ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาลิเลโอ กาลิเลอี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7211063 สร้างโดย 161.200.155.234 (พูดคุย)
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
<br /> using AWB
บรรทัด 12:
| บุตร =
| ศาสนา = [[โรมันคาทอลิก]]
| การศึกษา = มหาวิทยาลัยปิซา</br />มหาวิทยาลัยแพดัว
| การงาน
| สังกัด = มหาวิทยาลัยปิซา
| รางวัล =
| ผลงาน = [[ดาราศาสตร์]]</br />[[จลนศาสตร์]] </br />[[พลศาสตร์]]</br />[[แนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล]]
| กิตติศัพท์ =
| คำยกย่อง = บิดาแห่งวิทยาศาสตร์
บรรทัด 23:
}}
{{ใช้ปีคศ}}
'''กาลิเลโอ กาลิเลอี''' ({{lang-it|Galileo Galilei}}; [[15 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1564]] - [[8 มกราคม]] [[ค.ศ. 1642]]) เป็นชาวทัสกันหรือชาว[[อิตาลี]] ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของ[[กล้องโทรทรรศน์]]และผลสังเกตการณ์ทาง[[ดาราศาสตร์]]ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของ[[โคเปอร์นิคัส]]อย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่"<ref>Singer, Charles (1941), ''[http://www.google.com.au/books?id=mPIgAAAAMAAJ&pgis=1 A Short History of Science to the Nineteenth Century]'', Clarendon Press, (page 217) </ref> "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"<ref name="manfred">Weidhorn, Manfred (2005). ''The Person of the Millennium: The Unique Impact of Galileo on World History''. iUniverse, p. 155. ISBN 0-595-36877-8.</ref> "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์"<ref name="manfred" /> และ "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่"<ref>Finocchiaro, Maurice A. (Fall 2007), "Book Review—The Person of the Millennium: The Unique Impact of Galileo on World History", ''The Historian'' '''69''' (3) : 601–602, doi:[http://dx.doi.org/10.1111%2Fj.1540-6563.2007.00189_68.x 10.1111/j.1540-6563.2007.00189_68.x]</ref>
 
การศึกษาการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีความเร่งคงที่ ซึ่งสอนกันอยู่ทั่วไปในระดับมัธยมศึกษาและเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชา[[ฟิสิกส์]]ก็เป็นผลงานของกาลิเลโอ รู้จักกันในเวลาต่อมาในฐานะวิชา[[จลนศาสตร์]] งานศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญของกาลิเลโอได้แก่ การใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์คาบปรากฏของ[[ดาวศุกร์]] การค้นพบ[[ดาวบริวาร]]ของ[[ดาวพฤหัสบดี]] ซึ่งต่อมาตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า ''ดวงจันทร์กาลิเลียน'' รวมถึงการสังเกตการณ์และการตีความจากการพบจุดดับบน[[ดวงอาทิตย์]] กาลิเลโอยังมีผลงานด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ซึ่งช่วยพัฒนาการออกแบบ[[เข็มทิศ]]อีกด้วย
บรรทัด 43:
กาลิเลโอเป็นผู้ริเริ่มการทดลองทางวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณซึ่งสามารถนำผลไปใช้ในการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ต่อได้โดยละเอียด การทดลองวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นยังเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพอยู่มาก เช่นงานของ[[วิลเลียม กิลเบิร์ต]]เกี่ยวกับ[[แม่เหล็ก]]และ[[ไฟฟ้า]] พ่อของกาลิเลโอ คือวินเชนโซ กาลิเลอี เป็นนักดนตรีลูทและนักดนตรีทฤษฎี อาจเป็นคนแรกเท่าที่เรารู้จักที่สร้างการทดลองแบบไม่เป็นเชิงเส้นในวิชาฟิสิกส์ขึ้น เนื่องจากการปรับตั้งสายเครื่องดนตรี ตัวโน้ตจะเปลี่ยนไปตาม[[ราก (คณิตศาสตร์)|ราก]]ที่สองของแรงตึงของสาย<ref>Cohen, H. F. (1984). ''Quantifying Music: The Science of Music at''. Springer, pp. 78–84. ISBN 90-277-1637-4.</ref> ข้อสังเกตเช่นนี้อยู่ในกรอบการศึกษาด้านดนตรีของ[[พีทาโกรัส|พวกพีทาโกเรียน]]และเป็นที่รู้จักทั่วไปในหมู่นักผลิตเครื่องดนตรี แสดงให้เห็นว่า[[คณิตศาสตร์]]กับ[[ดนตรี]]และ[[ฟิสิกส์]]มีความเกี่ยวพันกันมานานแล้ว กาลิเลโอผู้เยาว์อาจได้เห็นวิธีการเช่นนี้ของบิดาและนำมาขยายผลต่อสำหรับงานของตนก็ได้<ref>Field, Judith Veronica (2005). ''Piero Della Francesca: A Mathematician's Art''. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเยล, pp. 317–320. ISBN 0-300-10342-5.</ref>
 
กาลิเลโออาจจะเป็นคนแรกที่ชี้ชัดลงไปว่ากฎเกณฑ์ทางธรรมชาติล้วนสามารถอธิบายได้ด้วยคณิตศาสตร์ ใน ''อิลซัจจาโตเร'' เขาเขียนว่า "ปรัชญาที่แสดงไว้ในหนังสือเล่มใหญ่นี้ คือ[[เอกภพ]]... ซึ่งได้เขียนไว้ในภาษาแห่งคณิตศาสตร์ ตัวละครของมันได้แก่สามเหลี่ยม วงกลม และสัญลักษณ์[[เรขาคณิต]]อื่น ๆ ..."<ref name="drake1957">สติลแมน เดรก (1957). ''Discoveries and Opinions of Galileo''. นิวยอร์ก: ดับเบิลเดย์และคณะ. ISBN 0-385-09239-3</ref> การวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของเขาเป็นการพัฒนาต่อเนื่องจากประเพณีเดิมที่นักปรัชญาธรรมชาติยุคก่อนหน้า ซึ่งกาลิเลโอได้เรียนรู้ขณะที่เขาศึกษาวิชาปรัชญา<ref>วิลเลียม เอ. วอลเลซ (1984) ''Galileo and His Sources: The Heritage of the Collegio Romano in Galileo's Science'', (ปรินซ์ตัน: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน), ISBN 0-691-08355-X </ref> แม้เขาจะพยายามอย่างยิ่งที่จะซื่อสัตย์ต่อคริสตจักร[[คาทอลิก]] แต่ความซื่อตรงต่อผลการทดลองและการตีความทางวิทยาศาสตร์ล้วนนำไปสู่การปฏิเสธความเชื่ออันไร้เหตุผลของคณะปกครองทั้งในทางปรัชญาและทางศาสนา หรืออาจกล่าวได้ว่า กาลิเลโอมีส่วนในการแยกวิทยาศาสตร์ออกจากทั้งวิชาปรัชญาและศาสนา ซึ่งเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งในแง่ความนึกคิดของมนุษยชาติ
 
ตามมาตรฐานความนึกคิดในยุคของเขา กาลิเลโอคิดอยู่หลายครั้งที่จะเปลี่ยนมุมมองของเขาต่อผลการสังเกตการณ์ นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ [[พอล เฟเยอราเบนด์]] ได้บันทึกว่าวิธีทำงานของกาลิเลโออาจเป็นไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง แต่เขาก็โต้แย้งด้วยว่าวิธีการของกาลิเลโอได้ผ่านการพิสูจน์ในเวลาต่อมาด้วยผลงานที่ได้รับ งานชิ้นสำคัญของเฟเยอราเบนด์คือ ''Against Method'' (1975) ได้อุทิศเพื่อวิเคราะห์การทำงานของกาลิเลโอโดยใช้งานวิจัยด้าน[[ดาราศาสตร์]]ของเขาเป็นกรณีศึกษาเพื่อสนับสนุนแนวคิดนอกคอกในกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเฟเยอราเบนด์เอง เขาบันทึกว่า "พวก[[อริสโตเติล]]... ชอบแต่จะใช้ความรู้จากประสบการณ์ ขณะที่พวกกาลิเลโอชอบจะศึกษาทฤษฎีที่ยังไม่เป็นจริง ไม่มีคนเชื่อ และบางทีก็ถูกล้มล้างไปบ้าง ข้าพเจ้ามิได้ตำหนิพวกเขาเรื่องนั้น ตรงกันข้าม ข้าพเจ้าชมชอบคำกล่าวของ[[นีลส์ บอร์]] ที่ว่า 'นี่ยังไม่บ้าพอ'"<ref>พอล เฟเยอราเบนด์ (1993). ''Against Method'', 3rd edition, ลอนดอน: Verso, p. 129. ISBN 0-86091-646-4.</ref> เพื่อจะทำการทดลองของเขาได้ กาลิเลโอจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานของความยาวและเวลาขึ้นมาเสียก่อน เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบผลการวัดค่าในแต่ละวันและแต่ละสถานที่ทดลองได้อย่างถูกต้อง
 
กาลิเลโอได้แสดงให้เห็นแนวคิดอันทันสมัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างคณิตศาสตร์ [[ฟิสิกส์ทฤษฎี]] และ[[ฟิสิกส์การทดลอง]] เขาเข้าใจ[[พาราโบลา]]เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของความเป็น[[ภาคตัดกรวย]]และในแง่ของ[[ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน|ระบบพิกัด]]ที่ค่า y จะแปรตามกำลังสองของค่า x กาลิเลโอยังกล้าคิดต่อไปอีกว่า พาราโบลาเป็นวิถีโค้งอุดมคติทางทฤษฎีที่เกิดจาก[[โปรเจ็กไตล์]]ซึ่งเร่งขึ้นอย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีความฝืดหรือการรบกวนอื่น ๆ เขายอมรับว่าทฤษฎีนี้ยังมีข้อจำกัด โดยระบุว่าวิถีโปรเจ็กไตล์ตามทฤษฎีนี้เมื่อนำมาทดลองในขนาดเปรียบเทียบกับโลกแล้วไม่อาจทำให้เกิดเส้นโค้งพาราโบลาขึ้นได้<ref>ไมเคิล ชาร์รัตต์ (1996), ''Galileo: Decisive Innovator''. Cambridge University Press, Cambridge. ISBN 0-521-56671-1 </ref><ref>กาลิเลโอ กาลิเลอี [1638, 1914] (1954), แปลโดย เฮนรี ครูว์ และอัลฟอนโซ เดอ ซัลวิโอ, ''Dialogues Concerning Two New Sciences'', Dover Publications Inc., New York, NY. ISBN 486-60099-8 </ref> ถึงกระนั้นเขายังคงยึดแนวคิดนี้เพื่อทดลองในระยะทางที่ไกลขนาดการยิงปืนใหญ่ในยุคของเขา และเชื่อว่าการผิดเพี้ยนของวิถีโปรเจ็กไตล์ที่ผิดไปจากพาราโบลาเกิดจากความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ประการที่สาม เขาตระหนักว่าผลการทดลองของเขาจะไม่อาจเป็นที่ยอมรับโดยดุษณีสำหรับรูปแบบทางทฤษฎีหรือทางคณิตศาสตร์ใด เพราะความไม่แม่นยำจากเครื่องมือวัด จากความฝืดที่ไม่อาจแก้ไขได้ และจากปัจจัยอื่น ๆ อีก
 
[[สตีเฟน ฮอว์กิง]] นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งแห่งยุคกล่าวว่า กาลิเลโออาจมีบทบาทในฐานะผู้ให้กำเนิดวิทยาศาสตร์ยุคใหม่มากยิ่งกว่าใคร ๆ<ref>สตีเฟน ฮอว์กิง (1988). ''A Brief History of Time''. New York, NY: Bantam Books. ISBN 0-553-34614-8.</ref> ขณะที่[[อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์]]เรียกเขาว่าเป็น "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ยุคใหม่"<ref>อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (1954). ''Ideas and Opinions'', แปลโดย Sonja Bargmann, London: Crown Publishers. ISBN 0-285-64724-5.</ref>
บรรทัด 60:
วันที่ [[7 มกราคม]] [[ค.ศ. 1610]] กาลิเลโอได้ใช้กล้องส่องทางไกลของเขาเฝ้าสังเกตบางสิ่งที่เขาบรรยายในเวลานั้นว่าเป็น "ดาวนิ่ง ๆ สามดวงที่มองไม่เห็น{{fn|2}} เพราะมีขนาดเล็กมาก" ดาวทั้งสามดวงอยู่ใกล้กับ[[ดาวพฤหัสบดี]] และตั้งอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมด<ref name="drake1978">สทิลแมน เดรค (1978). ''Galileo At Work''. ชิคาโก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยชิคาโก. ISBN 0-226-16226-5</ref> การสังเกตการณ์ในคืนต่อ ๆ มาปรากฏว่า ตำแหน่งของ "ดาว" เหล่านั้นเมื่อเทียบกับดาวพฤหัสบดีมีการเปลี่ยนแปลงในแบบที่ไม่สามารถอธิบายได้หากพวกมันเป็น[[ดาวฤกษ์]]จริง ๆ วันที่ 10 มกราคม กาลิเลโอบันทึกว่า หนึ่งในดาวทั้งสามได้หายตัวไป ซึ่งเขาอธิบายว่ามันไปหลบอยู่ด้านหลังดาวพฤหัสบดี ภายในเวลาไม่กี่วันเขาก็สรุปได้ว่าดาวเหล่านั้นโคจรรอบดาวพฤหัสบดี{{fn|3}} กาลิเลโอได้ค้นพบดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีสามในสี่ดวง คือ [[ไอโอ]] [[ยูโรปา]] และ[[คัลลิสโต]] ต่อมา เขาค้นพบดาวบริวารดวงที่สี่คือ[[แกนีมีด]] ในวันที่ [[13 มกราคม]] กาลิเลโอตั้งชื่อดาวบริวารทั้งสี่ที่เขาค้นพบว่าเป็น ''ดาวเมดิเซียน'' เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้อุปการะของเขา คือ [[โคสิโมที่ 2 เดอ เมดิชิ]] แกรนด์ดยุคแห่ง[[แคว้นทัสกานี|ทัสกานี]] และน้องชายของเขาอีกสามคน<ref name="sharrat" /> แต่ต่อมาในภายหลัง นักดาราศาสตร์ได้ตั้งชื่อแก่ดวงจันทร์เหล่านั้นเสียใหม่ว่า ''ดวงจันทร์กาลิเลียน'' เพื่อเป็นเกียรติแก่กาลิเลโอเอง
 
ดาวเคราะห์ที่มีดาวขนาดเล็กกว่าโคจรโดยรอบเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวคิดพื้นฐานของจักรวาลของ[[อริสโตเติล]] ซึ่งถือว่าวัตถุบนท้องฟ้าทุกอย่างล้วนต้องโคจรรอบ[[โลก]]<ref>คริสโตเฟอร์ เอ็ม. ลินตัน (2004). ''From Eudoxus to Einstein—A History of Mathematical Astronomy''. เคมบริดจ์: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. ISBN 978-0-521-82750-8. </ref> ในระยะแรก นักดาราศาสตร์และนักปรัชญาจำนวนมากจึงไม่ยอมเชื่อสิ่งที่กาลิเลโอค้นพบ<ref name="drake1978" />
 
กาลิเลโอยังคงเฝ้าสังเกตดวงจันทร์เหล่านั้นต่อไปอีกถึง 18 เดือน จนกระทั่งถึงกลางปี 1611 เขาก็สามารถประมาณรอบเวลาโคจรของมันได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่[[โยฮัน เคปเลอร์|เคปเลอร์]]เคยคิดว่าเป็นไปไม่ได้<ref name="drake1978" />
บรรทัด 90:
พระคาร์ดินัลเบลลาร์ไมน์ได้เขียนไว้เมื่อปี ค.ศ. 1615 ว่า ระบบของโคเปอร์นิคัสไม่มีทางเป็นไปได้โดยปราศจาก "ข้อมูลทางฟิสิกส์อย่างแท้จริงว่าดวงอาทิตย์ไม่ได้โคจรรอบโลก แต่เป็นโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์"<ref name="finoc1989">มอริซ เอ. ฟินอคชิอาโร (1989). ''The Galileo Affair: A Documentary History''. เบิร์กลีย์ แคลิฟอร์เนีย: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย. ISBN 0-520-06662-6.</ref> กาลิเลโอศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับปรากฏการณ์[[น้ำขึ้นน้ำลง]] เพื่อหาข้อมูลทางฟิสิกส์ที่จะพิสูจน์การเคลื่อนที่ของโลก ทฤษฎีนี้มีความสำคัญต่อกาลิเลโอมากจนเขาเกือบจะตั้งชื่อบทความ ''เรียงความเรื่องระบบหลักสองระบบ'' เป็น ''เรียงความเรื่องน้ำลงและการไหลของทะเล''<ref name="finoc1989" /> สำหรับกาลิเลโอ ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากการเคลื่อนตัวขึ้นและลงของน้ำทะเลไปจากตำแหน่งของผิวโลก ซึ่งจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเนื่องจากการที่โลกหมุนตัวไปรอบ ๆ แกนและเคลื่อนไปรอบดวงอาทิตย์ กาลิเลโอเผยแพร่งานเขียนเกี่ยวกับปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงเมื่อปี ค.ศ. 1616 โดยอุทิศแด่พระคาร์ดินัลออร์สินิ<ref name="finoc1989" />
 
ถ้าทฤษฎีนี้ถูกต้อง ก็จะมีช่วงเวลาน้ำขึ้นเพียงวันละ 1 ครั้ง กาลิเลโอกับเหล่านักคิดร่วมสมัยต่างคิดถึงความสำคัญข้อนี้ เพราะที่[[เวนิส]]มีช่วงเวลาน้ำขึ้นวันละ 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง แต่กาลิเลโอละเลยความผิดปกตินี้เสียโดยถือว่าเป็นผลจากสาเหตุรอง ๆ อีกหลายประการ เช่นลักษณะรูปร่างของทะเล ความลึกของทะเล และปัจจัยอื่น ๆ<ref name="finoc1989" /> การที่กาลิเลโอตั้งสมมุติฐานลวงเพื่อโต้แย้งป้องกันแนวคิดของตัวเองนี้ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ แสดงความเห็นว่ากาลิเลโอได้พัฒนาให้ "ข้อโต้แย้งมีเสน่ห์" และยอมรับมันโดยไม่คำนึงถึงความปรารถนาในข้อพิสูจน์ทางฟิสิกส์เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของโลก<ref>อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์. บทนำใน ''Dialogue Concerning the Two Chief World Systems'' แปลโดย สทิลแมน เดรค (1953). เบิร์กลีย์ แคลิฟอร์เนีย: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย. </ref>
 
กาลิเลโอไม่เชื่อทฤษฎีของ[[โยฮันเนส เคปเลอร์]] นักคิดร่วมสมัยกับเขา ที่เสนอว่า [[ดวงจันทร์]]เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เขากล่าวว่าทฤษฎีนี้เป็น "นิยายไร้สาระ"<ref name="finoc1989" /> กาลิเลโอยังไม่ยอมรับแนวคิดเรื่อง[[วงโคจรแบบรี|วงโคจรแบบวงรี]]ของเคปเลอร์<ref>ซาจิโกะ คุสุกาวะ. [http://www.hps.cam.ac.uk/starry/galtele.html Starry Messenger. The Telescope], คณะประวัติศาสตร์และปรัชญาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. เก็บข้อมูลเมื่อ 2007-03-10</ref> เขาคิดว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ควรจะเป็น "วงกลมสมบูรณ์แบบ"
บรรทัด 158:
กาลิเลโอเสียชีวิตเมื่อวันที่ [[8 มกราคม]] [[ค.ศ. 1642]] รวมอายุ 77 ปี [[แฟร์ดีนันโดที่ 2 เด เมดีชี แกรนด์ดยุกแห่งทัสกานี]] ต้องการฝังร่างของเขาไว้ในอาคารหลักของ[[มหาวิหารซันตาโกรเช]] ติดกับหลุมศพของบิดาของท่านและบรรพชนอื่น ๆ รวมถึงได้จัดทำศิลาหน้าหลุมศพเพื่อเป็นเกียรติด้วย<ref name="funeral">Shea, William R. and Artigas, Mario (2003). ''Galileo in Rome: The Rise and Fall of a Troublesome Genius''. Oxford: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด. ISBN 0-19-516598-5.; Sobel, Dava (2000) [1999]. ''Galileo's Daughter''. London: Fourth Estate. ISBN 1-85702-712-4.</ref> แต่แผนการนี้ไม่สำเร็จ เนื่องจากถูก[[สมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8]] และหลานของพระองค์คือพระคาร์ดินัลฟรานเชสโก บาร์เบรินี คัดค้าน<ref name=funeral /> เขาจึงต้องฝังร่างอยู่ในห้องเล็ก ๆ ถัดจากโบสถ์น้อยของโนวิซที่ปลายสุดโถงทางเดินทางปีกด้านใต้ของวิหาร<ref name=funeral /> ภายหลังเขาได้ย้ายหลุมศพไปไว้ยังอาคารหลักของมหาวิหารในปี ค.ศ. 1737 หลังจากมีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา<ref name=funeral />
 
คำสั่งห้ามการพิมพ์ผลงานของกาลิเลโอได้ยกเลิกไปในปี ค.ศ. 1718 โดยได้มีการอนุญาตตีพิมพ์งานหลายชิ้นของเขา (รวมถึง ''Dialogue'') ในเมืองฟลอเรนซ์<ref name="heilbron">Heilbron, John L. (2005). ''Censorship of Astronomy in Italy after Galileo''. In McMullin (2005, pp.279–322).</ref> ปี ค.ศ. 1741 [[สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 14]] ทรงอนุญาตให้ตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์ที่สมบูรณ์ของกาลิเลโอได้<ref name="complete works 1">มีงานพิมพ์สองชิ้นที่ไม่ใช่งานทางวิทยาศาสตร์ คือ ''Letters to Castelli'' และ ''Letters to Grand Duchess Christina'', ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในการอนุญาตตีพิมพ์คราวนี้; Coyne, George V., S.J. (2005). ''The Church's Most Recent Attempt to Dispel the Galileo Myth''. In McMullin (2005, pp.340–359). </ref> รวมถึงงานเขียนต้องห้ามชุด ''Dialogue'' ด้วย<ref name="heilbron" /> ปี ค.ศ. 1758 งานเขียนต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลซึ่งเคยถูกแบนมาก่อน ได้ถูกยกออกไปเสียจากรายการหนังสือต้องห้าม แต่ยังคงมีการห้ามเป็นพิเศษสำหรับหนังสือ ''Dialogue'' และ ''De Revolutionibus'' ของโคเปอร์นิคัสอยู่<ref name="heilbron" /> การห้ามปรามงานตีพิมพ์เกี่ยวกับแนวคิดดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาลได้สูญหายไปจนหมดในปี ค.ศ. 1835{{fn|9}}
 
ปี ค.ศ. 1939 [[สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12]] ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ ''Pontifical Academy of Sciences'' หลังจากทรงขึ้นรับตำแหน่งไม่กี่เดือน โดยเอ่ยถึงกาลิเลโอว่าเป็น "วีรบุรุษแห่งงานค้นคว้าวิจัยผู้กล้าหาญที่สุด ... ไม่หวั่นเกรงกับการต่อต้านและการเสี่ยงภัยในการทำงาน ไม่กลัวเกรงต่อความตาย"<ref>จากบทปาฐกถาของสมเด็จพระสันตปาปาปิอุสที่ 12 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 1939 อ้างอิงจาก ''Discourses of the Popes from Pius XI to John Paul II to the Pontifical Academy of the Sciences'' 1939-1986, นครรัฐวาติกัน, p.34</ref> ที่ปรึกษาคนสนิทของพระองค์ ศาสตราจารย์โรเบิร์ต เลย์เบอร์ เขียนไว้ว่า "สมเด็จปิอุสที่ 12 ทรงระมัดระวังมากที่จะไม่ปิดประตูสำหรับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ พระองค์กระตือรือร้นในเรื่องนี้มาก และทรงเสียพระทัยอย่างยิ่งกับกรณีที่เกิดขึ้นกับกาลิเลโอ"<ref>Robert Leiber, Pius XII Stimmen der Zeit, พฤศจิกายน 1958 in Pius XII. Sagt, Frankfurt 1959, p.411 </ref>
 
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 พระคาร์ดินัลโยเซฟ รัทซิงเงอร์ (ต่อมาเป็น[[สมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16]]) กล่าวปาฐกถาที่[[ซาปีเอนซา มหาวิทยาลัยแห่งโรม]] โดยทรงให้ความเห็นบางประการต่อคดีกาลิเลโอว่าเป็นกำเนิดของสิ่งที่พระองค์เรียกว่า "กรณีอันน่าเศร้าที่ทำให้เราเห็นถึงความขลาดเขลาในสมัยกลาง ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้แสดงในปัจจุบัน"<ref name="self-doubt">Ratzinger, Joseph Cardinal (1994). ''Turning point for Europe? The Church in the Modern World—Assessment and Forecast''. แปลจากฉบับภาษาเยอรมันของไบรอัน แมคนีล ปี 1991. San Francisco, CA: Ignatius Press. ISBN 0-89870-461-8. OCLC 60292876.</ref> ทรงอ้างถึงมุมมองของผู้อื่นด้วย เช่นของ พอล เฟเยอร์ราเบนด์ นักปรัชญา ซึ่งกล่าวว่า "ศาสนจักรในยุคของกาลิเลโอถือว่าตนอยู่ใกล้ชิดกับเหตุผลมากกว่ากาลิเลโอ จึงเป็นผู้ทำการพิจารณาด้านศีลธรรมและผลสืบเนื่องทางสังคมที่เกิดจากการสอนของกาลิเลโอด้วย คำตัดสินโทษที่มีต่อกาลิเลโอนั้นมีเหตุผลพอ ยุติธรรม การเปลี่ยนแปลงคำตัดสินจะพิจารณาได้ก็แต่เพียงบนพื้นฐานของการเห็นต่างทางการเมืองเท่านั้น"<ref name="self-doubt" /> แต่พระคาร์ดินัลมิได้ให้ความเห็นว่าตนเห็นด้วยหรือไม่กับคำกล่าวนี้ ท่านเพียงแต่กล่าวว่า "การเอ่ยคำขอโทษอย่างหุนหันพลันแล่นต่อมุมมองเช่นนี้คงเป็นความเขลาอย่างมาก"<ref name="self-doubt" />
บรรทัด 192:
การค้นพบทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอและงานวิเคราะห์ที่สนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส เป็นผลงานเกียรติยศที่โด่งดังตลอดกาล รวมถึงการค้นพบดวงจันทร์ใหญ่ที่สุด 4 ดวงของดาวพฤหัสบดี (ไอโอ, ยูโรปา, แกนิมีด และ คัลลิสโต) ซึ่งได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาว่า [[ดวงจันทร์กาลิเลียน]] หลักการและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ อีกมากมายก็ตั้งชื่อตามเขา เช่น [[ยานอวกาศกาลิเลโอ]] ซึ่งเป็นยานสำรวจอวกาศลำแรกที่เข้าสู่วงโคจรของ[[ดาวพฤหัสบดี]] ระบบดาวเทียมสำรวจโลกกาลิเลโอ วิธีการแปลงค่าจากระบบ inertial ไปเป็น[[กลศาสตร์ดั้งเดิม]]ก็ได้ชื่อว่า ''การแปลงกาลิเลียน'' และหน่วยวัด กัล (Gal) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความเร่งที่ไม่ได้อยู่ใน[[ระบบเอสไอ]]
 
เพื่อเป็นการระลึกถึงการค้นพบครั้งสำคัญทางดาราศาสตร์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ [[องค์การสหประชาชาติ]]จึงได้ประกาศให้ปี [[ค.ศ. 2009]] เป็น [[ปีดาราศาสตร์สากล]]<ref>United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (11 August 2005). [http://unesdoc.unesco.org/images/0014/001403/140317e.pdf "Proclamation of 2009 as International year of Astronomy"] (PDF). UNESCO. เก็บข้อมูลเมื่อ 2008-06-10. </ref> โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดำเนินการโดย[[สหภาพดาราศาสตร์สากล]] และได้รับการสนับสนุนจาก[[องค์การยูเนสโก]] ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสหประชาชาติที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
 
กาลิเลโอ ได้รับเลือกให้เป็นสัญลักษณ์สำคัญบนเหรียญที่ระลึกขนาด 25 ยูโร ในชุดเหรียญที่ระลึกปีดาราศาสตร์สากล สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2009 เพื่อเป็นการระลึกถึงโอกาสที่กาลิเลโอสร้างกล้องโทรทรรศน์ของเขาครบรอบ 400 ปี ด้านหน้าของเหรียญเป็นภาพครึ่งตัวของกาลิเลโอกับกล้องโทรทรรศน์ ด้านหลังเป็นภาพวาดภาพหนึ่งของกาลิเลโอที่วาดผลการสังเกตการณ์ดวงจันทร์ ขอบเงินรอบ ๆ เหรียญนี้เป็นภาพกล้องโทรทรรศน์อื่น ๆ ได้แก่ กล้องโทรทรรศน์ของไอแซก นิวตัน, กล้องของหอดูดาว Kremsmünster Abbey, [[กล้องโทรทรรศน์วิทยุ]], และ[[กล้องโทรทรรศน์อวกาศ]]
บรรทัด 200:
=== รายการสิ่งสำคัญที่ตั้งชื่อตามกาลิเลโอ ===
* หน่วยวัดอัตราเร่งใน[[ระบบซีจีเอส]] : [[กัล]] (Gal)
* แอ่งบนดวงจันทร์ และ แอ่งบนดาวอังคาร<ref> [http://nssdcftp.gsfc.nasa.gov/miscellaneous/planetary/viking/mars_gazetteer.txt MARS,GALILAEI] Mars Gazetteer,National Science Space Data Center; [http://astrogeology.usgs.gov/Projects/MapBook/featureNameSearch.jsp?id=62244 USGS Astrogeology Science Center] (zugriff=4.April 2010)</ref>
* [[เทอร์โมมิเตอร์กาลิเลโอ]]
* [[จำนวนกาลิเลโอ]] หน่วยวัดในสาขา[[กลศาสตร์ของไหล]]
บรรทัด 258:
* [http://www.galilean-library.org/ Galilean Library]
* [http://www.catholicleague.org/research/galileo.html "กาลิเลโอกับศาสนจักร"] บทความจากสมาพันธ์คาทอลิก catholicleague.org
 
 
{{birth|1564}}{{death|1642}}
 
 
[[หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2107]]