ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผีถ้วยแก้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ภาพ:Seduta spiritica con il bicchiere.jpg|thumb|การเล่นผีถ้วยแก้ว]]
{{เพิ่มอ้างอิง}}
'''ผีถ้วยแก้ว''' ({{lang-en|Ouija board, Spirit board, Talking board}}) เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งที่มีอยู่ทั่วโลก โดยเชื่อว่าเป็นเพราะ[[ผี]]หรือ[[วิญญาณ]]ทำนายเรื่องราวในอนาคตได้ ในประเทศแถบตะวันตก ผีถ้วยแก้ว จะเรียกว่า "วีจาบอร์ด" (Ouija board) หรือ "กระดานวิญญาณ" (Spirit board) หรือ "กระดานพูดได้" (Talking board) โดยเป็นของเล่นสำเร็จรูปที่ผลิตและวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1890 และมีการจดสิทธิบัตรไว้เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1891 ในรูปแบบของ[[เกมกระดาน]] ใช้เล่นเพื่อความเพลิดเพลิน โดยชาติแรกที่เชื่อว่า ใช้การละเล่นแบบนี้เพื่อติดต่อสื่อสารกับผีหรือวิญญาณ น่าจะเป็น[[ชาวจีน|ชนชาติจีน]] โดยมีการค้นคว้าจากนักประวัติศาสตร์พบว่ามีการเล่นมาตั้งแต่ยุค[[ราชวงศ์ซ่ง]] ราว ค.ศ. 1100 เรียกว่า "[[ฟู่หยี]]" ({{lang-zh|扶乩, 扶箕}}; [[พินอิน]]: fújī) โดยเป็นกิจกรรมที่มีการทำกันเป็นล่ำเป็นสัน ถึงขนาดมีตำราหรือคู่มือบันทึกไว้เลยทีเดียว ก่อนจะมาถูกห้ามในยุค[[ราชวงศ์ชิง]]ก่อน[[การปฏิวัติซินไฮ่]]ไม่นาน
'''ผีถ้วยแก้ว''' เป็นการละเล่นโบราณอย่างหนึ่งตาม[[ความเชื่อ]]ส่วนบุคคล โดยเชื่อว่าเป็นการอัญเชิญ[[วิญญาณ]] (หรือ[[ผี]]) มาสถิตใน[[ถ้วย]]แก้ว แล้วสอบถามเรื่องราวต่าง ๆ กับวิญญาณนั้นตามแต่จุดประสงค์ของผู้เล่น ผู้เล่นจะทราบคำตอบของคำถามจากการเคลื่อนที่ของถ้วยแก้วไปบนตัว[[อักษร]]ที่เขียนเอาไว้บนแผ่นกระดาษ
 
นอกจากนี้แล้วยังมีการละเล่นคล้ายคลึงกันนี้ในอินเดียโบราณ, กรีกโบราณ, โรมัน และยุโรปยุคกลางอีกด้วย
== ประวัติ ==
ในคำสอนตามคำภีร์ทางพระพุทธศาสนากล่าวว่า จิตของมนุษย์นั้นจะทำงานอยู่ตลอดเวลา ในเวลาที่เราคิดเรื่องใด ๆ ก็ตาม จะมีกระแสจิตกระจายออกมารอบ ๆ ซึ่งทำให้ผู้ที่ทำสมาธิจนสำเร็จฌาน สมาบัติ หรือได้สำเร็จวิชา "เจโตปริยญาณ" (หยั่งรู้วาระจิต) จะสามารถรับรู้กระแสความคิดของคนทุกคนได้ ซึ่งธรรมชาติของกระแสความคิดนี้มีทั้งในมนุษย์และสัตว์ทั่วไปด้วย ผู้ที่รับรู้กระแสความคิดของมนุษย์ได้นี้ นอกจากผู้ได้สำเร็จวิชาเจโตปริยญาณแล้ว ก็ยังมีพวกเทพ เทวดา ต่าง ๆ ด้วย รวมไปถึงพวกวิญญาณทั้งหลาย ที่ยังเร่ร่อนอยู่ในมิติที่ละเอียด ซึ่งตาของมนุษย์ธรรมดาจะไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งพวกเหล่านี้จะสามารถรับรู้กระแสความคิดของมนุษย์ได้เช่นกัน
 
โดยคำว่า "วีจา" (Ouija) ที่ใช้ในความหมายภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า "oui" ในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "ใช่" และ "ja" ในภาษาเยอรมันที่แปลว่า "ใช่" อีกเช่นเดียวกัน
== อุปกรณ์ ==
อุปกรณ์ที่สำคัญมีเพียงแผ่น[[กระดาษ]]หรือแผ่น[[ไม้]] ที่แบ่งเป็นช่องตาราง[[สี่เหลี่ยม]]หรือ[[วงกลม]] แล้วเขียนตัวอักษรหรือตัว[[เลข]]ลงไปให้ครบถ้วน พร้อมทั้งถ้วยแก้วหรือ[[ภาชนะ]]อย่างอื่นที่คล้ายกัน บ้างก็ใช้[[เหรียญ]]แทนถ้วยแก้ว เรียกว่า ''ผีเหรียญ'' นอกเหนือจากนี้ก็อาจเตรียมเครื่องเซ่น และ[[ธูป]] 1 ดอกเป็นส่วนประกอบ
 
รูปแบบของผีถ้วยแก้วจะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นกระดานที่มีตัวอักษรต่าง ๆ วรรณยุกต์ รวมถึงตัวเลข และมีตำแหน่งที่ใช้สำหรับพัก ก่อนจะอัญเชิญวิญญาณเข้ามาสิง โดยผีถ้วยแก้วของไทย จะใช้ถ้วยหรือแก้วที่ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นแก้วหรือถ้วยทรงใด ขนาดสูงแค่ไหน หรือมีสภาพแบบใด แต่มีข้อห้ามที่เหมือน ๆ กัน คือ ถ้วยนั้นต้องคว่ำ และระหว่างที่เล่นห้ามยกนิ้วออกเพราะจะถือว่าไม่เคารพวิญญาณหรือจะถูกวิญญาณเข้าสิงเป็นต้น บ้างก็เชื่อว่า จำนวนผู้เล่นมีได้สูงสุดสี่คน เป็นต้น ที่คล้ายคลึงกันระหว่างผีถ้วยแก้วของไทยและตะวันตก คือ ก่อนจะเลิกเล่น วิญญาณนั้นจะเคลื่อนไปยังตัวอักษรที่แสดงว่าคำทักทาย เช่น "สวัสดี" หรือ "ลาก่อน" ด้วย นอกจากนี้แล้วในส่วนของไทยยังมีการเล่นที่คล้ายคลึงกัน หากแต่ใช้เหรียญแทนถ้วย เรียกว่า "ผีเหรียญ" โดยเชื่อว่าใช้เหรียญใดก็ได้แต่ห้ามใช้เหรียญบาท ซึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ขององค์พระมหากษัตริย์
== วิธีการเล่น ==
ก่อนเล่นจะต้องมีการอัญเชิญวิญญาณมาเข้าในถ้วย ผู้ที่เล่นต้องตั้งจิตเป็นสมาธิ เอานิ้วชี้แตะรวมกันไว้บนถ้วยแก้วที่คว่ำลง แล้วถามคำถามจากวิญญาณที่เชิญมาเข้าในถ้วย วิญญาณจะบังคับถ้วยแก้วให้เดินไปตามอักษรแต่ละตัว แล้วผสมออกมาเป็นคำเพื่อถอดความหมาย
ท่องคาถาเรียนกผี ว่า พุทโธธายะ สามรอบโดยท่องคนละคำกรณีสามคน คนแรกท่อง พุท คนที่สอง โธ คนที่สาม ธา คนแรก ยะ จนครบสามรอบ แล้วเรียกวิญญาณ ถ้าเสร็จจากการเล่นผีถ้วยแก้วแล้ว ควรเอาแก้วไปฝังดินวิณาณไม่สามารถตามเราได้ หรือเก็บไว้ที่มิดชิด
 
ในทางวิทยาศาสตร์มักจะอธิบายว่า เหตุที่ถ้วยหรือแก้วเคลื่อนที่ได้เองนั้นเป็นผลมาจากสภาพจิตใจของผู้เล่น คือ [[จิตใต้สำนึก]] ซึ่งแท้จริงแล้วก็เป็นผู้เล่นนั่นเองที่เป็นผู้เคลื่อนถ้วยหรือแก้วเอง <ref>{{อ้างหนังสือ
== อ้างอิง ==
|ผู้แต่ง=ดร.[[นำชัย ชีววิวรรธน์]]
|ชื่อหนังสือ=อยากชวนเธอไปอำผี
|URL=
|จังหวัด=กรุงเทพฯ
|พิมพ์ที่=มติชน
|ปี=2560
|ISBN=978-974-02-1572-1
|จำนวนหน้า=232
|หน้า=65-79
}}
</ref>
 
{{เพิ่ม==อ้างอิง}}==
{{รายการอ้างอิง}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.jabchai.com/main/view_joke.php?id=1321 วิธีเล่นผีถ้วยแก้วและผีเหรียญบาท]
* [http://atcloud.com/stories/21259 วิธีเล่นผีถ้วยแก้ว]
[http://baanmordoo.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7/ ประวัติและการเล่นผีถ้วยแก้ว]
{{จบอ้างอิง}}
 
{{commons|Category:Ouija (board game)|ผีถ้วยแก้ว}}
[[หมวดหมู่:ความเชื่อ]]
[[หมวดหมู่:การทำนายดวงชะตา]]