู้ที่เป็นที่รักใคร่ของประชาชนและมีปัญญาเฉียบแหลมขึ้นครองราชย์แทน นาฏกุเวรได้รับเลือกเป็กษัตริย์แทนท้าวพรหมทัต คนธรรพ์หนุ่มผู้เป็นกษัตริย์ก็ยังรักอาลัยนางกากีอยู่ ได้สืบจนทราบว่านางกากีได้เป็นมเหสีของท้าวทศวงศ์ นาฏกุเวรจึงส่งสารทวงนางกากีในฐานะที่เคยเป็นมเหสีของกษัตริย์เมืองพาราณสีมาก่อน แต่เมืองไพศาลีไม่ยอม จึงได้เกิดสงครามศึกชิงนาง ในที่สุดนาฏกุเวรก็ยึดเมือง
ไพศาลีได้ และรับนางกากีกลับมาเป็นมเหสีสมใจปรารถนา
 
[[หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกลอน]]
{{โครงวรรณกรรม}}