ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อารยธรรมไมนอส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ใช้ปีคศ|width=260px}}
[[ไฟล์:KnossosSemune.jpg|thumb|260px|ส่วนหนึ่งของพระราชวังที่[[คนอสซอส]]ที่สร้างขึ้นให้เห็นภาพจากการขุดค้นของนักโบราณคดี]]
'''อารยธรรมไมนอส''' ({{lang-en|Minoan civilization}}) เป็น[[วัฒนธรรม]]ของ[[ยุคสำริด]]ที่เกิดขึ้นใน[[ครีต]] อารยธรรมไมนอสรุ่งเรืองระหว่างราวศตวรรษที่ 27 จนถึงกลางศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้น[[อารยธรรมไมซีนี]] (Mycenaean civilization) ก็เข้ามาแทนที่ อารยธรรมไมนอสพบเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยนักโบราณคดีชาวอังกฤษชื่อเซอร์[[Arthur Evans|อาร์เธอร์ อีแวนส์]] ตามคำกล่าวของวิลล์ ดูรันต์วัฒนธรรมครีตไมนอสมีตำแหน่งในประวัติศาสตร์ว่าเป็น “สิ่งแรกที่เชื่อมวัฒนธรรมยุโรป”<ref>Durant, ''The Life of Greece'' (''The Story of Civilization'' Part II, (New York: Simon & Schuster) 1939:11.</ref>
 
== บทนำ ==
ชนไมนอสจะเรียกตนเองว่าอย่างไรนั้นไม่เป็นที่ทราบแต่คำว่า “Minoan” (ไมนวน) ที่ใช้เรียกชื่อวัฒนธรรมในยุคที่กล่าวเป็นคำที่คิดขึ้นโดยอีแวนส์ โดยแผลงมาจาก “Minos” (ไมนอส) ซึ่งเป็นพระนามของพระมหากษัตริย์ใน[[ตำนานเทพเจ้ากรีก]]<ref>John Bennet, "Minoan civilization", ''Oxford Classical Dictionary'', 3rd ed., p. 985.</ref> ไมนอสเกี่ยวข้องกับตำนาน[[ลายวงกต|วงกต]] (labyrinth) ที่เอแวนสอีแวนส์พบว่าเป็นที่ตั้งของ[[คนอสซอส]] บางครั้งก็มีการโต้แย้งกันว่าคำว่าชื่อสถานที่ “Keftiu” ของ[[อียิปต์โบราณ]] หรือ “Kaftor” ของ[[ภาษาเซมีติก]] หรือ “Kaptara” ของ[[มารี, ซีเรีย|มารี]] ต่างก็หมายถึงเกาะครีต ใน “[[โอดิสซีย์]]” ที่ประพันธ์หลายร้อยปีหลังจากที่อารยธรรมไมนอสถูกทำลายไปแล้ว [[โฮเมอร์]]เรียกชนที่อาศัยอยู่บนเกาะว่า “อีทีโอเครทัน” (Eteocretan) หรือ “ครีตแท้” ที่อาจจะเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชนไมนอสก็เป็นได้
 
พระราชวังของไมนอสที่ได้รับการขุดพบเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญเพราะลักษณะการก่อสร้าง เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับการบริหารที่เห็นได้จากบันทึกเอกสารจำนวนมากที่พบโดยนักโบราณคดี พระราชวังแต่ละแห่งที่พบต่างก็มีลักษณะต่างกันออกไปที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์และมักจะเป็นสิ่งก่อสร้างหลายชั้นโดยมีบันไดทั้งภายในและภายนอกอาคาร คอลัมน์ขนาดยักษ์ และลานภายในอาคาร