ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินโปเลียนที่ 1"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "ฌาโกแบง" → "ฌากอแบ็ง" +แทนที่ "โจอาคิม มูราท์" → "ฌออากีม มูว์รา" +แทนที่ "ไลพ์ซิก" → "ไลพ์ซ...
บรรทัด 51:
เมื่อการปฏิวัติฝรั่งเศสประทุขึ้นในปี ค.ศ. 1789 ร้อยโทโบนาปาร์ตได้อยู่ในเหตุการณ์ที่[[ปารีส|กรุงปารีส]] โดยเป็นฝ่ายสังเกตการณ์ เขาได้เฝ้าดูประชาชนบุกพระราชวังตุยเลอรีด้วยความขยะแขยง นโปเลียนเดินทางกลับมายังเกาะคอร์ซิกา<ref>McLynn 1998, p.55</ref> ที่ซึ่งการสู้รบระหว่างฝ่ายต่างๆ เริ่มขึ้นอีกครั้ง (โดยมีทางฝ่ายของปาสกาล เปาลี สนับสนุนระบอบกษัตริย์ และทางตระกูลโบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ) นโปเลียนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าของกองกำลังป้องกันตนเองแห่งชาติ ในปี ค.ศ. 1792 โดยการแย่งเอากองกำลังจากคณะกรรมาธิการของรัฐมาส่วนหนึ่ง แต่การประหารกษัตริย์ได้ทำให้เกิดการต่อต้านของฝ่ายอิสระ สงครามกลางเมืองได้ประทุขึ้น และตระกูลของนโปเลียนต้องหลบหนีออกจากเกาะคอร์ซิกา มายังประเทศฝรั่งเศส
 
โบนาปาร์ตสนับสนุนการปฏิวัติ และได้ถูกส่งตัวไปรับตำแหน่งนายร้อยในกองพลปืนใหญ่ ที่ศูนย์บัญชาการเมืองตูลอง (Toulon) ในปี ค.ศ. 1793 ซึ่งต่อมาได้ถูกมอบให้[[สหราชอาณาจักร|อังกฤษ]]ปกครอง แผนการที่นโปเลียนมอบให้ฌาคส์ ฟร็องซัวส์ ดูก็องมิเย ทำให้สามารถยึดเมืองตูลองคืนมาจากกองทัพกลุ่มสนับสนุนระบอบกษัตริย์และพวกอังกฤษได้ มิตรภาพระหว่างเขาพวกฌาโกแบง[[ฌากอแบ็ง]]ทำให้เขาถูกจับในช่วงสั้นๆภายหลังการสิ้นอำนาจของ[[มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์|รอแบ็สปีแยร์]] ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1794
 
หลังจากได้รับอิสรภาพ เขาก็ต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ปราศจากผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นทางการ และต่อมาปอล บาร์ราส์ ได้อนุญาตให้เขาบดขยี้กลุ่มผู้สนับสนุนราชวงศ์ที่ลุกฮือที่เมืองว็องเดแมร์ เพื่อต่อต้าน[[สมัชชาแห่งชาติ]] ในปี ค.ศ. 1795 ในโอกาสนี้เอง โบนาปาร์ตได้มีนายทหารหนุ่มชื่อ[[โจอาคิมฌออากีม มูราท์มูว์รา]] เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติการประสบผลสำเร็จด้วยการยิงปืนใหญ่เข้าสลายกลุ่มสนับสนุนราชวงศ์ที่เมืองซังต์โรช์
 
โบนาปาร์ตมีจิตใจผ่องใส สามารถซึมซับความรู้ทางการทหาร รวมถึงยุทธวิธีในสมัยของเขา มาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์จริง เมื่อดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ในกองพลปืนใหญ่ เขาได้คิดค้นการใช้ปืนใหญ่แห่งกริโบวาลเป็นกองทัพเคลื่อนที่ ใช้หนุนกองทหารเดินเท้าอีกทีหนึ่ง
บรรทัด 60:
เพื่อเป็นรางวัล ที่สามารถการนำกองพลปืนใหญ่ปราบกบฏฝ่ายฝักใฝ่กษัตริย์ได้ นโปเลียนได้รับการแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพแห่งกองกำลังอิตาลี เพื่อยึดอิตาลีกลับคืนมาจาก[[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] (ออสเตรีย-เยอรมัน) กองกำลังของเขาขาดแคลน ทั้งยุทโธปกรณ์และเสบียงคลัง ซึ่งแม้เขาจะอดมื้อกินมื้อ และแต่งตัวซอมซ่อ แต่ก็ได้ฝึกฝนนายทหารในบังคับบัญชาด้วยความขะมักเขม้น และสามารถนำทัพเข้าปะทะกับกองกำลังของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีจำนวนมากกว่า และมียุทโธปกรณ์พร้อมกว่าได้ ในการรบหลายต่อหลายครั้ง ในสมรภูมิที่เมือง [[มองเตอโนต]] [[โลดี]] หรือ [[อาร์โกล]] มีนโปเลียนเป็นผู้นำทัพด้วยตนเอง การรบท่ามกลางห่ากระสุนทำให้ [[มุยร็อง]] เพื่อนและผู้ช่วยของเขาเสียชีวิต นโปเลียนเป็นนายทหารฝีมือฉกาจ ผู้ซึ่ง ''อยู่ทุกหนทุกแห่งและมองเห็นทุกอย่าง ว่องไวดุจสายฟ้าแลบและโจมตีดุจสายฟ้าฟาด'' เขาเป็นที่เคารพนับถือของผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยความสามารถในการบัญชาการ ความกล้าหาญและความเลือดเย็น ในบรรดานายทหารหลายนายที่แวดล้อมเขา นโปเลียนได้มองเห็นความสามารถของนายทหารนิรนามคนหนึ่ง ชื่อ[[ฌ็อง ลาน|ลาน]]
 
ตลอดการสู้รบในช่วงเวลานั้น ภาพวาดกองบัญชาการของนโปเลียนในสมัยนั้น ได้แสดงให้เห็นว่า นโปเลียนได้ใช้ระบบสื่อสารทางไกล ระบบแรกของโลกที่เรียกว่า[[โทรเลข]]ที่คิดค้นโดย[[โกลด ชาปป์]] (เช่นเดียวกับกองบัญชาการรบอื่น&nbsp;ๆ ในสมัยนั้น) นโปเลียนได้ทำให้จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งบัญชาการโดย[[อาร์ชดยุกดยุกคาร์ล ดยุกแห่งเทเชิน]]ชาร์ลส จำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาที่เสียเปรียบ ที่มีชื่อว่า[[สนธิสัญญากัมโป-ฟอร์มิโอ]] ว่าด้วยเรื่องการให้ฝรั่งเศสเข้าครอง[[ประเทศเบลเยียม|เบลเยียม]] และยืดพรมแดนไปติด[[แม่น้ำไรน์]] ส่วนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้ถือครอง[[แคว้นเวเนโต]]
 
เหตุการณ์ที่[[ราชอาณาจักรอิตาลี]]นี้เอง ที่ทำให้นโปเลียนได้ตระหนักถึงพลังอำนาจของตน รวมทั้งสถานการณ์ที่เขาเป็นต่อ เขาเป็นจ้าวแห่งสนามรบเช่นเดียวกับในทุก&nbsp;ๆ ที่ นคร[[มิลาน]]เกิดสภาพคล้าย&nbsp;ๆ กับพระราชวังเล็ก&nbsp;ๆ รายล้อมนายพลนโปเลียน ถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้กุมชะตาชีวิตของบรรดาเศรษฐีชาวอิตาลีเอาไว้ และได้เปรียบคู่ต่อสู้อยู่มาก แต่เขาก็ยังห่างไกล กับคณะกรรมาธิการรัฐ ที่มีอำนาจบริหารจัดการประเทศ ในปี ค.ศ. 1797 ด้วยแผนการของนายพล[[โอเฌโร]] นโปเลียนได้จัดการทางการเมืองบางอย่างที่ทำให้เหล่าเชื้อพระวงศ์ที่ยังคงมีอำนาจในกรุงปารีสแตกฉานซ่านเซ็น และสามารถรักษาสาธารณรัฐของพวก[[ฌาโกแบงฌากอแบ็ง]]เอาไว้ได้
 
== ปฏิบัติการในอียิปต์ ==
บรรทัด 78:
เมื่อนายพลนโปเลียนเดินทางกลับมาถึงกรุงปารีส เขาได้เข้าพบปะสนทนากับ[[ชาร์ล มอริส เดอ ตาแลร็อง-เปรีกอร์]] รัฐมนตรีการต่างประเทศ นักการเมืองผู้มีประสบการณ์ และผู้รู้เกมการเมืองเป็นอย่างดี เขาได้ช่วยเตรียมการก่อรัฐประหาร โค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์ ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารที่กำลังอ่อนแอและประชาชนเกลียดชัง โดยการโน้มน้าวผู้แทนราษฎรเลือกรัฐบาลใหม่ บีบให้หัวหน้าคณะรัฐบาลเดิมลาออก แล้วเลือกหัวหน้ารัฐบาลใหม่เข้ามาแทน ประกอบด้วยบุคคลสามคนที่ปราศจากมลทิน อันได้แก่ [[แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส]], [[รอเฌ ดูว์โก]] (สมาชิกคณะดีแร็กตัวร์สองในจำนวนทั้งหมดห้าคน) และนโปเลียน ผู้ซึ่งได้รับความไว้วางใจ ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ นับตั้งแต่เขายอมไปออกรบที่[[อียิปต์]] และกลับมาในฐานะวีรบุรุษ วัตถุประสงค์ของการก่อรัฐประหารครั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้า (ที่ต้องการรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งตรงข้ามกับพวกจาโคบังที่ยึดติดกับระบอบกษัตริย์) ว่าจะยังรักษาความมั่งคั่งไว้ได้ต่อไป และนโปเลียนที่เชื่อในระบอบสาธารณรัฐยอมก็เสี่ยงกับแผนการดังกล่าว เพราะมีกระแสจะนำ[[พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งฝรั่งเศส|พระเจ้าหลุยส์ที่ 18]] มาขึ้นครองราชย์และฟื้นฟูระบอบกษัตริย์ ซึ่งหมายความว่าการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ผ่านมานั้นไร้ผล
 
หลังจากที่ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าสามารถโน้มน้าวให้สภาสูงเห็นชอบกับการล้มล้างคณะดีแร็กตัวร์ได้แล้ว แผนการของการก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ [[9 พฤศจิกายน|18 เดือนบรูว์แมร์]] ค.ศ. 1799 (ตาม[[ระบบปฏิทินของสาธารณรัฐฝรั่งเศส]]) ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ นโปเลียนจะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด เพื่อรักษาความสงบในกรุงปารีสและในรัฐสภา จากนั้นจึงจัดการโยกย้ายที่ทำการรัฐสภาไปยังพระราชวังแซ็ง-กลู บริเวณชานเมืองปารีส เพื่อไม่ให้เกิดการจลาจลในกรุงปารีสขณะก่อรัฐประหาร และสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ โดยอ้างเหตุผลว่าลัทธิ[[ฌาโกแบงฌากอแบ็ง]]กำลังเสี่ยงต่อภัยคุกคามถึงขั้นถูกล้มล้างได้ ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่ค.ศ. 1789 เป็นต้นมา รัฐสภาก็ถูกประชาชนชาวปารีสคุกคามมาโดยตลอด
 
[[ไฟล์:Bonapatre et le consulat.jpg|280px|thumb|นโปเลียนก่อรัฐประหาร]]
เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในวันที่ [[10 พฤศจิกายน|19 เดือนบรูว์แมร์]] ที่พระราชวังแซ็ง-กลู ฝ่ายปฏิรูปหัวก้าวหน้าได้เตรียมการเกลี้ยกล่อมให้คณะดีแร็กตัวร์ห้าคน ยกขบวนลาออกจากรัฐสภาแห่งชาติ รวมทั้งให้[[สภาห้าร้อย]]เลือกรัฐบาลใหม่ แต่แผนการดำเนินไปอย่างล่าช้าเนื่องจากแนวคิดนี้ไม่ได้รับฉันทามติจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะพวก[[ฌาโกแบงฌากอแบ็ง]]สองคนไม่ยอมลาออก นโปเลียนเฝ้ารอและตัดสินใจเข้าแทรกแซงในที่สุด
 
เขาได้นำกำลังทหารกลุ่มเล็กๆเข้าไปในห้องประชุม[[สภาห้าร้อย]]ที่กำลังถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อน และได้พยายามพูดโน้มน้าวให้สภาดังกล่าวยอมรับการโค่นล้มคณะดีแร็กตัวร์แต่ไม่มีผู้แทนคนใดยอมรับฟัง จากการกระทำอุกอาจของนโปเลียนดังกล่าวทำให้มีผู้เสนอญัตติให้ประกาศนโปเลียนเป็นบุคคลนอกกฎหมาย ซึ่งจะทำให้นโปเลียนหลุดจากตำแหน่งทั้งหมด แต่สถานการณ์กลับตาลปัตรเมื่อมีผู้พยายามลอบแทงนโปเลียนในห้องประชุมสภา ฝ่ายได้เปรียบกลายเป็นฝ่ายนโปเลียนและ[[ลูว์เซียง โบนาปาร์ต]] น้องชายของนโปเลียนผู้ซึ่งเป็นผู้กุมบังเหียนของสภาห้าร้อยเอาไว้ ลูว์เซียงต้องการช่วยนโปเลียนจากสถานการณ์คับขัน จึงจัดการให้มีผู้ลอบแทงนโปเลียนเพื่อหาความชอบธรรมให้กองทัพเข้าแทรกแซง ภาพของผู้แทนที่โผล่มาจากทางหน้าต่างเพื่อลอบแทงนโปเลียนแพร่กระจายไปทั่ว นโปเลียนเป็นผู้ได้เปรียบในสถานการณ์นี้อย่างมาก เขาอ้างว่าถูกสมาชิกรัฐสภาใส่ร้ายว่าจะก่อรัฐประหารและเกือบจะถูกลอบสังหาร ทำให้นายพล[[ฌออากีม มูว์รา]]มีข้ออ้างนำกองทัพเข้าล้อมรัฐสภาที่พระราชวังแซ็ง-กลู และก่อรัฐประหารได้สำเร็จในที่สุด
บรรทัด 89:
วันที่ [[11 พฤศจิกายน|20 เดือนบรูว์แมร์]] |กงสุลสามคนได้รับการแต่งตั้งให้บริหารประเทศ ได้แก่ นโปเลียน, [[แอมานุแอล โฌแซ็ฟ ซีเยแย็ส]] และ[[รอเฌ ดูว์โก]] นับเป็นจุดเริ่มต้นระบบการปกครองโดย[[คณะกงสุลฝรั่งเศส|คณะกงสุล]] นโปเลียนได้ประกาศว่า ''"สาธารณชนเอ๋ย...การปฏิวัติตามวิถีหลักการที่ได้เริ่มขึ้นมานั้น ได้สิ้นสุดลงแล้ว!"''' <ref>ต้นฉบับในภาษาฝรั่งเศส: "Citoyen,la Révolution est fixée aux principe qui l'avait commencée elle est finie!"</ref> ระบอบกงสุลได้ถูกจัดตั้งขึ้น เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจเบ็ดเสร็จอยู่ในมือกงสุลสามคน ซึ่งอันที่จริงแล้ว มีเพียงกงสุลเอกเท่านั้นที่กุมอำนาจไว้อย่างแท้จริง ฝรั่งเศสเตรียมเข้าสู่ยุคใหม่ที่ประชาชนในชาติจะต้องฝากชะตาไว้ในมือของจักรพรรดิ
 
== จากกงสุลเอกกลายเป็นจักรพรรดิ ==
[[ไฟล์:Jacques-Louis_David_007.jpg|thumb|250px|right|ภาพ ''นโปเลียนข้ามเทือกเขาแอลป์'' <br> วาดโดย [[ฌัก-หลุยส์ ดาวีด]]]]
นโปเลียนได้เริ่มการปฏิรูปนับตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการปกครองใน[[คณะกงสุลฝรั่งเศส|ระบอบกงสุล]] ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการศึกษา กระบวนการยุติธรรม การคลัง และระบบราชการ ประมวลกฎหมายแพ่งที่[[ฌ็อง-ฌัก-เรฌิส เดอ ก็องบาเซแร็ส]]เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นนั้น เป็นที่รู้จักในนามของ[[กฎหมายนโปเลียน]] แห่งปี ค.ศ. 1804 และยังมีผลบังคับใช้ในประเทศต่าง&nbsp;ๆ ทั่วโลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี กฎหมายแพ่งดังกล่าวนั้นมีรากฐานมาจาก กฎหมายในหมวดต่าง&nbsp;ๆ รวมถึงขนบธรรมเนียมหลากหลายจากระบอบปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งนโปเลียนได้รวบรวมขึ้นใหม่
บรรทัด 99:
เขาได้ส่งทหาร 70,000 นายไปยังเมือง[[แซงต์-โดมังก์]] (ชื่อของ[[ประเทศเฮติ|เฮติ]]ที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสในสมัยนั้น) ภายใต้การบังคับบัญชาของนาลพล [[ชาลล์ เลอแคลฺ]] เพื่อฟื้นฟูอำนาจของฝรั่งเศส หลังจากประสบความสำเร็จมาพอสมควร โดยเฉพาะจากการจับ[[ตูแซงต์ ลูแวร์ตูร์]] (ผู้ซึ่งเสียชีวิตที่[[ฟอร์ เดอ จัวย์]] ที่อำเภอ[[ดูบส์]] วันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1803) กองทัพของเขาก็ถูกทำลายโดยการระบาดของ[[ไข้เหลือง]] เมื่อเห็นดังนี้ นโปเลียนจึงยอมขาย[[รัฐลุยเซียนา]] ให้กับ[[สหรัฐอเมริกา]] ดินแดนขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของ[[ทวีปอเมริกาเหนือ]]
 
เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1800 ([[วันคริสต์มาสอีฟ]]) ได้มีการลอบวางระเบิดนโปเลียนที่ถนนซังต์-นิเคส ในกรุงปารีส ขณะที่ขบวนรถม้าของเขากำลังมุ่งหน้าไปโรง[[โอเปร่า]] รถม้าของกงสุลเอกได้ควบผ่านพ้นจุดเกิดเหตุไปอย่างรวดเร็ว ระเบิดเกิดปะทุขึ้นช้ากว่าที่คาดทำให้กระจกรถม้าแตกกระจายเท่านั้น แต่สถานที่เกิดเหตุที่กลายเป็นซากปรักหักพังเต็มไปด้วยความโกลาหล มีผู้เสียชีวิตกว่าสิบคน [[โฌแซฟ ฟูเช]] ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมหาดไทยในสมัยนั้น ได้พิสูจน์ว่าอาชญากรรมดังกล่าวเป็นฝีมือกลุ่มฝักใฝ่กษัตริย์ ในขณะที่นโปเลียนเชื่อว่าเป็นฝีมือของพวก[[ฌาโกแบงฌากอแบ็ง]] การประหาร[[ลุยส์ อังตวน อ็องรี เดอ บูร์บง|ดยุกแห่งอิงไฮน์]]เป็นหนึ่งในผลพวงตามมา
 
ในปี ค.ศ. 1802 นโปเลียนได้รื้อฟื้น[[ระบบทาส]]ในอาณานิคมขึ้นอีกตามคำขอของภริยา อันได้แก่นาง[[โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน]] (ชาว[[เบเก]] จากหมู่เกาะ [[มาร์ตีนีก]]) การฟื้นฟูดังกล่าวทำให้ระบบเศรษฐกิจที่ล้มเหลวของอาณานิคมโพ้นทะเลทางตะวันออกของ[[มหาสมุทรอินเดีย]]กระเตื้องขึ้น ต้องรอถึงปี ค.ศ. 1848 กว่าความพยายามใน[[การเลิกทาส]]อย่างเด็ดขาดจะประสบความสำเร็จ
บรรทัด 125:
ในปีเดียวกันนั้นเอง (ค.ศ. 1805) ได้มี[[สงครามประสานมิตรครั้งที่สาม|การประสานมิตรครั้งที่สาม]]ในยุโรปขึ้นเพื่อต่อต้านจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำให้จักรพรรดิผู้ซึ่งกำลังบัญชาการ จากเมือง[[บูลอญ]]ใน[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศส]] เพื่อเตรียมการบุกบริเตนใหญ่ ต้องเผชิญกับสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในอีกฟากหนึ่งของทวีปยุโรปอย่างกะทันหัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับสั่งให้ตั้งรับโดยทันที โดยบังคับให้นำทัพใหญ่ออกเดินเท้า และสัญญาว่าจะนำชัยชนะ ต่อพวกออสเตรียและรัสเซียมาให้จาก[[ยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์]] ที่ได้ชื่อว่าเป็น''"สงครามสามจักรพรรดิ"''
 
ในปี ค.ศ. 1806 [[สงครามประสานมิตรครั้งที่สี่]]ได้เริ่มต้นขึ้น [[ปรัสเซีย]]ได้ก่อเหตุพิพาทครั้งใหม่ โดยกษัตริย์ปรัสเซีย[[พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย|พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 3]] ตัดสินพระทัยที่จะทำสงครามกับกองทัพฝรั่งเศสโดยลำพัง ตามตำนานเล่าว่า [[คาร์ล ฟอน เคลาเซวิทซ์]] นักคิดทางการทหารได้เสนอแผนการรบที่ชาญฉลาด ซึ่งเป็นแผนการที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ยังชื่นชม ในความรวดเร็วของการนำแนวคิดเรื่อง ''"จิตวิญญาณแห่งโลก"'' ของ[[เกออร์กจอร์จ วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกลเกิล|เฮเกลเกิล]]มาใช้ แต่แผนรบดังกล่าวไม่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายบัญชาการของกองทัพปรัสเซีย อย่างไรก็ดี[[กองทัพใหญ่]] ''ลากองด์ อาเม'' ของนโปเลียนมีความได้เปรียบมาก เพราะตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้ชายแดนปรัสเซีย พระเจ้านโปเลียนจึงทรงลงมือโจมตีก่อน และได้รับชัยชนะอย่างใหญ่หลวงในสงครามสองสมรภูมิ คือการรบที่[[สมรภูมิเจนา-โอเออสเต็ดท์]] โดยกองทัพหลวงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สามารถกวาดล้างกองทัพ[[ปรัสเซีย]] ที่การรบใน[[สมรภูมิเจนา-โอเออสเต็ดท์|สมรภูมิเจนา]] (Battle of Jena)ได้ในวันที่ 14 ตุลาคม ในขณะที่นายพล[[หลุยส์-นีกอลา ดาวู]]ตีทัพใหญ่ของ[[คาร์ล วิลเฮล์ม แฟร์ดีนันด์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวก์-โวลเฟนบึทเทิล|ดยุกแห่งเบราน์ชไวก์]]แตกพ่ายไปในสมภูมิที่เมือง[[โอเออสเต็ดท์]] แม้ว่าทัพหลวงของปรัสเซียจะมีจำนวนทหารเหนือกว่ากองทัพฝรั่งเศสที่นำโดยนายพลหลุยส์-นีกอลา มากก็ตาม ดยุกแห่งเบราน์ชไวก์บาดเจ็บสาหัสในที่รบ ทหารของปรัสเซียที่แตกมาจากสมรภูมิที่เจนาทะลักเข้ามาสู่สมรภูมิที่โอเออสเต็ดท์ นำไปสู่ความเสียขวัญและความพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด นายพลดาวูจึงได้รับการแต่งตั้งจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ให้เป็น ''ดยุกแห่งโอเออสเต็ดท์'' เพราะความชอบในครั้งนี้
 
แต่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ยังไม่หยุดแค่นั้น ในปีถัดมาพระองค์ได้ทรงเดินทัพข้าม[[โปแลนด์]] โดยทรงสถาปนา[[ดัชชีวอร์ซอ]]ขึ้นและให้พันธมิตรของฝรั่งเศสปกครอง จากนั้นพระเจ้านโปเลียนได้ยกกองทัพขึ้นเหนือเพื่อเผชิญหน้ากับกองทัพรัสเซีย พระเจ้านโปเลียนรบชนะกองทัพรัสเซียที่[[สมรภูมิฟรีดแลนด์]]ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1807 ทางฝ่ายรัสเซียต้องขอยอมสงบศึก และนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาเมือง[[สนธิสัญญาทิลสิท|ทิลสิท]]ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1807 กับ[[อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย|จักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย]] อันเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการแบ่งดินแดนยุโรปกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย สองมหาอำนาจในขณะนั้น เพื่อเป็นการข่มขวัญศัตรู (ฝรั่งเศสครองยุโรปตะวันตก และรัสเซียครองยุโรปตะวันออก โดยมีโปแลนด์อยู่ตรงกลาง)
บรรทัด 141:
หลังจากที่ซาร์[[อเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย]] ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในรัสเซียที่เข้าข้างฝ่ายอังกฤษ ก็ได้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ในการโจมตี[[สหราชอาณาจักร]] จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งเชื่อว่าไม่มีทางหลีกเลี่ยงสงครามกับอังกฤษได้ ได้กรีฑาทัพ[[การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส|บุกรัสเซียในปี ค.ศ. 1812 [[กองทัพใหญ่]]ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ประกอบด้วยกองทัพพันธมิตร[[อิตาลี]] เยอรมนี และออสเตรียมีขนาดมหึมา มีทหารกว่า 600,000 นายที่ร่วมเดินทัพข้าม [[แม่น้ำนีเมน]]
 
พวกรัสเซียที่บัญชาการโดย[[มีฮาอิล คูตูซอฟ|จอมพล มีฮาอิล คูตูซอฟ]] ได้ใช้ยุทธวิธี ''[[scorched earth]]'' โดยถอยร่นให้ทัพฝรั่งเศสรุกเข้ามาให้รัสเซีย การรบที่[[ยุทธการมอสโก|มอสโก]]เมื่อวันที่ 12 กันยายน ไม่มีผู้ใดแพ้ชนะ แม้ว่าพวกรัสเซียจะเป็นฝ่ายทิ้งชัยภูมิ แต่ทั้งสองฝ่ายก็เสียทหารไปในจำนวนเท่า ๆ กัน
 
วันรุ่งขึ้นหลังจากกองทัพฝรั่งเศสเคลื่อนทัพเข้ากรุงมอสโก ก็พบว่ามอสโกกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อฝรั่งเศสตายใจ พวกรัสเซียได้จุดไฟเผากรุงมอสโกในทันที ทำให้จักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถอยทัพ ฤดูหนาวอันโหดร้าย กำลังจะมาเยือนดินแดนแถบรัสเซียในอีกเพียงไม่กี่วัน จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ที่คาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวจากซาร์ซาร์ได้ชะลอการถอยทัพไปจนถึงนาทีสุดท้าย
บรรทัด 147:
กองทัพฝรั่งเศสได้ถอยทัพอย่างทุลักทุเลไปทางเยอรมนี ในช่วงฤดูหนาวของรัสเซีย ผ่านดินแดนที่เคยเป็นทางผ่านตอนขามาและถูกโจมตีเสียย่อยยับ ในจำนวนทหารเกือบ 500,000 นายที่เข้าร่วมรบ มีเพียงหมื่นกว่านายที่สามารถข้าม[[แม่น้ำเบเรซินา]]กลับมาได้ แถมยังถูกกองทัพรัสเซียดักโจมตี กองทัพใหญ่ของจักพรรดินโปเลียนที่ 1 ต้องถึงกาลล่มสลายเนื่องด้วยไม่รู้จักพื้นที่ดีพอ
 
หลังจากที่ได้ใจจากข่าวความพ่ายแพ้ของฝรั่งเศสในรัสเซีย กษัตริย์ยุโรปหลายพระองค์ได้แปรภักดิ์จากฝ่ายจักพรรดินโปเลียนที่ 1 และยกทัพมารบกับฝรั่งเศส จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ซึ่งถูกคนในกองทัพของพระองค์เองทรยศ ได้พบกับความพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิงที่[[ยุทธการไลพ์ซิกที่ไลพ์ซิจ]] หรือที่รู้จักในนามของ ''สงครามนานาชาติประสานมิตรครั้งที่หก'' ซึ่งกองทัพฝรั่งเศส 200,000 นายปะทะกับกองทัพพันธมิตร 500,000 นาย (รัสเซีย ออสเตรีย เยอรมนี [[สวีเดน]]) จอมพล[[โจเซฟ แอนโทนี โปเนียโตวสกี]] เจ้าชายแห่ง[[โปแลนด์]]และพระราชนัดดาของราชาองค์สุดท้ายของโปแลนด์ ได้สิ้นพระชนม์ลงในการรบครั้งนี้ หลังจากพยายามนำทหารของพระองค์ข้าม[[แม่น้ำเอลสเตอร์]] มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 100,000 คน
 
[[ไฟล์:Europe map Napoleon 1811.png|right|170px|frame|อาณาเขตของจักรวรรดิฝรั่งเศสในช่วงปี ค.ศ. 1811 สีม่วงหมายถึง[[ประเทศฝรั่งเศส|ฝรั่งเศสแผ่นดินแม่]] สีม่วงอ่อนหมายถึง รัฐในอารักขาของฝรั่งเศส]]
บรรทัด 180:
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทรงถูกขัง และถูกอังกฤษส่งตัวไปยัง[[เกาะเซนต์เฮเลนา]] ตามบัญชาการของ[[เซอร์ฮัดสัน โลว]] พร้อมกับนายทหารที่ยังจงรักภักดีบางส่วน รวมถึงเคานต์[[ลาส กาส]]ด้วย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ใช้เวลาบนเกาะเซนต์เฮเลนา อุทิศให้กับการเขียนบันทึกความทรงจำของพระองค์ ในช่วงครึ่งหลังของเดือนเมษายน ค.ศ. 1821 พระองค์ได้ทรงเขียนพินัยกรรม และหมายเหตุพินัยกรรมหลายฉบับด้วยพระองค์เอง รวมกว่าสี่สิบหน้าด้วยกัน คำพูดสุดท้ายของพระองค์ก่อนสิ้นใจได้แก่ ''"ฝรั่งเศส กองทัพ แม่ทัพ โฌเซฟีน"'' หรือจากที่บันทึกไว้ใน "จดหมายเหตุเกาะเซนต์เฮเลนา" คือ ''"...ศีรษะ...กองทัพ...พระเจ้าช่วย!"''
 
ในปีค.ศ. 1995 จดหมายเหตุของเคานต์[[ลุยส์ มาร์ชองด์]] ข้ารับใช้ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ถูกตีพิมพ์ เขาได้เขียนเล่าเหตุการณ์ ช่วงไม่กี่เดือนสุดท้ายก่อนจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จะสวรรคต และหลายคนเชื่อว่าพระองค์ถูกลอบวางยาพิษด้วย[[สารหนู]] ในปีค.ศ. 2001 ปาสคาล คินท์ แห่งสถาบันกฎหมายเมือง[[สตราสบูร์กสทราซบูร์]]ได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีนี้ ด้วยการศึกษาหาระดับสารหนูในเส้นพระเกศา (ผม) ของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ภายหลังจากที่พระองค์สวรรคต ซึ่งก็พบว่ามีสารหนูอยู่เกินกว่าระดับปกติ 7 ถึง 38 เท่า การวิเคราะห์ของนิตยสาร ''[[วิทยาศาสตร์และชีวิต]]'' ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถพบสารหนูในระดับความเข้มข้นเท่ากันจากตัวอย่างที่เก็บได้มาจากปี ค.ศ. 1805, 1814 และ 1821 ดังนั้นจึงต้องกล่าวถึง ธรรมเนียมในสมัยนั้นที่นิยมสวมวิกผมพ่นทับด้วยแป้งผง ยิ่งไปกว่านั้น เราอาจเชื่อในการวิเคราะห์ของนักวิจัยชาวสวิสที่บอกว่า จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวรรคตจากโรค[[มะเร็ง]]ในกระเพาะ แม้ว่าจักรพรรดิจะมีพระวรกายค่อนข้างเจ้าเนื้อก่อนสวรรคต (น้ำหนัก 75.5 ก.ก. ส่วนสูง 167 ซ.ม.) นักวิจัยยังได้สำรวจกางเกงที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 สวมใส่ในสมัยนั้น และสามารถระบุได้ว่าพระองค์มีน้ำหนักลดลงถึง 11 ก.ก. ภายในเวลา 5 เดือนก่อนการสวรรคต สมมติฐานดังกล่าวเคยถูกกล่าวว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 มีพระวรกายใหญ่เกินกว่าที่จะเป็นคนป่วยด้วยโรคมะเร็ง
 
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้ทรงขอให้ฝังพระศพของพระองค์ไว้ริมฝั่ง[[แม่น้ำแซน]] แต่เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตในปีค.ศ. 1821 พระศพของพระองค์ได้ถูกปลงที่[[เกาะเซนต์เฮเลนา]] ในปีค.ศ. 1840 พระอัฐิได้ถูกนำกลับมายังประเทศฝรั่งเศสด้วยการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ และได้ถูกฝังไว้ที่[[ออแตลเดแซ็งวาลีด]]ในกรุงปารีส โดยใส่ไว้ในโถที่ทำด้วย[[หินเนื้อดอก]] (อันเป็นของขวัญที่รัสเซียมอบให้แก่ฝรั่งเศส)
บรรทัด 233:
นโปเลียนสมรสสองครั้ง :
* เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1796 (เมื่อครั้งยังเป็นนายพลก่อนออกปฏิบัติการในอียิปต์) ได้เข้าพิธีสมรสกับนาง[[โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน]] แม่ม่ายลูกติดชาวฝรั่งเศสเชื้อสายเบเก จาก[[หมู่เกาะมาร์ตีนีก]] ผู้ซึ่งต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดินีแห่งฝรั่งเศสในพิธีขึ้นครองราชย์ของนโปเลียน เนื่องจากนางมีอายุมากแล้วจึงไม่สามารถมีโอรสธิดาให้กับนโปเลียนได้ ซึ่งการที่องค์จักรพรรดิไร้ซึ่งผู้สืบทอดบัลลังก์ดังกล่าวถูกมองว่าเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของจักรวรรดิ การสมรสครั้งนี้จึงจบลงด้วยการหย่าร้าง
* เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1810 ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส ([[แต่งงานโดยฉันทะ|โดยฉันทะ]]) กับ[[มารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งปาร์มา|อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย]] เพื่อเป็นการสานสัมพันธไมตรีและหลีกเลี่ยงสงครามกับ [[มารี หลุยส์ ดัชเชสแห่งปาร์มา|อาร์คดัชเชสมารี หลุยส์]]ได้ให้กำเนิดพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ ได้แก่ [[นโปเลียน ฟร็องซัวส์ โฌแซฟ ชาร์ล โบนาปาร์ต|นโปเลียนที่ 2]] ทรงได้รับการแต่งตั้งจากนโปเลียนให้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์แห่งกรุง[[โรม]] ดยุกแห่ง[[ไรช์ชตาดท์]] แต่เรามักจะเรียกพระองค์ว่านโปเลียนที่ 2 เสียมากกว่า แม้ว่าพระองค์จะไม่เคยขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสอย่างแท้จริงเลยก็ตาม ถ้าจะว่ากันตามทฤษฎีแล้ว รัชสมัยของพระองค์กินระยะเวลาเพียง 15 วัน ระหว่างวันที่จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ถูกบังคับให้สละพระราชบัลลังก์ครั้งแรก จนกระทั่งมี[[การฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง]] พระฉายานามว่า ''เหยี่ยวน้อย'' นั้นมาจากบทกวีของ[[วิคเตอร์ มารี อูโก]] ที่ประพันธ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1852
 
นโปเลียนยังมีบุตรนอกสมรสอีกอย่างน้อยสองคน ซึ่งทั้งสองคนนั้นต่างก็มีทายาทสืบต่อมา:
บรรทัด 255:
 
=== หลานชาย-หญิง ===
* [[นโปเลียนที่ 3]] (ชารลส์ชาร์ล หลุยส์ นโปเลียน โบนาปาร์ต) หลานชาย ได้ใช้โอกาสจากความมีชื่อเสียงของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ทำให้เขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีแห่งฝรั่งเศส ในช่วง[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2]] จากนั้นก็ได้ยึดอำนาจและก่อตั้งจักรวรรดิที่ 2 ขึ้น และเป็นจักรพรรดิปกครองฝรั่งเศสภายใต้พระนามว่า'''พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส''' ตลอดการครองราชย์ของพระองค์ ได้มีการประกาศใช้กฎหมายทางสังคมและกฎหมายสมัยใหม่จำนวนมาก พระองค์พ่ายแพ้สงครามและยอมมอบตัวให้กับ[[ปรัสเซีย]]ในปี ค.ศ. 1870 จากการรบที่[[สมรภูมิเซดาน]]
* [[ปีแยร์-นโปเลียน โบนาปาร์ต]]
* [[ชาร์ล ลูว์เซียง โบนาปาร์ต]] [[นักสัตววิทยา]]