ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วชิราวุธวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
FutureLifePlus (คุย | ส่วนร่วม)
GünniX (คุย | ส่วนร่วม)
<br /> using AWB
บรรทัด 4:
| en_name = Vajiravudh College
| image = [[ไฟล์:Vc2.JPG|200px]]
| address = 197 [[ถนนราชวิถี]] แขวงดุสิต</br />[[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]]
| abbr =
| code = 1110100022 (ใหม่) <br/>81100205 (เก่า)
บรรทัด 21:
'''วชิราวุธวิทยาลัย''' เป็นโรงเรียนประจำชายล้วน สถาปนาขึ้นโดย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดยพระองค์พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างโรงเรียนแก่กุลบุตรชาวไทยแทนการสร้างพระอารามซึ่งมีอยู่มากแล้วนั้น ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้มีพระบรมราชโองการให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวง กรุงเทพ และ[[โรงเรียนราชวิทยาลัย]]เข้าด้วยกัน โดยให้นักเรียนย้ายมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพ พร้อมทั้งได้พระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสืบต่อไป
 
วชิราวุธวิทยาลัยมีตึกที่พักนักเรียน เรียกว่า "คณะ" เป็นเสมือนบ้านของนักเรียน แบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ คณะเด็กโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม แบ่งออกเป็น ๖ คณะ คือ คณะผู้บังคับการ คณะดุสิต คณะจิตรดา คณะพญาไท คณะจงรักภักดี คณะศักดิ์ศรีมงคล ส่วนคณะเด็กเล็กสำหรับนักเรียนชั้นประถม แบ่งออกเป็น ๓ คณะ คือ คณะสนามจันทร์ คณะนันทอุทยาน และ คณะสราญรมย์ นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังส่งเสริมให้นักเรียนได้เล่นกีฬาต่าง ๆ เช่น รักบี้ฟุตบอล แบดมินตัน นอกจากนี้ ยังมีการจัดการแข่งขันรักบี้ประเพณีกับ[[มาเลย์ คอลเลจ]] (Malay College Kuala Kangsar) จาก[[ประเทศมาเลเซีย]] เป็นประจำทุก ๆ ปี
 
ปัจจุบัน ดำเนินการสอนในระดับชั้น[[ประถมศึกษา]]ปีที่ 4 ถึง[[มัธยมศึกษา]]ปีที่ 6 ตั้งอยู่ที่ [[ถนนราชวิถี]] แขวงดุสิต [[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]]
บรรทัด 27:
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Vajiravudh College Assembly Hall.jpg|300px|thumb|หอประชุมวชิราวุธวิทยาลัย]]
[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานกำเนิด[[โรงเรียนมหาดเล็กหลวง]]ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ [[29 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2453]] เพื่อโรงเรียนแห่งนี้เป็นสถาบันที่ให้การศึกษาอย่างแท้จริงแก่กุลบุตรชาวไทย และเป็นเสมือน[[พระอารามหลวง]]ประจำรัชกาล ซึ่งมิได้โปรดฯ ให้สร้างขึ้น เพราะมีพระราชดำริว่า ในรัชสมัยของพระองค์พระอารามหลวงต่างๆ มีอยู่มากแล้ว หากจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระอารามหลวงขึ้นอีกก็จะเป็นพระราชภาระในการปฏิสังขรณ์อีกโดยมิควร ประกอบกับในรัชสมัยของพระองค์นั้นการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป มิได้อยู่กับวัดดังเช่นกาลก่อน นักเรียนต้องการครูบาอาจารย์ที่เป็นคฤหัสถ์ เพื่อทำการอบรมสั่งสอน<ref name="ก่อพระฤกษ์">ราชกิจาจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2264.PDF การก่อพระฤกษ์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ], เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๒๖๔ </ref> ดังนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนขึ้นตามแบบโรงเรียนรัฐบาลของ[[ประเทศอังกฤษ]] และพระราชทานนามโรงเรียนแห่งนี้ว่า "โรงเรียนมหาดเล็กหลวง"<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/15.PDF แจ้งความโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ย้ายโรงเรียนมหาดเล็กข้าหลวงเดิม], เล่ม ๒๘, ตอน ๐ง, ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๑๕ </ref>
 
ในการสถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง พระองค์ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราวเป็นเรือนไม้ หลังคามุงจากขึ้นก่อนในที่ดินส่วนพระองค์ที่สวนกระจัง ริม[[คลองเปรมประชากร]] ตำบล[[สวนดุสิต]] แล้วโปรดฯ ให้ย้ายนักเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งเปิดการสอนเป็นการชั่วคราวจากโรงเรียนราชกุมาร (เก่า) ใกล้หอพิธีพราหมณ์ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] มาดำเนินการสอนในสถานที่ซึ่งพระราชทานให้ใหม่นี้เมื่อวันที่ [[1 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2454]] ต่อมาใน [[พ.ศ. 2458]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้[[กรมศิลปากร]]มาดำเนินการก่อสร้างอาคารถาวรของโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งประกอบด้วยหอประชุมและอาคารที่พักของนักเรียนที่มุมโรงเรียนอีก 4 หลัง<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2266.PDF ประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ซึ่งบรรจุไว้ในศิลาพระฤกษ์โรงเรียนมหาดเล็กหลวง], เล่ม ๓๒, ตอน ง, ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๒๖๖ </ref> และได้ทรงพระมหากรุณาเสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาพระฤกษ์สร้างอาคารโรงเรียนเมื่อวันที่ [[20 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2458]]<ref name="ก่อพระฤกษ์"/> ครั้นเมื่อ [[พ.ศ. 2459]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนราชวิทยาลัยจากกระทรวงยุติธรรมมาไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นที่[[จังหวัดเชียงใหม่]]อีกแห่งหนึ่งใน [[พ.ศ. 2459]]
 
การดำเนินการศึกษาในโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จำต้องยุติลง เนื่องจากพระองค์ได้ด่วนเสด็จสู่สวรรคาลัย เมื่อวันที่ [[25 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2468]] ในรัชสมัยต่อมา ประเทศสยามต้องประสบสภาวะฝืดเคืองทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง จึงทำให้[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]จำต้องทรงตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ลง ทั้งนี้เพื่อให้การเงินในประเทศเข้าสู่สมดุล ดังนั้น ใน [[พ.ศ. 2469]] ได้มีพระบรมราชโองการให้รวมโรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพฯ และ [[โรงเรียนราชวิทยาลัย]]เข้าด้วยกัน โดยให้ย้ายนักเรียนมาเรียนรวมกันที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงกรุงเทพ และได้พระราชทานนามโรงเรียนให้ใหม่ว่า “วชิราวุธวิทยาลัย” เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนสืบต่อไป<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2469/A/95.PDF ประกาศ วางรูปการและพระราชทานนามโรงเรียนมหาดเล็กหลวง], เล่ม ๔๓, ตอน ๐ก, ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๙, หน้า ๙๕ </ref>
 
ในรัชกาลปัจจุบันเมื่อ[[พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี]]และ[[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]] พระราชธิดาพระองค์เดียวใน[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นการถาวรในปี พ.ศ. 2502 ทั้งสองพระองค์ทรงมีพระประสงค์จะสนองพระเดชพระคุณของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ผู้ทรงเป็นพระบรมชนกนาถ และ พระราชสวามี จึงทรงต้องพระประสงค์จะอุปถัมภ์กิจการที่[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงริเริ่มไว้ ดังนั้น[[พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี]]และ[[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]] จึงทรงรับวชิราวุธวิทยาลัยไว้ในพระอุปถัมภ์ โดยจะทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อบำรุงวชิราวุธวิทยาลัย และทรงเสด็จพระดำเนินมาบำเพ็ญพระกุศลถวาย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] แม้เมื่อพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี จะเสด็จสิ้นพระชนม์ [[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]] ก็ยังทรงพระราชทานเงินเพื่อบำรุงไว้เช่นเดิมจนถึงปัจจุบัน
บรรทัด 74:
|style = "text-align: center;"| 2 || [[พระอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (ศร ศรเกตุ)]] || อาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง || 8 กันยายน พ.ศ. 2455 - 11 เมษายน พ.ศ. 2458
|-
|style = "text-align: center;"| 3 || [[พระยาบริหารราชมานพ (ศร ศรเกตุ)]] || ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง || 11 เมษายน พ.ศ. 2458 - 26 มีนาคม พ.ศ. 2460
|-
|style = "text-align: center;"| 4 || [[พระยาบรมบาทบำรุง (พิณ ศรีวรรธนะ)]] || ผู้บังคับการโรงเรียนมหาดเล็กหลวง || 26 มีนาคม พ.ศ. 2460 - 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469
บรรทัด 113:
* [[เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง]] นายกสมาคมนักเรียนเก่าอังกฤษแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้ริเริ่มก่อตั้งคณะอุตสาหกรรมเกษตร [[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]]
* ดร.วิชัย ตันศิริ อดีต รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
* [[หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล]] นักโบราณคดี บุคคลแรกที่พบ[[ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ]] อดีต[[อธิการบดี]][[มหาวิทยาลัยศิลปากร]]
* [[ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล]] เลขาธิการ[[มูลนิธิชัยพัฒนา]] นายกสภามหาวิทยาลัย [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
* [[อดิศัย โพธารามิก]] อดีต[[รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]] [[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์|กระทรวงพาณิชย์]] และ[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ|กระทรวงศึกษาธิการ]]
บรรทัด 146:
* [http://www.oldvajiravudh.com/ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยฯ]
{{geolinks-bldg|13.775497|100.518785}}
 
 
{{โรงเรียนชายล้วน}}
{{หน่วยงานในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี}}
{{สถานศึกษาในเขตดุสิต}}
 
[[หมวดหมู่:โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร]]
[[หมวดหมู่:โรงเรียนชายในประเทศไทย]]