ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
<br /> using AWB
บรรทัด 42:
'''ศาสตราจารย์ (พิเศษ) นายกองใหญ่ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช''' ([[26 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2448]] — [[28 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2540]]) อดีต[[นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย]] 4 สมัย ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีตหัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] ก่อนเข้าสู่วงการเมือง เคยเป็นผู้พิพากษา และเคยดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทย ประจำสหรัฐอเมริกา มาก่อน
 
ม.ร.ว.เสนีย์ เกิดที่ค่ายทหาร ใน[[จังหวัดนครสวรรค์]] เวลาใกล้รุ่ง เป็นโอรสใน [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบ]] กับหม่อมแดง (บุนนาค) ชื่อ "เสนีย์" หมายถึง [[ทหาร]] หรือ เสนาบดี ได้รับพระราชทานนามนี้จาก[[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] สันนิษฐานว่า เนื่องจากเสด็จพ่อ (พระองค์เจ้าคำรบ) เป็นทหาร
 
ชีวิตครอบครัวสมรสกับ ท่านผู้หญิงอุศนา ปราโมช มีบุตรชาย-หญิง 3 คน บุตรชาย ได้แก่ [[เสรี ปราโมช|ม.ล.เสรี ปราโมช]] , [[อัศนี ปราโมช|ม.ล.อัศนี ปราโมช]] และ บุตรี ได้แก่ ม.ล.นียนา ปราโมช
 
ม.ร.ว.เสนีย์ มีน้องชายที่มีชื่อเสียงคู่กันคือ [[คึกฤทธิ์ ปราโมช|ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช]] อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีความสามารถในหลายสาขา โดยสื่อมวลชนนิยมเรียก ท่านทั้งคู่ว่า "'''หม่อมพี่ หม่อมน้อง'''" นอกจากนี้ยังมีพี่สาวคือ [[บุญรับ พินิจชนคดี|ม.ร.ว.บุญรับ พินิจชนคดี]] (สมรสกับ พล.ต.อ.[[พระพินิจชนคดี]] หรือ [[พินิจ อินทรทูต]])
บรรทัด 52:
== การศึกษา ==
 
เริ่มศึกษาที่ [[โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย]] จากนั้นได้เดินทาง ไปศึกษาต่อที่ [[โรงเรียนเทรนต์]] (Trent College) ในเมือง[[นอตทิงแฮม]] [[ประเทศอังกฤษ]] และศึกษาต่อ ปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ ที่ วิทยาลัยวอร์สเตอร์ (Worcester College) [[มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด]] ประเทศอังกฤษ แล้วสำเร็จการศึกษาด้วยคะแนนระดับ เกียรตินิยมอันดับสอง
 
หลังจากนั้น ก็เข้าศึกษาต่อที่สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ใน[[ลอนดอน|กรุงลอนดอน]] ได้คะแนนเป็นที่หนึ่ง ได้รับรางวัลเป็นเงิน 300 กีนีย์ จากสำนักกฎหมายอังกฤษ (เกียรติประวัตินี้ ได้เล่าลือมาถึงเมืองไทย จนมีการเข้าใจว่า ได้รับเงินรางวัลพระราชทาน จากพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษ ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังเข้าใจอย่างนั้น) และทางโรงเรียนเทรนด์ ได้ประกาศให้นักเรียน หยุดเรียนหนึ่งวัน เพื่อเป็นการระลึกถึง และได้เรียกวันนั้นว่า "วันเสนีย์" (Seni Day)
 
เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ศึกษาวิชากฎหมายไทยเพิ่มเติม จนกระทั่งได้รับ[[เนติบัณฑิตไทย]] และเข้าฝึกงานที่ศาลฎีกาเป็นเวลา 6 เดือน จึงได้เป็นผู้พิพากษา
 
ได้รับปริญญา[[ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์]] สาขานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จาก[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]และ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] [[พ.ศ. 2503]] และปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขามนุษยศาสตร์ จาก[[มหาวิทยาลัยแห่งชาติไทเป]] [[พ.ศ. 2525]]
บรรทัด 71:
==การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี==
[[ไฟล์:Seni Pramoj and wife.jpg|thumb|left|หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชและท่านผู้หญิง[[อุศนา ปราโมช ณ อยุธยา]] ภริยา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา ภาพนี้ถ่ายเมื่อ พ.ศ. 2487 ในงานเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 19 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ที่สหรัฐอเมริกา]]
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุด ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน ในฐานะ หัวหน้า'''[[เสรีไทย]]''' สายสหรัฐอเมริกา ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่ง[[นายกรัฐมนตรี]] ต่อจาก [[ทวี บุณยเกตุ|ทวี บุณยเกตุ]] เพื่อเจรจากับประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับสถานะของประเทศไทย ที่เป็นฝ่ายเดียวกับ[[สัมพันธมิตร]] ภายหลังการประกาศสันติภาพ โดยรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ เมื่อวันที่ [[16 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2488]] ให้การประกาศสงคราม กับฝ่ายสัมพันธมิตร ของรัฐบาล [[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] เป็นโมฆะ โดยเดินทางกลับมารับตำแหน่ง [[นายกรัฐมนตรี]] เมื่อวันที่ [[17 กันยายน]] [[พ.ศ. 2488]]
 
ในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถทางภาษา ตลอดจนความเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณี และระบบกฎหมายตะวันตก เจรจากับ [[ฝ่ายสัมพันธมิตร]] ที่ในครั้งแรก[[ประเทศอังกฤษ]] ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ประเทศไทย เป็นเมืองในอาณัติ แต่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช สามารถเจรจาให้ไทย หลุดพ้นจากการเป็น เมืองในอาณัติอังกฤษได้สำเร็จ โดยอังกฤษและไทยได้ลงนามใน ''"ความตกลงสมบูรณ์แบบเพื่อยุติภาวะสงคราม ระหว่างไทยกับบริเตนใหญ่และอินเดีย"'' ที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2489 มีใจความสำคัญคือ ไทยต้องคืนดินแดนในมลายู และรัฐฉาน ที่ได้มาระหว่างสงครามให้แก่อังกฤษ และต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินของอังกฤษ ที่ถูกไทยยึดครองระหว่างสงคราม เป็นข้าวสาร 1.5 ล้านตัน
 
จากนั้นไทยได้ทำการตกลงกับฝรั่งเศส มีจุดประสงค์เพื่อขอเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ โดยได้ตกลงคืนดินแดนที่ได้มาจากกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อปี พ.ศ. 2483 ให้กับฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสยังเรียกร้องให้ไทยมอบ [[พระแก้วมรกต]]และ[[พระบาง]] ให้แก่ฝรั่งเศส โดยอ้างว่าเคยอยู่ในลาวมาก่อนถึง 200 กว่าปี ก่อนจะมาอยู่ที่กรุงเทพฯ และเมื่อลาวเป็นดินแดนในอาณัติของฝรั่งเศสแล้ว ไทยก็ควรคืนพระแก้วมรกตให้แก่ลาวด้วย แต่ฝ่ายไทยได้อ้างว่า
บรรทัด 93:
 
== ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์และเล่นการเมือง ==
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ดำเนินการจัดตั้ง[[พรรคประชาธิปัตย์]] ร่วมกับ[[ควง อภัยวงศ์|นายควง อภัยวงศ์]] ขึ้นใน[[วันศุกร์]]ที่ [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2489]] โดยชื่อ "ประชาธิปัตย์" นั้น ท่านเป็นผู้บัญญัติขึ้น โดยมีความหมายว่า "ผู้บำเพ็ญประชาธิปไตย" โดยมีจุดมุ่งหมายคือ ต่อต้านการกระทำอันเป็นเผด็จการไม่ว่าวิธีการใด ๆ โดยมีนายควง อภัยวงศ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นรองหัวหน้าพรรค [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช|ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช]] ที่ยุบ[[พรรคก้าวหน้า (พ.ศ. 2488)|พรรคก้าวหน้า]]มารวมกับพรรคประชาธิปัตย์ เป็นเลขาธิการพรรค และนายชวลิต อภัยวงศ์ เป็นรองเลขาธิการพรรค
 
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์สืบต่อจากนายควง อภัยวงศ์ ที่ถึงแก่อสัญกรรมไปในปี พ.ศ. 2511 หลังจากได้ยุติบทบาททางการเมืองของตนเองไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 หลังจากที่[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2494|จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยึดอำนาจตนเองเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494]] โดยไม่ลง[[เลือกตั้ง]]ใน[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495|การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495]] และ[[การเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งที่ 9|การเลือกตั้งเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500]] ระหว่างการเป็นหัวหน้าพรรคนั้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองที่เป็นสุภาพบุรุษ เล่นการเมืองด้วยความบริสุทธิ์ โปร่งใส มาตลอด แต่ ม.ร.ว.เสนีย์ มักประสบปัญหาความวุ่นวายในพรรค เนื่องจากสมาชิกพรรคมักสร้างปัญหาโดยการต่อรองขอตำแหน่งทางการเมือง และบางส่วนก็จะออกจากพรรคไปตั้งพรรคใหม่ จนเกิดความวุ่นวาย ไม่สามารถควบคุมพรรคได้ จึงได้ฉายาจากสื่อมวลชนว่า ''"ฤๅษีเลี้ยงลิง"'' หรือ ''"พระเจ้าตา"'' เพราะถูกมองว่าอ่อนแอ ไม่สามารถควบคุมบริหารพรรคและรัฐบาลได้ จนเกิด[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]]
บรรทัด 120:
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
{{ป.จ.|2519}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/D/080/1351.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๘๐ วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๙</ref>
{{ม.ป.ช.|2503}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/102/22.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>
{{ม.ว.ม.|2518}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/263/46.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓ง วันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘</ref>
* [[ไฟล์:King_Rama_IV_Royal_Cypher_Medal_(Thailand)_ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญรัตนาภรณ์]] รัชกาลที่ 8 ชั้น 1 (อ.ป.ร.1)
* [[ไฟล์:Dushdi Mala - Civilian (Thailand).png|80px]] [[เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา]] สาขานิติศาสตร์ (ร.ด.ม. (ศ))
บรรทัด 216:
}}
{{สืบตำแหน่ง
| ก่อนหน้า = [[หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ)|หลวงวิจิตรวาทการ</br /><small> (วิจิตร วิจิตรวาทการ) </small> ]]
| ตำแหน่ง = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ]]
| รูปภาพ = Seal of the Thai Ministry of Foreign Affairs.png
บรรทัด 223:
}}
{{สืบตำแหน่ง
| ก่อนหน้า = [[พระยาศราภัยพิพัฒ (เลื่อน ศราภัยวานิช)|พระยาศราภัยพิพัฒ</br /><small> (เลื่อน ศราภัยวานิช) </small> ]]
| ตำแหน่ง = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ]]
| รูปภาพ = กระทรวงศึกษา.gif
บรรทัด 230:
}}
{{สืบตำแหน่ง
| ก่อนหน้า = [[หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช|หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ]]
| ตำแหน่ง = [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย]]<br>สมัยที่ 1
| รูปภาพ = Lanchakon - 026.jpg
บรรทัด 248:
| รูปภาพ = ตรากระทรวงยุติธรรม1.png
| ปี = [[10 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2490]] – [[21 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2491]]
| ถัดไป = [[พระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)|พระยาอรรถการีย์นิพนธ์</br /><small> (สิทธิ จุณณานนท์) </small>]]
}}
{{สืบตำแหน่ง