ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เน่ย์เก๋อ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''สภาใน''' ({{zh|t=內閣|p=Nèigé}}; {{lang-en|Grand Secretariat}}) เป็นองค์กรในระบบราชการของจัก...
 
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''สภาใน''' ({{zh|t=內閣|p=Nèigé}}; {{lang-en|Grand Secretariat}}) เป็นองค์กรในระบบราชการของ[[จักรวรรดิจีน]]ช่วง[[ราชวงศ์หมิง]] ซึ่งโดยนิตินัยแล้วเป็นหน่วยประสานงาน แต่โดยพฤตินัยเป็นสถาบันสูงสุดในการปกครอง องค์กรนี้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นเมื่อ[[จักรพรรดิหงอู่]] (洪武帝) ทรงยกเลิกตำแหน่ง[[อัครมหาเสนาบดี (ประเทศจีน)|อัครมหาเสนาบดี]] (丞相) ใน ค.ศ. 1380 แล้วองค์กรนี้ก็ค่อย ๆ พัฒนาเป็นหน่วยประสานงานที่มีประสิทธิภาพ มีสถานะเหนือ[[สามกรมหกกระทรวง|กระทรวงทั้งหก]] (六部)<ref>Hucker, 23.</ref> สมาชิกสภาในเรียกว่า '''ปราชญ์มหาสำนักสภาใน''' (內閣大學士; Grand Secretary) ซึ่งกำหนดให้มีหกตำแหน่ง แต่ไม่เคยมีผู้ดำรงตำแหน่งครบ<ref name="H29">Hucker, 29.</ref> สมาชิกอาวุโสสุดเรียกกันทั่วไปว่า '''นายกผู้ช่วย''' (首輔; Senior Grand Secretary) โดยนิตินัยแล้วสมาชิกทั้งหมดมักเป็นข้าราชการชั้นกลาง ตำแหน่งต่ำกว่าเสนาบดีหรือเจ้ากระทรวง แต่เพราะมีหน้าที่กลั่นกรองเอกสารที่หน่วยงานราชการถวายต่อพระมหากษัตริย์ ทั้งมีอำนาจร่างราชหัตถเลขาถวาย สมาชิกบางคนของสภาจึงอาจครอบงำการปกครองไว้ได้ทั้งสิ้น ประหนึ่งเป็นอัครมหาเสนาบดีโดยพฤตินัย<ref>Qian, 675.</ref> เป็นเหตุให้ศัพท์ภาษาจีนว่า "เนี่ยเก๋อ" ที่แปลว่า "สภาใน" นี้ ปัจจุบันใช้เรียก[[คณะรัฐมนตรี]]<ref>{{cite web|url=https://en.wiktionary.org/wiki/%E5%85%A7%E9%96%A3|website=內閣 - Wiktionary}}</ref>
 
==พัฒนาการ==
 
ต้นราชวงศ์หมิง การปกครองนั้นใช้ตามระบอบของ[[ราชวงศ์หยวน|ราชวงศ์ยฺเหวียน]] (大元) ที่ตั้งสำนักอัครมหาเสนาบดีไว้ประสานระหว่างกระทรวงหลักทั้งหก สำนักดังกล่าวมีหัวหน้าสองคน เรียกว่า "อัครมหาเสนาบดีทั้งสอง" คนหนึ่งเรียก "ฝ่ายซ้าย" อีกคนหนึ่งเรียก "ฝ่ายขวา" ทำหน้าที่ผู้นำหน่วยงานราชการทั่วแผ่นดิน<ref>Hucker, 27.</ref> แต่จักรพรรดิหงอู่ทรงเกรงว่า การที่อำนาจการปกครองกระจุกอยู่ ณ อัครมหาเสนาบดีทั้งสอง จะเป็นภัยร้ายแรงต่อราชบัลลังก์ ฉะนั้น ใน ค.ศ. 1380 จึงรับสั่งให้ประหารอัครมหาเสนาบดี[[หู เหวย์ยง]] (胡惟庸) ด้วยข้อหากบฏ แล้วทรงยุบสำนักอัครมหาเสนาบดีกับตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี โดยให้เจ้ากระทรวงทั้งหกขึ้นตรงต่อพระองค์<ref>Qian, 669-670.</ref>
 
==อ้างอิง==