ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะอัศวินทิวทอนิก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 40:
 
=== การจัดตั้ง ===
[[ไฟล์:Hermann von Salza Painting.jpg|thumb|left|200px|เฮอร์มานน์ วอน ซัลซา แกรนด์มาสเตอร์คนที่ 4 ของอัศวินทิวโทนิก (ค.ศ. 1209 ถึง ค.ศ. 1239)]]
 
ปี ค.ศ. 1143 พระสันตปาปาเซเลสทีนที่ 2 ทรงมีบัญชาให้คณะ[[อัศวินฮอสปิทัลเลอร์]] เข้าคุมการบริหารจัดการของสถานพยาบาลเยอรมันในนคร[[เยรูซาเลม]] ซึ่งจัดที่พำนักให้แก่ผู้แสวงบุญและทหารครูเสดของเยอรมันในดินแดนศักดิ์สิทธิ์ หลังจากที่กรุงเยรูซาเลมเสียให้แก่[[เศาะลาฮุดดีน]]ใน ค.ศ. 1187 ไม่นาน ฝ่ายคริสเตียนก็เริ่ม[[สงครามครูเสดครั้งที่ 3]] ขึ้นในปี 1189 เพื่อตีเมืองเยรูซาเลมคืน ทำให้คณะผู้แสวงบุญชาวเยอรมันจากเมือง[[เบรเมิน]]และ[[ลือเบค]] คิดจัดตั้งศูนย์รักษาพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บในสนามรบในระหว่างยุทธการปิดล้อมเมือง[[เอเคอร์, อิสราเอล|เอเคอร์]] ซึ่งกลายเป็นฐานที่ตั้งแห่งแรก ก่อนจะได้รับการรับรองจากพระสันตปาปาเซเลสทีนที่ 3 ใน ค.ศ. 1192 ต่อมาคณะทิวโทนิกได้กลายสถานะไปเป็นคณะอัศวิน ตามอย่างพวก[[อัศวินเทมพลาร์|เทมพลาร์]] โดยผู้นำคณะมีตำแหน่งเป็น ''แกรนด์มาสเตอร์''
 
ในสมัยของแกรนด์มาสเตอร์คนแรก เฮอร์มานน์ วอน ซัลซา (Hermann von Salza) คณะอัศวินทิวโทนิกซื้อปราสาทมองต์ฟอร์ (Montfort) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมือง[[เอเคอร์ (อิสราเอล)|เอเคอร์]] ซึ่งเป็นยุทธภูมิสำคัญที่ป้องกันเส้นทางออกสู่[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]] ปราสาทนี้เป็นสถานบัญชาการของอัศวินทิวโทนิกอยู่จนฝ่ายมุสลิมมายึดเอาไปได้ใน ค.ศ. 1271 ต่อมาภายหลังได้รับบริจาคที่ดินจาก[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] และชาติอื่น ๆ และจักรพรรดิของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิเฟรดเดอริกที่ 2 ยังเป็นสหายสนิทของ Hermann von Salza ผู้นำของอัศวินทิวทันอีกด้วย
 
=== บทบาทในทรานซิลเวเนีย ราชอาณาจักรฮังการี ===