ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:gas giants and the Sun (1 px = 1000 km).jpg|thumb|right|300px|ดาวแก๊สยักษ์ทั้ง 4 ดวงของระบบสุริยะ เปรียบเทียบขนาดกับดวงอาทิตย์ (ตามสัดส่วนจริง)]]
 
'''ดาวแก๊สยักษ์''' ({{lang-en|Gas giant}}) หรือบางครั้งเรียกกันว่า '''ดาวเคราะห์โจเวียน''' ({{lang-en|Jovian planet}}; เรียกตามชื่อดาวพฤหัสบดี หรือดาวจูปิเตอร์ ซึ่งเป็นดาวแก๊สยักษ์ที่ใหญ่ที่สุด) คือ[[ดาวเคราะห์]]ขนาดใหญ่ที่มิได้มีองค์ประกอบของ[[หิน]]หรือสสารแข็ง ใน[[ระบบสุริยะ]]มีดาวแก๊สยักษ์4 คค ดวงคือ [[ดาวพฤหัสบดี]] [[ดาวเสาร์]] [[ดาวยูเรนัส]] และ[[ดาวเนปจูน]] ยังมี[[ดาวเคราะห์นอกระบบ|ดาวแก๊สยักษ์อื่นๆ]] ที่ค้นพบว่าโคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ อีก
 
ดาวแก๊สยักษ์ยังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท ดาวแก๊สยักษ์ "ดั้งเดิม" คือดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ มีส่วนประกอบโดยพื้นฐานเป็น[[ไฮโดรเจน]]และ[[ฮีเลียม]] ส่วนดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนอาจจัดเป็นประเภทย่อยอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า "ดาวน้ำแข็งยักษ์" เพราะมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็น [[น้ำ]] [[แอมโมเนีย]] และ[[มีเทน]] ส่วนไฮโดรเจนกับฮีเลียมจะอยู่ในส่วนรอบนอกสุดของดาว สำหรับกลุ่ม[[ดาวเคราะห์นอกระบบ]] "[[ดาวพฤหัสบดีร้อน]]" (Hot Jupiter) คือดาวแก๊สยักษ์ที่โคจรใกล้กับดาวฤกษ์ของมันมากและมีอุณหภูมิพื้นผิวที่สูงมาก ซึ่งน่าจะเป็นเหตุให้เราสามารถตรวจจับมันพบได้ง่าย ลักษณะของดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมากที่ค้นพบ จะเป็นแบบ ดาวพฤหัสบดีร้อน นี้เกือบทั้งหมด