ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาพิชัยดาบหัก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 43:
อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเมือง สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเกียรติในเรื่องความองอาจ กล้าหาญ รักชาติ และเสียสละของท่าน โดยอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จัดสร้างขึ้นโดยชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เรียกร้องปรารถนาให้มีขึ้นนานแล้วแต่ไม่สำเร็จ ต่อมาถึงสมัยนายเวทย์ นิจถาวร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มีพ่อค้า ประชาชน ร่วมกันบริจาคทรัพย์เป็นทุนก่อสร้าง โดยไม่มีงบประมาณแผ่นดินของทางหน่วยงานราชการมาเกี่ยวข้องเลย เป็นการเกิดจากกำลังศรัทธาของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีพิธีอัญเชิญโกศดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก (แทนอัฐิ) ตามโบราณประเพณี เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2510 มีพิธีวางแผ่นศิลาฤกษ์แท่นฐานอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2511 โดยมี นายถวิล สุนทรศารทูล ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธี สำหรับองค์พระยาพิชัยดาบหักนั้น ปั้นโดยกรมศิลปากร โดยมีอาจารย์สนั่น ศิลากร เป็นประติมากร และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2512 ณ บริเวณหน้าศาลากลาง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีนายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี<ref>กระทรวงมหาดไทย. (2513). '''หนังสือที่ระลึกพิธีปลุกเศกเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก‬ ณ ปรำพิธีหน้าศาลากลาง จังหวัดอุตรดิตถ์ 31 มกราคม 2513'''. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.)</ref>
 
ในระหว่างวันที่ 7 - 13 มกราคม ของทุกปี จะจัดงานเพื่อระลึกถึงวีรกรรมของท่าน ถือเป็นงานประจำปี เรียกชื่องานว่า "งานพระยาพิชัยดาบหักและงานกาชาด" และในบริเวณอนุสาวรีย์ยังมี "พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก" มีน้ำหนัก 557.8 กิโลกรัม ฝักดาบทำด้วยไม้ประดู่ ฝังลวดลายมุกหุ้มปลอกเงินสลักสลาย และ "พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัย" ที่ภายในเก็บรวบรวมประวัติของพระยาพิชัยดาบหัก รวมทั้งแบบจำลองสนามรบ และวิถีชีวิตผู้คนเมืองอุตรดิตถ์ในสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมทั้งเครื่องมือเครื่องใช้ในสมัยโบราณ จะเห็นว่าพระยาพิชัยดาบหัก เป็นคนที่มีความกตัญญูรู้คุณน่าเอาเป็นตัวอย่างยิ่ง
 
=== นามสถานที่ ===