ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''รัฐอารักขาแห่ง[[โบฮีเมีย]]และ[[โมราเวีย]]''' (<!-- Do not bold foreign names -->{{lang-de|link=no|Protektorat Böhmen und Mähren}}; {{lang-cs|Protektorát Čechy a Morava}})เป็น[[รัฐในอารักขา|รัฐอารักขา]]ของ[[นาซีเยอรมนี]]ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1939 ภายหลังจาก[[เยอรมันยึดครองเชโกสโลวาเกีย]] เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939 ในช่วงก่อนหน้านี้, ภายหลัง[[ความตกลงมิวนิก|ข้อตกลงมิวนิก]] เมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1938, นาซีเยอรมนีได้รวม[[ซูเดเทินลันด์]] ดินแดนเช็กมาเป็น[[ไรชส์เกา]](ตุลาคม ค.ศ. 1938)
 
ประชากรของรัฐอารักส่วนใหญ่เป็นชาวเช็ก ในขณะที่ซูเดเทินลันด์นั้นมีประชากรชาวเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ ภายหลังจากการก่อตั้งรัฐอิสระของ[[สาธารณรัฐสโลวัก]] เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1939 และเยอรมันได้เข้ายึดครองรัฐตกค้างของเช็กในวันถัดมา [[อดอล์ฟ ฮิตเลอร์]]ได้สถาปนาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1939 โดยการป่าวประกาศคำแถลงการณ์จาก[[ปราสาทกรุงปราก]]
 
รัฐบาลเยอรมันได้มีเหตุผลในการเข้าแทรกแซงโดยกล่าวอ้างว่าเชโกสโลวาเกียกำลังถดถอยไปในสภาวะที่ยุ่งเหยิงสับสนวุ่นวายในขณะที่ประเทศกำลังประสบกับความแตกแยกกันในทางด้านเชื้อชาติ และกองทัพเยอรมันได้พยายามที่จะฟื้นฟูความสงบเรียบร้อยในภูมิภาคนั้น เชโกสโลวาเกียในช่วงสมัยเวลานั้นภายใต้การนำของประธานาธิบดี Emil Hácha ได้ดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศในการสนับสนุนเยอรมัน; อย่างไรก็ตาม, เมื่อได้เข้าพบกับ[[ฟือเรอร์]]แห่งเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (15 มีนาคม ค.ศ. 1939), Hácha ได้ยินยอมต่อข้อเรียกร้องของเยอรมนีและออกประกาศคำแถลงการณ์ที่ได้ระบุไว้ในแง่ของเหตุการณ์ที่เขาได้ยอมรับว่าเยอรมนีจะเป็นผู้ตัดสินชะตากรรมของชาวเช็ก ฮิตเลอร์ได้ยอมรับการประกาศคำแถลงการณ์ของ Hácha และได้ประกาศว่าเยอรมนีจะมอบให้แก่ประชาชนชาวเช็กคือรัฐอารักขาที่เป็นอิสระที่ปกครองโดยชนเชื้อชาติเช็ก Hácha ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานาธิบดีแห่งรัฐอารักขาในวันเดียวกัน