ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การค้าประเวณีในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
Darth Prin (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มอ้างอิงเอกสาร UN เรื่องการห้ามการค้าประเวณีทั่วโลก
บรรทัด 82:
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติป้องกันสัญจรโรค [[รัตนโกสินทรศก]] 127 มีว่า 1) หญิงนครโสเภณีให้เป็นได้แต่โดยใจสมัคร ใครจะบังคับผู้อื่นหรือล่อลวงมาให้เป็นหญิงนครโสเภณีมิได้เลย มีโทษตาม[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/002/16.PDF พระราชกำหนดลักษณะข่มขืนล่วงประเวณี รัตนโกสินทรศก 118] ซึ่งโทษนี้ปัจจุบันมีบัญญัติใน[http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=4&group=&lawCode=ป06 ประมวลกฎหมายอาญา]แทนแล้ว 2) หญิงนครโสเภณีทุกคนต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อนจึงจะเป็นได้ และต้องเสียค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตราคาสิบสองบาท มีอายุสามเดือนต่อใบ ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนับว่าสูงมากในสมัยนั้น แสดงเจตนารมณ์ในการป้องปรามการเป็นโสเภณีอยู่ในตัว 3) ผู้ตั้งโรงหญิงนครโสเภณีต้องได้รับอนุญาตจากทางราชการก่อน และนายโรงก็เป็นได้แต่ผู้หญิง เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดูแลกันเอง 4) หญิงนครโสเภณีต้องไม่สร้างความรำคาญวุ่นวายแก่บุคคลภายนอก เช่น ฉุดลาก ยื้อแย้ง ล้อเลียน เป็นต้น 5) เจ้าพนักงานมีอำนาจเข้าไปในโรงหญิงนครโสเภณีทุกเมื่อ เพื่อนำตัวสมาชิกคนใดของโรงมาตรวจ ถ้าพบโรคก็ให้ส่งไปรักษาจนกว่าจะหาย แลอาจเพิกถอนหรือสักพักใช้ใบอนุญาตในคราวนั้นด้วยก็ได้
 
ต่อมาภายหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ได้เกิดมีแนวคิดที่จะปรับสภาพหญิงนครโสเภณีให้กลับเป็นคนดีของสังคม [[องค์การสหประชาชาติ]]ได้เรียกร้องให้มีการเลิกค้าประเวณีทั่วโลก โดยใน [[พ.ศ. 2492]] ได้มีการประชุมร่าง[[อนุสัญญา]]เพื่อการนี้ขึ้น ชื่อ "อนุสัญญาฉบับรวม" ({{lang-en|Consolidated Convention}}) มีเนื้อหาสาระเป็นการขจัดการค้าสตรีและการแสวงหาประโยชน์จากหญิงนครโสเภณี เพื่อเลิกการทำให้การค้าประเวณีเป็นสิ่งถูกกฎหมาย<ref>[http://www.ohchr.org/EN/ProfessionalInterest/Pages/TrafficInPersons.aspx Convention for the Suppression of the Traffic in Persons and of the Exploitation of the Prostitution of Others 1949] สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ''' ''' สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2560 </ref> ตลอดจนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่หญิงนครโสเภณีเพื่อกลับเป็นคนดีของสังคมต่อไปด้วย ซึ่งเมื่อประกาศใช้แล้ว ไทยเองก็ได้เข้าร่วมเป็น[[รัฐภาคี]]แห่งอนุสัญญานี้
 
ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2492]] เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้ประกาศห้ามจัดตั้งสำนักโสเภณีเพิ่มขึ้นอีก และใน [[พ.ศ. 2498]] ก็ได้มีการห้ามจดทะเบียนโสเภณีเป็นเด็ดขาด ซึ่งรัฐเองก็มีนโยบายจัดการสงเคราะห์หญิงนครโสเภณีขึ้นด้วย ดำเนินการโดย[[กระทรวงมหาดไทย]] ครั้งนั้น รัฐบาลดำริจะจัดตั้ง[[นิคม]]โสเภณีขึ้นเพื่อการดังกล่าว แต่ขัดข้องด้าน[[งบประมาณ]] โครงการจึงระงับไว้จน [[พ.ศ. 2499]] รัฐบาลได้ร่าง "พระราชบัญญัติห้ามการค้าประเวณี" ขึ้น แต่ไม่สามารถนำเข้าสู่[[รัฐสภา]]ได้ ใน [[พ.ศ. 2503]] รัฐบาลจึงเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่แทน คือ ร่างพระราชบัญญัติปรามการค้าประเวณี ได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาและประกาศใช้ตามลำดับ ปัจจุบันมีการประกาศใช้[http://www.krisdika.go.th/lawChar.jsp?head=3&item=3&process=showTitleOfLaw&id=2&group=ป&lawCode=ป13 พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539] แทนที่แล้ว