ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปะหล่อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 17:
ในประเทศไทย มีการขอร้องให้เรียกชาวปะหล่องว่า '''ดาราอั้ง''' ซึ่งเป็นชื่อที่ถูกต้องและสุภาพกว่า ส่วนคำว่าปะหล่องนั้น คนไทยเรียกตามชาวไทใหญ่ เนื่องจากชาวดาราอั้งอพยพหนีสงครามมาจากประเทศเมียนมาร์ ทางรัฐฉานอีกทีหนึ่ง ซึ่งชาวไทใหญ่ในรัฐฉานเรียกชนกลุ่มนี้ว่าปะหล่อง นอกเหนือจากนี้ยังมีชาวไทใหญ่ใน[[ประเทศเมียนมาร์]]บางกลุ่มก็ใช้คำว่า "คุณลอย" ซึ่งมีความหมายว่า คนดอย หรือคนภูเขา แทนคำว่าปะหล่อง
 
<big>'''ดาราอั้ง</big>''' แปลว่า เผ่าที่ชอบอาศัยอยู่บนภูเขา ปัจจุบันดาราอั้งทั่วโลกมีอยู่ 3 กลุ่ม คือ
 
* ดาราอั้ง “ว่อง” หรือที่รู้จักกันทั่วไปดาราอั้งดำ ซึ่งกลุ่มนี้แต่งกายคล้ายๆ กับลาหู่แชแล
บรรทัด 24:
 
สำหรับชนเผ่าดาราอั้งทั้ง 3 กลุ่มนี้ กระจ่ายกันอยู่ในประเทศพม่า(ที่น้ำสังข์ เมืองเชียงตุงและเมืองกึ่ง) ประเทศจีน และประเทศไทย ในส่วน[[ประเทศไทย]]นั้นล้วนแต่เป็นดาราอั้งเหร่งหรือดาราอั้งแดง จุดสังเกตที่เป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นดาราอั้งกลุ่มใดนั้น สามารถดูได้จากการแต่งกายของผู้หญิงตรงผ้าซิ่น
 
เอกสารทางประวัติศาสตร์หลายฉบับกล่าวถึงชาวปะหล่องว่าเป็นพลเมืองกลุ่มหนึ่งภายใต้การปกครองของนครรัฐแสนหวี หนึ่งใน ๙ นครรัฐของอาณาจักรไตมาว ซึ่งเป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ของชนชาติไตครั้งพุทธศักราช ๑๒๐๐ โดยมีศูนย์กลางของอาณาจักรในขณะนั้นอยู่บริเวณเมืองแสนหวี ในรัฐฉาน ประเทศพม่า รายงานฉบับนี้ กล่าวว่าประหล่องมีฐานเดิมอยู่ในโกสัมพีซึ่งก็เป็นข้อมูลที่ตรงกันเพราะ คำว่า โกสัมพีเป็นการเรียกนครรัฐแสนหวี และ กับความหมาย ครอบคลุมรัฐฉานทั้งหมดจำนวนประชากรประหล่อง โดยการสำรวจของ องค์การพิทักษ์สิทธิมนุษยชน ณ ประมาณว่ามี ๑ ล้านคน ถิ่นที่อยู่กันหนาแน่น คือบริเวณเทือกเขาในรัฐฉาน แถบเมืองตองแปง น้ำซัน , สีป้อ , เมืองมิต และทางตอนใต้ในรัฐฉานคือ เมืองเชียงตุง นอกจากนั้นยังพบว่า ปะหล่องกระจัดกระจายกันอยู่ทางตอนใต้ของรัฐคะฉิ่น และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของยูนานในประเทศจีน
 
===ชาวดาราอั้งในประเทศไทย===
 
ราวปี พ.ศ.๒๕๑๑ ที่ชาวปะหล่องได้เริ่มอพยพเข้าในบางกลุ่มมาจนถึงปี พ.ศ.๒๕๒๗ ได้ปรากฏชาวปะหล่องจำนวน ๒,๐๐๐ คน อพยพมารวมกันที่ชายแดนไทย- พม่า บริเวณดอยอ่างขาง [[อำเภอฝาง]] [[จังหวัดเชียงใหม่]] ได้ฟื้นฟูบ้านนอแล ซึ่งเป็นหมู่บ้านใกล้กับพื้นที่รับผิดชอบของโครงการหลวงดอยอ่างขางสถานการณ์ครั้งนั้นนำความลำบากใจมาสู่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างยิ่งเนื่องจากกลุ่มอพยพครั้งนี้เป็นชาวปะหล่องจากดอยลาย อยู่ระหว่างเมืองเชียงตอง กับเมืองปั่น เขตเชียงตุง ฉะนั้นบุคคลเหล่านี้จึงถือ เป็นบุคคลอพยพเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สาเหตุของการอพยพสืบต่อเนื่องมาจากสถานการณ์ในประเทศพม่าเมื่อประเทศอังกฤษคืนอิสรภาพมีผลทำให้เกิดความระส่ำระสายไปทั่วเกิดการขัดแย้งและสู้รบกันตลอดเวลา ระหว่างกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติกับทหารรัฐบาลพม่าที่ดำเนินการอยู่ในพื้นที่ต่างๆ สงครามส่งผลต่อชาวปะ- หล่องทั้งทางตรงและทางอ้อมชาวปะหล่องมีการรวมตัวกันเป็นองค์กร ชื่อองค์กรปลดปล่อยรัฐปะหล่อง (Palaung state liberation Organization : PSLO) มีกองกำลังติดอาวุธประมาณ ๕๐๐ คน องค์กรดังกล่าวเป็นพันธมิตรอยู่ในแนวร่วมประชาธิปไตยแห่งชาติซึ่งเป็นองค์กรหลักที่รวมอาองค์กรต่อสู้เพื่อสิทธิในการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยทั้งหมดไว้ในแต่ละครั้งที่เกิดการสู้รบ หรือปะทะกันระหว่างองค์กรปลดปล่อยรัฐปะหล่องกับทหารรัฐบาลชาวบ้านประสบความเดือดร้อนมาก ต้องสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนั้นพื้นที่ๆชาวปะหล่องอาศัยอยู่ยังเป็นพื้นที่เคลื่อนไหว ปฏิบัติงานมวลชนพรรคคอมมิวนิสต์พม่าทหารฝ่ายรัฐบาลจะเข้ามาปฏิบัติการโจมตีเพื่อสะกัดกั้นความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติการเหล่านี้มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวปะหล่องดอยลายเป็นอย่างมาก
 
นายคำ เหียง(จองตาล) ผู้นำการอพยพเล่าว่า เมื่อทหารของขบวนการกู้ชาติไทใหญ่มาตั้งกองทัพใกล้หมู่บ้านและทหารคอมมิวนิสต์ ก็มาบังคับให้ส่งเสบียงอาหารเป็นเหตุให้ฝ่ายรัฐบาลพม่าส่งกำลังเข้าปราบปรามชาวบ้านถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมากโดยถูกกล่าวหาว่าให้การสนับสนุนทหารกู้ชาติและคอมมิวนิสต์ นอกจากนั้นยังเอาสัตว์เลี้ยงไปฆ่ากินยึดของมีค่า เผายุ้งข้าว ข่มขืนผู้หญิง และบังคับผู้ชายให้ไปเป็นลูกหาบขนอาวุธ เสบียงอาหาร บางคนถูกสอบสวน ทุบตีอย่างทารุณ เพื่อบังคับบอกฐานที่ตั้งของทหารกู้ชาติไทใหญ่และทหารคอมมิวนิสต์ เมื่อชาวบ้านต้องเผชิญกับความลำบากนานัปการจึงพากันอพยพหลบหนี จนในที่สุดมาอยู่รวมกันที่ชายแดนไทย-พม่า บริเวณดอยอ่างขาง
 
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรชาวเขาเผ่ามูเซอที่บ้านขอบด้ง ในพื้นที่โครงการหลวงดอยอ่างขาง ปะหล่องคนหนึ่งจึงได้นำความกราบบังคมทูลขออนุญาตอาศัยอยู่ในประเทศไทยซึ่งเป็นผลให้โปรดเกล้าฯจัดที่อยู่ในฐานะผู้อพยพที่บ้านนอแลจนถึงปัจจุบัน ช่วงที่หมู่บ้านและประหล่องประสบปัญหาความเดือดร้อนอันเนื่องมาจากพื้นที่นั้นอยู่ใกล้เขตอิทธิพลขุนส่าทำให้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบระหว่างกองทัพไทยใหญ่ของขุนส่ากับกองกำลังว้าแดงอันเนื่องมาจากผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นอยู่เนื่องๆ ประกอบกับการขาดแคลนพื้นที่ทำมาหากินและภาวะอากาศที่หนาวเย็น ทำให้ชาวประหล่อง บางกลุ่มพากันอพยพโยกย้ายหาที่อยู่ใหม่ และกระจายกันไปตั้งบ้านเรือนอยู่หลายพื้นที่ จากการสอบถามชาวประหล่องที่อพยพแยกย้ายกันไปตั้งบ้านเรือนอยู่ตามที่ต่างๆ แต่ ยังทีการเดินทางไปมาหาสู่กันอยู่พอประมาณได้ว่า ปัจจุบันหมู่บ้านชาวประหล่องอยู่ในพื้นที่[[อำเภอฝาง]], [[อำเภอเชียงดาว]], [[อำเภอแม่อาย]] จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑๐ หมู่บ้าน
 
== วัฒนธรรม ==