ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ก็องดีด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Idioma-bot (คุย | ส่วนร่วม)
robot Adding: lt:Kandidas
Bengjo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 11:
 
==เรื่องย่อ==
spoil warning
ก็องดิดด์เป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่ในปราสาทของท่านบารอนธุนแดร์-เตน-ทรองค์ (Thunder-Ten-Tronnckh) ในแคว้นเวสท์ฟาลี (Westphalie) ในประเทศเยอรมนีตะวันตก ท่านบารอนผู้นี้มีลูกสาวชื่อ กุเนก็องด์ (Cunégonde) ทั้งก็องดิดด์และกุเนก็องด์มีอาจารย์ชื่อ ปองโกลศ (Pangloss) ซึ่งเป็นผู้สอนให้ทั้งสองมองโลกในแง่ดีตามทฤษฎีของไลบ์นิซ วันหนึ่งก็องดิดด์ถูกขับไล่ออกจากปราสาทของท่านบารอนเพราะได้ล่วงเกินกุเนก็องด์ ก็องดิดด์ต้องร่อนเร่ไปตามที่ต่าง ๆ ในเวลาต่อมาครอบครัวของกุเนก็องด์ถูกทหารบุลกาเรียฆ่าตายหมด ก็องดิดด์เสียใจมาก ต่อมาเขาได้พบกับปองโกลศและกุเนก็องด์ ซึ่งรอดชีวิตมาได้ ทั้งสามคนจึงออกเดินทางไปยังบัวโนสไอเรส การมาครั้งนี้ทำให้เจ้าเมืองหลงรักกุเนก็องด์ เขาจึงจับตัวก็องดิดด์ขังเอาไว้ แต่เขาสามารถหนีออกมาได้โดยได้รับการช่วยเหลือจากคนรับใช้ที่ซื่อสัตย์ของเขาที่ชื่อว่า กะกอมโบ (Cacambo) แต่เขาก็ต้องพลัดพรากจากกุเนก็องด์อีก ก็องดิดด์ได้เดินทางไปถึงเมืองเอลโดราโด (El Dorado) ซึ่งผู้คนที่นั่นต่างพอใจในชีวิตและเชื่อในพระเจ้า หลังจากนั้นเขาก็ได้นำก้อนกรวดจากเมืองนี้ที่เป็นเพชรพลอยและทองคำไปด้วย เพื่อไถ่ตัวกุเนก็องด์โดยนัดพบกันที่เมืองเวนิส ก็องดิดด์ได้เดินทางเข้าออกหลายประเทศ เขาได้พบกับนักปราชญ์คนหนึ่งชื่อ มาร์แต็ง (Martin) ซึ่งสอนให้เขามองโลกในแง่ร้าย ตลอดการเดินทาง ทั้งสองได้พบกับสิ่งที่เลวร้ายมากมาย เมื่อถึงเมืองเวนิส เขาก็ไม่พบกุเนก็องด์ ทำให้เขาเชื่อว่าทุกสิ่งล้วนเลวร้าย เขาไม่เชื่อคำสอนของปองโกลศที่สอนให้เขามองโลกในแง่ดีอีกต่อไป ตอนหลังเขาก็ได้พบกับกุเนก็องด์ที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ซึ่งกลายเป็นคนอัปลักษณ์จนก็องดิดด์ไม่อยากแต่งงานด้วย แต่เมื่อนึกถึงคำดูถูกที่กล่าวว่าเป็นคนชั้นต่ำไม่เหมาะสมกับขุนนาง ก็องดิดด์จึงตัดสินใจแต่งงานกับ กุเนก็องด์และได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข พร้อมด้วยอาจารย์ปองโกลศ มาร์แต็ง และกะกอมโบ โดยที่ทุกคนช่วยกันทำงาน
 
เส้น 34 ⟶ 35:
** เมืองในฝันด้านวิถีชีวิตตามธรรมชาติของชนเผ่าออเร็ยยง แต่ก็เป็นวิถีชีวิตที่เป็นธรรมชาติเกินไป คือ ชนเผ่าออเร็ยยงไม่นุ่งห่ม กินคนและมีเพศสัมพันธ์กับลิง วอลแตร์จึงเสนอเรื่องนี้เพื่อคัดค้านความคิดเห็นของรุสโซที่เรียกร้องให้ผู้คนกลับไปใช้ชีวิตตามธรรมชาติ
 
** และเมืองในฝันด้านปรัชญาที่เอลโดราโด เมืองนี้ไม่มีความเลวร้ายใด ๆ ทั้งสิ้น ชาวเมืองทุกคนเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าโดยไม่ต้องผ่านพระ เมืองนี้ไม่มีพระ ในขณะเดียวกันก็ไม่มีศาล ไม่มีตำรวจเพราะไม่มีโจรผู้ร้าย ไม่มีขโมย ก้อนกรวดก้อนหินตามทางก็คือทองคำและเพชรพลอย เมืองนี้มีพระราชาผู้ทรงสติปัญญาสูง ประกอบด้วยเมตตากรุณา แต่เมืองในฝันเช่นนี้ก็ไม่มีจริงในโลกนี้ โดยมีเงื่อนไขบางประการที่จะทำให้เกิดเมืองในฝันได้ เช่น ขนาดต้องไม่ใหญ่เกินไป มีทรัพยากรธรรมชาติที่เพียงพอ มีปราการธรรมชาติ และการพรางตาจากโลกภายนอก ดังที่ระบุไว้ในหนังสือ [[ยูโทเปีย]] ของ เซอร์ โทมัส มอร์ โดยวอลแตร์ได้วาดภาพเมืองนี้เพื่อโจมตีสถาบันทางการเมืองและทุกสถาบันในสังคมของประเทศฝรั่งเศส
 
** เมืองในฝันถึงแม้จะมีจริง ก็ไม่มีผู้ใดใคร่จะอยากอยู่อาศัย ถึงแม้ตัวละครจะหนีความโหดร้ายของสังคมมาได้ แต่ก็ไม่ปราถนาที่จะอยู่ ไม่ใช่เพราะว่าเมืองในฝันมีตำหนิ แต่เพราะตัวละครนั้นเองยังมีตำหนิ ยังมีความ รัก โลภ โกรธ หลง อยู่ในตัว เพราะเติบโตมาในโลกที่ต้องช่วงชิงแข่งขัน และไม่สามารถหลุดออกจากความต้องการทางใจได้ จึงได้จากเมืองในฝันมา
 
ส่วนที่สาม (บทที่ 19-30) ก็องดิดด์เดินทางกลับไปยุโรปและตั้งถิ่นฐานที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล ในส่วนนี้วอลแตร์เสนอโลกแห่งความจริงที่กลับมาพบอีกครั้ง ความเลวร้ายจากธรรมชาติและจากน้ำมือมนุษย์ยังคงมีอยู่ แต่ครั้งนี้ก็องดิดด์ก็ไม่ได้เป็นผู้ถูกกระทำตลอดเวลาเหมือนในช่วงแรก เขากลายเป็นผู้สังเกตดูความเป็นไปในโลกนี้ เขาเริ่มใช้ความคิดไตร่ตรองด้วยตนเองและหาทางออกให้แก่ชีวิตของตน เพราะตระหนักว่า นอกความทุกข์ยากที่มนุษย์ต้องเผชิญภายนอกแล้วมนุษย์ยังต้องเผชิญกับความเลวร้ายจากภายในตนเองอีกด้วย ซึ่งได้แก่ ความอิจฉา ความวิตกกังวลและความเบื่อหน่าย ก็องดิดด์จึงได้สรุปการดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าซึ่งเราสามารถขจัดความเลวร้ายจากภายในตนเอง นั่นก็คือ “จงทำสวนของเรา” หรือ “จงทำงาน” (Il faut cultiver notre jardin)
เส้น 53 ⟶ 56:
** อาจารย์ปองโกลศ – เป็นอาจารย์ที่สอนให้ก็องดิดด์และกุเนก็องด์มองโลกในแง่ดี ตามลัทธิสุทรรศนิยมของไลบ์นิซ ปองโกลศมองโลกในแง่ดีเสมอ ถึงแม้ว่าตัวเขาเองก็ได้พบกับความทุกข์และภัยพิบัติมากมาย
 
** กุเนก็องด์ - เป็นลูกสาวของท่านบารอนรอนธุนแดร์-เตน-ทรองค์ เป็นหญิงงามที่ก็องดิดด์หลงรักองดิดด์หลงไหลบูชา
 
** มาร์แต็ง – เป็นนักปราชญ์ที่มีความคิดที่ตรงข้ามกับปองโกลศโดยสิ้นเชิง กล่าวคือมาร์แต็งเป็นคนที่สอนให้ก็องดิดด์มองโลกในแง่ร้าย ทำให้ก็องดิดด์ได้เรียนรู้อภิปรัชญาปรัชญาที่ตรงข้ามกับคำสอนของอาจารย์ปองโกลศ
** กะกอมโบ – เป็นคนรับใช้และเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ของก็องดิดด์
 
** หญิงชราคนรับใช้ - เป็นลูกสาวของโป๊ปแต่ถูกจับมาขายเป็นทาส เป็นคนที่ผ่านโลกมามาก
 
** พี่ชายของกุเนก็องด์ - เป็นเจซูอิทและนายพัน เป็นผู้ดีและหัวสูง
 
** หญิงชนชั้นสูงชาวฝรั่งเศษ - เป็นชนชั้นสูงที่ใช้ชีวิตให้มีความสุข และต้องการเงิน สะท้อนภาพสังคมที่ตกต่ำของประเทศ
 
ในเรื่องนี้ วอลแตร์ได้กล่าวโจมตีเสียดสีสิ่งต่าง ๆ ไว้มากมาย เขาได้แสดงทัศนะทางสังคมออกมา ไม่เฉพาะแค่สังคมฝรั่งเศสเท่านั้น แต่รวมไปถึงสังคมยุโรปโดยทั่วไป โดยใช้รูปแบบการประชดประชัน เสียดสี วอลแตร์เสียดสีและต่อต้านความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ และยังบรรยายให้เห็นภาพความตายอย่างชัดเจนที่เป็นผลมาจากการทำสงครามแย่งอาณานิคม นอกจากนี้วอลแตร์ยังประชดประชันทัศนะทางปรัชญาที่สอนให้คนมองโลกในแง่ดีอยู่ตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง วอลแตร์ยังได้โจมตีสถาบันทางศาสนาในเรื่องความเชื่อที่งมงาย ไร้สาระ โจมตีพระที่ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม ในเรื่องความเชื่อ วอลแตร์เชื่อว่าพระเจ้าไม่มีเหตุผล ในด้านสังคมการเมือง เขาโจมตีชนชั้นขุนนางว่าไม่จริงใจ
 
ในบทสรุปของเนื้อเรื่อง วอลแตร์ได้เสนอคำพูดที่ว่า ‘Il faut cultiver notre jardin’ เพื่อแสดงทัศนะของเขาที่เรียกร้องให้ทุกคนทำงานและทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคม เนื่องจากเขาต้องการสะท้อนให้เห็นเรื่องค่านิยมของคนในสมัยนั้นที่เชื่อว่าพวกชนชั้นสูง เช่น พวกขุนนาง และพระ ที่ไม่ต้องทำงาน เพราะจะเป็นการเสียเกียรติ โดยในที่นี้วอลแตร์ได้เสนอการทำกสิกรรม เนื่องจากเขาได้รับแนวความคิดมาจากพวกชาวบ้านที่ทำกสิกรรมอยู่บริเวณที่ใกล้กับที่ดินที่เขาได้ไปซื้อไว้ โดยที่เขาคิดว่าควรเริ่มจากครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม เมื่อทุกคนทำงานแล้ว ผลแห่งการทำงานนั้นย่อมครอบคลุมไปยังหน่วยของสังคมที่ใหญ่ขึ้น เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เป็นต้น และในอีกแง่หนึ่งที่วอลแตร์เสนอก็คือ ให้ทุกคนทำงานโดยไม่มัวแต่พร่ำเพ้ออ้างเหตุผลลอย ๆ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ เขาคิดว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อกระทำมิใช่พูดหรือคอยใช้เหตุผลอย่างเดียว จากคำพูดนี้แสดงให้เห็นว่าวอลแตร์ไม่ได้มีความเชื่อในพระเจ้าเลย เขาเชื่อว่ามนุษย์ต่างหากที่เป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวของตัวเอง
 
วอลแตร์เสนอผ่านทางตัวละครคุณลุงบ้านนอกว่า การถกคิดปัญหาทางการเมือง จะทำให้ปวดหัวไม่สิ้นสุด เลิกคิดซะดีกว่าเพราะจะได้ไม่นำภัยมาถึงตัว เพราะการเมืองไม่ใช่เรื่องของเหตุผลเพียงอย่างเดียวแต่ยังเป็นเรื่องของอำนาจด้วย
 
และสอนให้ยอมรับโลกที่เป็นอยู่ และทนอยู่กับมัน ไม่จำเป็นต้องขวนขวายใฝ่หาสังคมอุดมคติ เช่นสอนว่าความเลวร้ายของมนุษย์ก็ยังติดตัวไปทุกยุคทุกสมัยไม่มีทางสลัดหลุดได้ ไม่มองโลกแต่ในแง่ดีอย่างเดียวเพื่อหลอกลวงตัวเอง และไม่มองโลกแต่ในแง่ร้ายอย่างเดียวซึ่งก็เป็นการหลอกตัวเองเช่นกัน ซึ่งก็องดิดด์เคยประสบมาทั้งสองอย่างแล้ว ดังเช่นมาร์แต็งแนะนำก็องดิดด์ว่าไม่ต้องไปรอเพราะกะกอมโบคงหอบเพรชและเงินทองหนีไปเสวยสุขแล้ว ซึ่งไม่ได้เป็นเช่นนั้นจริง สรุปก็คือเลิกขบคิดปัญหาแล้วหันมาใช้แรงงานดีกว่า
 
สอนว่าความร่ำรวยแบบฉับพลับเหมือนมีโชคก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะสุดท้ายเงินทองที่ได้มาจากโชคก็หมดอยู่ดี
 
สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเดียวของก็องดิดด์ คือแม่หญิงกุเนก็องด์ผู้เลอโฉม โดยเขาจะบูชาชื่อเธออยู่ตลอดเวลา และอยากให้เธอได้แบ่งปันความรู้สึกที่เขามีต่อสิ่งรอบข้าง เขาได้ทุ่มเทเวลาค้นหาเธอ แต่สุดท้ายเธอกลับกลายเป็นหญิงอัปลักษณ์ เป็นการทรยศความรู้สึกเขา เขาจึงอุทานออกมาว่า "ถือดียังไงนังน่าเกลียด" ก่อนที่จะขอโทษเธอ
 
==ตัวอย่างตอนที่สำคัญของเรื่อง==