ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MuanN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2:
[[ไฟล์:Gene.png|right|thumbnail|250px|ภาพแสดงยีนของโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตพวกยูคารีโอต จากภาพจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างยีนและโครโมโซม ภาพนี้แสดงยีนเพียงแค่สี่สิบคู่เบสซึ่งยีนตามจริงมีขนาดใหญ่กว่าหลายเท่า]]
 
'''ยีน''', '''จีน''' หรือ '''สิ่งสืบต่อพันธุกรรม''' ({{lang-en|gene}}; {{IPA|/dʒiːn/}}) คือลำดับ[[ดีเอ็นเอ]]หรือ[[อาร์เอ็นเอ]]ที่สามารถถอดรหัสออกมาเป็นโมเลกุลหนึ่งๆ ที่สามารถทำหน้าที่ได้ โดยปกติแล้วดีเอ็นเอจะถูก[[การถอดรหัส (พันธุศาสตร์)|ถอดรหัส]]ออกมาเป็นอาร์เอ็นเอ แล้วอาร์เอ็นเอนั้นอาจ[[Non-coding RNA|ทำหน้าที่ได้เองโดยตรง]] หรือเป็นแบบให้กับขั้นตอน[[การแปลรหัส (พันธุศาสตร์)|การแปลรหัส]] ซึ่งเป็น[[การสังเคราะห์โปรตีน|การสร้าง]][[โปรตีน]]เพื่อทำหน้าที่ต่อไปก็ได้ การถ่ายทอดยีนไปยังทายาทของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการส่งต่อลักษณะไปยังรุ่นถัดไป ยีนต่างๆ เหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นลำดับดีเอ็นเอเรียกว่าจีโนทัยป์หรือลักษณะพันธุกรรม ซึ่งเมื่อประกอบกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและการเจริญเติบโตแล้วจะเป็นตัวกำหนดฟีโนทัยป์หรือลักษณะปรากฎ ลักษณะทางชีวภาพหลายๆ อย่างถูกกำหนดโดยยีนหลายยีน บางอย่างถูกกำหนดโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนกับสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างอาจปรากฎให้เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น สีตา จำนวนแขนขา และบางอย่างก็ไม่ปรากฎให้เห็น เช่น หมู่เลือด ความเสี่ยงของการเกิดโรค รวมถึงกระบวนการทางชีวเคมีนับพันที่เป็นพื้นฐานของชีวิต
 
ยีนเป็นส่วนหนึ่งของ[[โครโมโซม]]ที่ถอดรหัสได้เป็นสาย[[พอลิเพปไทด์]]หนึ่งสายที่ทำงานได้ (single functional polypeptide) หรือได้เป็นอาร์เอ็นเอ ยีนประกอบด้วยส่วนที่สามารถถอดรหัสเป็นอาร์เอ็นเอได้ เรียกว่า [[exon]] และบริเวณที่ไม่สามารถถอดรหัสได้ เรียกว่า [[intron]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ยีน"