ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49:
{{ใช้ปีคศ}}
 
'''ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน''' ({{lang-de|Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen}}) '''เจ้าบิสมาร์ค ดยุกเลาเอนบุร์ก''' เป็นรัฐบุรุษ[[อนุรักษนิยม]]ชาว[[ปรัสเซีย]]ผู้ครอบงำการเมืองเยอรมันและทวีปยุโรปช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 ถึงปี 1890 ซึ่งในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 บิสมาร์คดำเนินยุทธวิธีสงครามหลายระลอกเพื่อรวมรัฐเยอรมันเข้าด้วยกันและสถาปนา[[เป็นนายกรัฐมนตรีจักรวรรดิเยอรมัน]]อันทรงอำนาจภายใต้การนำของปรัสเซียขึ้นมาในคนแรกระหว่างปี ค.ศ. 1871 โดยจงใจกีดกัน[[จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี|ออสเตรีย]]ออกจากการรวมกลุ่มในครั้งนี้อย่างมาก เขายังได้ดำเนินนโยบายทางการทูตเพื่อถ่วงดุลอำนาจและรักษาสถานะของเยอรมนีในทวีปยุโรป ทำให้เยอรมนียังคงความสงบสุขของบ้านเมืองไว้ได้แม้จะเกิดข้อขัดแย้งและสงครามรายล้อมประเทศ สำหรับนักประวัติศาสตร์ชาวบริติชอย่าง เอริก ฮ็อบส์บาว์ม เขาถือว่าบิสมาร์คคือ "ผู้ที่ยังคงไม่ขัดแย้งและได้รับชัยชนะบนเวทีเกมการทูตระดับพหุภาคีของโลกเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีนับแต่ ค.ศ. 1871 [และ] อุทิศตนอย่างมากจนประสบความสำเร็จในการรักษาสันติภาพระหว่างชาติมหาอำนาจ"<ref>[[Eric Hobsbawm]], ''The Age of Empire: 1875–1914'' (1987), p.ถึง 312.</ref>1890
 
ในปี 1862 [[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย]]ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีปรัสเซีย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เขารั้งจนปี 1890 โดยเว้นช่วงสั้น ๆ ในปี 1873 บิสมาร์คเป็นผู้ริเริ่มสงครามแตกหักแต่กินระยะเวลาสั้น ๆ สามครั้งกับ[[สงครามชเลสวิชครั้งที่สอง|ประเทศเดนมาร์ก]] [[สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย|ออสเตรีย]] และ[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย|ฝรั่งเศส]] ให้หลังชัยเหนือออสเตรีย เขาเลิก[[สมาพันธรัฐเยอรมัน]]เหนือชาติแล้วตั้ง[[สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ]]แทนเป็นรัฐชาติเยอรมันรัฐแรกในปี 1867 และเป็นนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐ เหตุนี้ทำให้บรรดารัฐเยอรมันเหนือขนาดเล็กกว่าเข้ากับปรัสเซีย หลังได้รับการสนับสนุนจากรัฐเยอรมันใต้อิสระเมื่อสมาพันธรัฐพิชิตฝรั่งเศส เขาก็ตั้ง[[จักรวรรดิเยอรมัน]]ในปี 1871 เป็น[[การรวมสร้างเอกภาพเยอรมนีเป็นหนึ่ง]]โดยมีเขาเป็นนายกรัฐมนตรีของจักรวรรดิ ขณะที่ยังควบคุมปรัสเซียไปพร้อมกันด้วย ชาติเยอรมันใหม่นี้ไม่รวมออสเตรีย ซึ่งเป็นคู่แข่งหลักของปรัสเซียในการชิงความเป็นใหญ่ในหมู่รัฐเยอรมัน
 
เมื่อประสบความสำเร็จในปี 1871 เขาใช้การทูต[[ดุลอำนาจ]]อย่างช่ำชองเพื่อธำรงฐานะของเยอรมนีในทวีปยุโรปซึ่งยังสงบอยู่แม้มีข้อพิพาทและการขู่ทำสงครามมากมาย นักประวัติศาสตร์ เอริก ฮ็อบส์บาว์ม ถือว่าบิสมาร์คคือ "ผู้ยังเป็นแชมป์โลกอย่างไร้ข้อถกเถียงเรื่องเกมหมากรุกการทูตพหุภาคีเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีนับแต่ปี 1871 [และ] อุทิศตนโดยเฉพาะจนประสบความสำเร็จในการรักษาสันติภาพระหว่างชาติมหาอำนาจ"<ref>[[Eric Hobsbawm]], ''The Age of Empire: 1875–1914'' (1987), p. 312.</ref> ทว่า การผนวกอัลซาซ-ลอแรนของเขาเป็นเชื้อชาตินิยมฝรั่งเศสใหม่และส่งเสริมความกลัวเยอรมันในฝรั่งเศส เหตุนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
 
ทั้งนี้นโยบายการเมืองแบบ ''เรอัลโพลีทิค'' ({{lang-de|realpolitik}}; การเมืองเชิงปฏิบัติ) ของเขาประกอบกับอำนาจอันมากมายในปรัสเซีย ส่งผลให้บิสมาร์คได้รับสมญานามว่า "นายกรัฐมนตรีเหล็ก" ส่วนภารกิจด้านการต่างประเทศ [[การสร้างเอกภาพเยอรมนี|การรวมชาติเยอรมัน]]และการเติบโตทางเศรษฐกิจอันรวดเร็วคือพื้นฐานที่ใช้เป็นนโยบายด้านการต่างประเทศของเขา บิสมาร์คไม่นิยมชมชอบลัทธิ[[จักรวรรดินิยม]] แต่ก็ยังจัดตั้ง[[จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน|จักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเล]]โดยไม่เต็มใจเนื่องจากถูกเรียกร้องจากทั้งฝ่ายชนชั้นสูงและสาธารณชนทั่วไป นอกจากนี้บิสมาร์คยังเล่นกลด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้ง ทั้งยังใช้ทักษะด้านการทูตในการดำรงสถานะของเยอรมนีและเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ