ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปะหล่อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
| group = ปะหล่อง
| image = [[ไฟล์:Palaung Woman Kalaw Shan Myanmar.jpg|250px]]
| caption = ภาพสตรีชาวปะหล่องใน[[รัฐฉาน]] [[ประเทศพม่า]]
| poptime = ประมาณ 557,000 คน
|popplace= [[ประเทศพม่า]], [[ประเทศจีน|จีน]] และ[[ประเทศไทย|ไทย]]
| rels = [[ศาสนาพุทธ|พุทธ]][[นิกายเถรวาท]]
| langs = [[ภาษาปะหล่อง]]
|related-c = [[ละว้าว้า]]
}}
'''ปะหล่อง''' หรือ '''ดาราอั้ง''' ({{lang-my|ပလောင် လူမျိုး}} {{IPA-my|pəlàʊɴ lùmjó|}}; {{Zh-all|c=德昂族|t=|s=|p=Déáng Zú|w=|j=}}) เป็นชนกลุ่มน้อยพวกหนึ่ง นับเป็นหนึ่งใน 56 [[กลุ่มชาติพันธุ์]]ใน[[ประเทศจีน]] นอกจากนี้ยังมีชาวปะหล่องอาศัยอยู่ใน[[ประเทศพม่า]] และมีบางส่วนที่อพยพเข้ามา[[ประเทศไทย]]บริเวณชายแดน บทเทือกเขาใน[[ดอยอ่างขาง]] [[อำเภอฝาง]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] ชาวปะหล่องพูดภาษาปะหล่อง ซึ่งเป็น[[ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก|ภาษาตระกูลมอญ-เขมร]]
บรรทัด 27:
เอกสารทางประวัติศาสตร์หลายฉบับกล่าวถึงชาวปะหล่องว่าเป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งภายใต้การปกครองของนครรัฐแสนหวี หนึ่งใน ๙ นครรัฐของอาณาจักรไตมาว ซึ่งเป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ของชนชาติไตครั้งพุทธศักราช ๑๒๐๐ โดยมีศูนย์กลางของอาณาจักรในขณะนั้นอยู่บริเวณเมืองแสนหวี ในรัฐฉาน ประเทศพม่า รายงานฉบับนี้ กล่าวว่าประหล่องมีฐานเดิมอยู่ในโกสัมพีซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ตรงกันเพราะ คำว่า โกสัมพีเป็นการเรียกนครรัฐแสนหวี และ กับความหมาย ครอบคลุมรัฐฉานทั้งหมดจำนวนประชากรประหล่อง โดยการสำรวจของ องค์การพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ณ ประมาณว่ามี ๑ ล้านคน ถิ่นที่อยู่กันหนาแน่น คือบริเวณเทือกเขาในรัฐฉาน แถบเมืองตองแปง น้ำซัน , สีป้อ , เมืองมิต และทางตอนใต้ในรัฐฉานคือ เมืองเชียงตุง นอกจากนั้นยังพบว่า ปะหล่องกระจัดกระจายกันอยู่ทางตอนใต้ของรัฐคะฉิ่น และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของยูนานในประเทศจีน
 
===ชาวดาราอั้งในประเทศไทย===
 
ราวปี พ.ศ.๒๕๑๑ ที่ชาวปะหล่องได้เริ่มอพยพเข้าในบางกลุ่มมาจนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้ปรากฏชาวปะหล่องจำนวน ๒,๐๐๐ คน อพยพมารวมกันที่ชายแดนไทย- พม่า บริเวณดอยอ่างขาง [[อำเภอฝาง]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] ได้ฟื้นฟูบ้านนอแล ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้กับพื้นที่รับผิดชอบของโครงการหลวงดอยอ่างขางสถานการณ์ครั้งนั้นนำความลำบากใจมาสู่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างยิ่งเนื่องจากกลุ่มอพยพครั้งนี้เป็นชาวปะหล่องจากดอยลาย อยู่ระหว่างเมืองเชียงตอง กับเมืองปั่น เขตเชียงตุง ฉะนั้นบุคคลเหล่านี้จึงถือ เป็นบุคคลอพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สาเหตุของการอพยพสืบต่อเนื่องมาจากสถานการณ์ในประเทศพม่าเมื่อประเทศอังกฤษคืนอิสรภาพมีผลทำให้เกิดความระส่ำระสายไปทั่วเกิดการขัดแย้งและสู้รบกันตลอดเวลา ระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติกับทหารรัฐบาลพม่าที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ต่างๆ สงครามส่งผลต่อชาวปะ- หล่องทั้งทางตรงและทางอ้อมชาวปะหล่องมีการรวมตัวกันเป็นองค์กร ชื่อองค์กรปลดปล่อยรัฐปะหล่อง (Palaung state liberation Organization : PSLO) มีกองกำลังติดอาวุธประมาณ ๕๐๐ คน องค์กรดังกล่าวเป็นพันธมิตรอยู่ในแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรหลักที่รวมอาองค์กรต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยทั้งหมดไว้ในแต่ละครั้งที่เกิดการสู้รบ หรือปะทะกันระหว่างองค์กรปลดปล่อยรัฐปะหล่องกับทหารรัฐบาลชาวบ้านประสบความเดือดร้อนมาก ต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนั้นพื้นที่ๆชาวปะหล่องอาศัยอยู่ยังเป็นพื้นที่เคลื่อนไหว ปฏิบัติงานมวลชนพรรคคอมมิวนิสต์พม่าทหารฝ่ายรัฐบาลจะเข้ามาปฏิบัติการโจมตีเพื่อสะกัดกั้นความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติการเหล่านี้มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปะหล่องดอยลายเป็นอย่างมาก
บรรทัด 41:
 
ชายชาวปะหล่องสวมเสื้อกั๊กสีขาวหรือกรมท่า กางเกงขายาว ขาบาน ๆ นอกจากนี้ยังโพกศีรษะด้วยผ้าขาวหรือดำ ในบางท้องถิ่น ชาวปะหล่องยังนิยมสักบนร่างกายเป็นรูปเสือ นก หรือดอกไม้
 
==ภาษา==
 
ชาวประหล่องหรือดาราอั้ง มีภาษาพูดเป็นของตนเอง อยู่ใน[[ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก]] หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าตระกูลภาษามอญ-เขมร นักภาษาศาสตร์บางคนจัดให้อยู่ในกลุ่มภาษาประหล่อง-ว้า ซึ่งเป็นภาษาที่เกิดการวิวัฒธนาการและแยกแขนงออกมาอีกกลุ่มหนึ่ง แต่โดยทั่วไปชาวประหล่องหรือดาราอั้งสามารถพูดภาษาใหญ่ได้ นอกจากนั้นในภาษาปะหล่องยังปรากฎการยิบยืมคำมาจากภาษาต่างๆมากมาย ทั้งจากภาษาพม่า, ภาษากะฉิ่น, ภาษาไทใหญ่ และภาษาลีซอ ในการติดต่อกับคนต่างเผ่าประหล่องจะใช้ภาษาไทใหญ่หรือภาษาในรัฐฉานเป็นหลัก ชาวปะหล่อง[[ในประเทศไทย]]ส่วนใหญ่นั้นปัจจุบันเด็กๆ และผู้ชายวัยกลางคนมักพูดภาษาไทยถิ่นเหนือ(คำเมือง) ได้บ้างบางส่วน การสื่อภาษากับผู้หญิงต้องอาศัยล่ามเพราะผู้หญิงฟังภาษาไทยเข้าใจแต่ไม่กล้าโต้ตอบด้วยภาษาไทย
 
== ศาสนา ==
ชาวปะหล่องส่วนใหญ่ยึดมั่นใน[[พุทธศาสนา]] และมีการสร้างวัดในเมืองส่วนใหญ่ของพวกเขา นอกจากทำบุญตามประเพณีของชาวพุทธแล้ว ชาวปะหล่องยังนิยมส่งลูกหลานที่มีอายุประมาณ 10 ขวบไปบวชสามเณร และสึกออกมาเพื่อถึงวัยผู้ใหญ่
 
== ความเชื่อ ==
ชาวปะหล่องยังคงมีความเชื่อเรื่องวิญญาณ ควบคู่ไปกับการนับถือ[[ศาสนาพุทธ]] โดยเชื่อว่าวิญญาณโดยทั่วไปจะมี ๒ ระดับ ระดับหนึ่งเรียกว่า "กาบ" เป็นวิญญาณของสิ่งมีชีวิต อีกระดับหนึ่งคือ "กานำ" เป็นวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ในสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ ภูเขา แม่น้ำ และเชื่อว่าบุคคลแต่ละคนจะมีวิญญาณที่สิงสถิตย์อยู่ โดยทั่วไป เช่นบ้านหมู่บ้านทางเดิน ไร่ ข้าว ฯลฯ ชาวบ้านจะมีพิธีเซ่นสรวงบูชาผี หรือวิญญาณควบคู่ไปกับด้านประกรรมพิะกรรมทางสาศนาพุทธอยู่เสมอเป็นพิธีแต่งงาน พิธีศพหรือการขึ้นบ้านใหม่โดยมีหัวหน้าพิธีกรรม"ด่าย่าน"เป็นผู้ประกอบพิธีในหมู่บ้านปะหล่องจะมีสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญที่สุดของหมู่บ้านคือ "ศาลผีเจ้าที่" หรือ"คะมูเมิ้ง"ซึ่งเป็นที่สิงสถิตย์ของผีหรือวิญญาณที่คุ้มครองหมู่บ้านบริเวณศาลจะอยู่เหนือหมู่บ้านศาลจึงได้รับการก่อสร้างอย่างปราณีตมีรั้วล้อมรอบสะอาดเรียบร้อยเนื่องจากชาวบ้านจะช่วยดูแลซ่อมแซมตลอดเวลา
 
[[พิธีกรรม]]
นอกจากการทำบุญและประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนาพุทธแล้วมีพิธีสำคัญที่สุดที่ชาวบ้านต้องกระทำทุกปีคือ การบูชาเจ้าที่ การบูชาผีเจ้าที่จะกระทำปีละ ๒ ครั้ง คือช่วงเข้าพรรษา ๑ ครั้ง และช่วงก่อนออกพรรษา ๑ ครั้ง พิธีบูชาผีเจ้าที่ก่อนเข้าพรรษาเรียกว่า "เฮี้ยงกะน่ำ" มีจุดมุ่งหมายเพื่อบอกกล่าวแก่ผีเจ้าที่ หรือเป็นการย้ำแก่เจ้าที่ว่าในช่วงเข้าพรรษา ชาวบ้านจะไม่มีการเอาผัวเอาเมีย หรือ พิธีแต่งงานเกิดขึ้น จากนั้นจึงทำพิธี "กะปี๊ สะเมิง" หรือ ปิดประตูศาลเจ้าที่ เมื่อใกล้ออกพรรษา ชาวบ้านก็จะทำพิธี "แฮวะ ออกวา" คือบูชาผีเจ้าที่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทำการเปิดประตูศาลผีเจ้าที่ หรือ "วะ สะเมิง" เพื่อเป็นการบอกกล่าวช่วงฤดูที่ชาวบ้านจะมีการแต่งงานกันมาถึงแล้วและในพิธีแต่งงานนี้จะมีการเชื้อเชิญผีเจ้าที่ออกไปรับเครื่องเซ่นบูชาด้วย ชาวบ้านทุกหลังคาเรือนจะต้องมาในพิธีนี้ โดยนำไก่ต้มสับเป็นชิ้นๆ นำไปรวมกันที่ศาลเจ้าที่ผีเจ้าที่จากนั้น "ด่าย่าน" หรือผู้นำในการทำพิธีกรรม ก็จะเป็นผู้บอกกล่าวแก่ผีเจ้าที่ต่อไป
 
{{เผ่าในไทย}}