ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ้าขาวม้า"
→ผ้าขาวม้าในภาคต่างๆ
{{ขาดอ้างอิง}}
'''<u>ผ้าขาวม้า</u>''' หรือ ผ้าเคียนเอว เป็น[[ผ้า]]สารพัดประโยชน์ที่คนไทยใช้มาแต่โบราณ เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของความเป็นไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจที่อยู่กับคนไทยมานานหลายยุคสมัย ที่ทุกท้องถิ่นต้องมีไว้ใช้ จนกลายเป็นผ้าสามัญประจำบ้านของชาวไทย มีลักษณะเป็นผ้ารูป[[สี่เหลี่ยมผืนผ้า]] ความกว้างประมาณ 2 [[ศอก]] ยาวประมาณ 3-4 ศอก เป็นผ้าสำหรับผู้ชายใช้นุ่งแบบลำลอง ความกว้างจึงเท่ากับระยะจากเอวถึงกลางหน้าแข้ง ความยาวเท่ากับระยะพันรอบตัวแล้วเหลือเศษอีกเล็กน้อย โดยมากทอเป็นลายตาราง[[หมากรุก]]เล็กๆ นิยมใช้ด้ายหลายสีทอสลับกันไปมา ซึ่งมักจะได้จากการทอด้วยเครื่องทอผ้าที่เรียกว่า
== '''ประวัติ''' ==
'''
ผ้าขาวม้าเป็นผ้าโบราณ คนไทยรู้จักการใช้ผ้าขาวม้าตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับยุคสมัยเชียงแสน โดยในสมัยเชียงแสนผู้หญิงมักจะนุ่งผ้าถุง ส่วนผู้ชายใช้ผ้าเคียนเอว (ผ้าขาวม้า) ซึ่งได้รับการถ่ายทอดวัฒนธรรมมาจากไทยใหญ่ แต่ชาวไทยใหญ่ใช้ผ้าขาวม้าในการโพกศรีษะ โดยคนไทยเรียนรู้จากเชียงแสนโดยใช้มาเคียนเอว จากนั้นเริ่มปรับประยุกต์ใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น ใช้ห่อเก็บสัมภาระเดินทาง ห่ออาวุธ นุ่งเวลาอาบน้ำ เช็ดตัว หรือปูนอน <ref name=":0">สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (http://www.lib.ru.ac.th/journal/loincloth.html)</ref>
โดยหลักฐานที่ปรากฏให้เห็นว่าคนไทยเริ่มใช้ผ้าขาวม้าในสมัยเชียงแสน มีปรากฏให้เห็นจากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ จ.น่าน และเมื่อดูการแต่งกายของหญิง - ชายไทยในสมัยอยุธยาจากภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 22 จะเห็นชาวอโยธยานิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า คาดพุง หรือนุ่งโจงกระเบนแล้วใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอตลบห้อยชายทั้งสองข้างไว้ด้านหลัง ส่วนสมัยรัตนโกสินทร์ ความนิยมใช้ประโยชน์ไม่จำกัดแต่เพียงเพศชายเหมือนในอดีต และไม่จำกัดเฉพาะทำเป็นเครื่องตกแต่งร่างกาย <ref name=":0" />
ผ้าขาวม้าเป็นอาภรณ์อเนกประสงค์ มีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนใหญ่ทอมาจากฝ้าย แต่ก็มีที่ทอจากเส้นไหมด้วยเช่นกัน หรือบางท้องถิ่นทอจากเส้นด้ายดิบและเส้นป่าน นิยมทอสลับสีเป็นลายตาหมากรุก หรือเป็นลายทาง โดยมากผลิตในแถบภาคเหนือหรือภาคอีสาน มีขนาดโดยทั่วไปกว้างประมาณ 3 คืบ ยาว 5 คืบ คุณสมบัติที่สำคัญของผ้าขาวม้าคือ เป็นผ้าทอลายทางตรงและขวางตัดกันมีขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้าพอเหมาะ ใช้งานได้หลากหลายสารพัดนึกยิ่งใช้นานยิ่งนุ่ม ซับน้ำได้ดี แห้งเร็ว ทนทานนานนับปี บางประเภทเป็นผ้าทอจากเส้นไหมราคาสูง มักใช้เป็นผ้าพาดไหล่ จนกระทั่งมีการนำผ้าขาวม้ามาเป็นชุดไทยพระราชทานชุดคาดเอว ถือเป็นจุดสำคัญที่ผ้าขาวม้าได้กลายเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ไทยสำหรับราคาจะแตกต่างกันออกไปตามวัสดุที่ใช้ (ถ้าเป็นผ้าไหมเนื้อดีจะมีราคาแพง นิยมใช้แตะพาดบ่าหรือพาดไหล่) ในยุคแรกคนไทยจะเรียกผ้าสารพัดประโยชน์ผืนนี้ว่า
นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของผ้าขาวม้ายังมีการถ่ายทอดผ่านความเชื่อจากเรื่องเล่า '''“นิทานกำเนิดผ้าขาวม้า”''' จากบันทึกของผ้าขาวม้ารำลึกตามรอยผ้าขาวม้าของพ่อ กล่าวว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีช่างทอผ้าผู้หนึ่งเกิดอุตริไปปัสสาวะรดต้นไม้ใหญ่ในป่าที่มีนางไม้สิงสถิตอยู่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นางไม้ด้วยความโกรธแค้นจึงแปลงร่างเป็นมดคันไฟเข้าไปกัดบริเวณที่ลับช่างทอผ้าจนบวมแดง ช่างทอผ้าหลังจากโดนนางไม้กัด(มดคันไฟ) ทุนรนทุรายอยู่หลายวัน ทั้งแสบทั้งคัน คิดว่าไม่นานอาการคงจะดีขึ้น คิดเพียงว่าแค่มดคันไฟกัดเดี๋ยวเดียวคงหาย ต่อมาปรากฏว่าอาการไม่ดีขึ้น ภรรยาของเขาจึงรีบไปตามหมอมารักษาอาการของช่างทอผ้า ซึ่งไม่มีวี่แววว่าจะหาย ต่อมาเดือดร้อนถึงพระภูมิเจ้าที่ประจำบ้านที่อดสมเพชเวทนาไม่ได้ จึงได้มาเข้าฝันช่างทอผ้าในค่ำคืนหนึ่ง เพื่อบอกถึงสาเหตุความทุกข์ทรมานของช่างทอผ้าและบอกวิธีการแก้ไข
คำบอกเล่าเกี่ยวกับความเชื่อของผ้าขาวม้ายังเกี่ยวข้องกับเรื่องเวทมนต์ ดังเรื่องเล่าเกี่ยวกับ หลวงพ่อพรหมวัดช่องแค ตำบลตากฟ้า อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ชาติภูมิเดิมเป็นชาวตำบลบ้านแพรก อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2477 ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญถึงรหัสปริศนาผ้าขาวม้าของชาวบ้าน จึงนำเอาผ้าขาวม้าของชาวบ้าน ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี ซึ่งมีรกรากจากชาวเวียงจันทน์ นำมาเสกด้วยพุทธาคม เป็น “ผ้าขาวม้ามหาเวทย์” เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ ชาวบ้านจะนำผ้าขาวม้ามาผูกไว้ที่เสาเอกแขวนไว้ที่ขื่อ ซึ่งมีความเชื่อว่าสามารถป้องกันขโมยวัว ควาย เป็ด ไก่ได้ บางแห่งนำไปขับไล่สิ่งไม่ดี เช่น นก หนู แมลง เพลี้ยกระโดด ไม่ให้ไปทำลายข้าวที่ตั้งไว้ในท้องไร่ท้องนา <ref>หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค. 2539.</ref>
== ผ้าขาวม้าในภาคต่างๆ <ref>[https://www.gotoknow.org/posts/467482]</ref> ==
=== ภาคเหนือ ===
ภาคเหนือ จะเรียกผ้าขาวม้าว่า “ผ้า
▲1) ผ้าขาวม้าจังหวัดแพร่ ปัจจุบันการทอผ้าขาวม้าของจังหวัดแพร่ มักจะพบในพื้นที่อำเภอเมือง อำเภอสูงเม่น อำเภอสอง และอำเภอร้องกวาง การทอลักษณะแบบ “จก” ที่บริเวณของผ้าขาวม้าด้วย เรียกว่า “ผ้าขาวม้ามีเชิง” เชิงของผ้าขาวม้าจะมีเทคนิคการจกลวดลายเพิ่มเติมเข้าไปในตัวผ้า ส่วนใหญ่จะเป็นลายหมากรุก หรือลวดลายเรขาคณิตทั่วไป ส่วนลายที่จกจะเป็นลายสัตว์ตามคตินิยม ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละกลุ่มชน เช่น ลายนก ลายช้าง ลายม้า เป็นต้น
▲2) ผ้าทอจังหวัดน่าน การทอผ้าของชาวน่านมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ดังปรากฏภาพฝาผนังในวัดภูมินทร์ ผ้าขาวม้าชาวน่านจะเรียกกันว่า “ผ้าตะโก้ง” ส่วนมากมักนิยมทอด้วยฝ้าย เส้นฝ้ายนั้นทำเองตั้งแต่ปั่นฝ้าย ย้อมสี และสีที่ใช้ทอมักจะเป็นสีจากเปลือกไม้กลัด ไม้ประดู่ มะเกือ ใบสัก เป็นต้น เดิมจะนิยมทอผ้าขาวม้าเป็นสีแดงดำ ซึ่งเป็นสีดั้งเดิม แต่ปัจจุบันนิยมทอผ้าขาวม้าให้มีสีคลาสสิคมากยิ่งขึ้น โดยเน้นสีเขียว ฟ้า น้ำตาล เป็นสีที่กลมกลืนกับธรรมชาติ บริเวณชายผ้ามักจะจกลายช้าง ลายม้า ลายเจดีย์ ลายยกดอกลวดลายที่ทอเน้นเกี่ยวกับความเชื่อ ความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ใช้ ผ้าทอของจังหวัดน่านจะคล้ายคลึงกับจังหวัดแพร่ แต่จะแตกต่างกับผ้าขาวม้าของที่อื่นตรงบริเวณเชิงผ้าที่มีการจกลายเพิ่มเติม แต่ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าของจังหวัดต่างๆ ก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การทอผ้าของจังหวัดแพร่และน่านจึงมีการถ่ายทอดความรู้ไปให้จังหวัดอื่นๆ บางพื้นที่จึงมีการทอผ้าขาวม้าและจกลายบริเวณเชิงผ้าเพิ่มเติมด้วย จัดว่าเป็นการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมอีกทางหนึ่ง
=== ภาคอีสาน ===
ภาคอีสาน จะเรียกผ้าขาวม้าว่า “ผ้า
▲1) ผ้าขาวม้าจังหวัดศรีสะเกษ ผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษได้รับอิทธิพลมาจากลาว สำหรับผ้าขาวม้าของศรีสะเกษนั้นจะมีการทอด้วยไหมและฝ้าย ผ้าขาวม้าที่ทอด้วยผ้าไหมจะทำในโอกาสพิเศษ หรืองานพิธีสำคัญเท่านั้น ส่วนลายของผ้าขาวม้าที่ทอจะเป็นลายเส้นขัดเป็นตารางหมากรุก นิยมใช้สีกั้น 2 หรือ 3 สี ในการทอจะใช้ “เขา” เพียง 2 เขา เท่านั้น วิธีการสร้างลายจะสับหูกเส้นเครือหรือเส้นยืนด้วยสีต่างกัน หรือจะใช้เส้นด้ายสีต่างกันพุ่งสลับกันตามต้องการ
▲2) ผ้าขาวม้าจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันมีการทอมากในกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ บ้านเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ชาวสุรินทร์มักใช้ผ้าขาวม้าในการแต่งกายประจำจังหวัดใน พิธีกรรมที่สำคัญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายมักจะมีผ้าขาวม้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ลายผ้าขาวม้าของจังหวัดสุรินทร์จะเป็นผ้าลายตารางสีแดงดำ เขียวเข้ม และชาวสุรินทร์จะมีผ้าข้าม้าประจำตระกูลเมื่อสิ้นบุญผู้อาวุโสมักจะมอบผ้าขาวม้าไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน
▲3) ผ้าขาวม้าจังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันการทอผ้าขาวม้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดมหาสารคาม จะอยู่ที่บ้านหนองหิน ตำบลโคกก่อ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม เอกลักษณ์โดดเด่น คือ เป็นผ้าขาวม้าทอมือ ด้วยสีธรรมชาติ มีการพัฒนาลวดลายให้ทันสมัยมากขึ้น ผ้าขาวม้าคุณภาพดีของกลุ่มยังถูกจัดส่งไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากทางจังหวัดให้พัฒนาด้านการตลาด มีการตั้งชื่อสินค้าในนาม “ศิลาภรณ์” และนำผ้าขาวม้าที่เป็นผ้าฝ้ายคุณภาพดี มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตัดเย็บเป็น เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า ผ้าห่มเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสีสันที่สวย สดใส ทันสมัย และมีการย้อมสีตามคำสั่งของลูกค้าผ้าขาวม้าบ้านหนองหิน มีชื่อเสียงโด่งดัง เพราะคุณภาพดี และตัวแทนของกลุ่มได้ไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เมืองทองธานีหลายครั้ง
▲4) ผ้าขาวม้าจังหวัดขอนแก่น จัดได้ว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีความวิจิตรพิสดารตระการตา ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เป็นลายเฉพาะของผ้าขาวม้าจังหวัดขอนแก่น ลายผ้าขาวม้าจะเป็นลาย “หมี่กง” ซึ่งเป็นต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่น ส่วนสีจะเน้นที่สี ม่วง แดง เขียว จัดเป็นสีดั้งเดิมของผ้าขาวม้าขอนแก่นและทำการทอลักษณะแบบ 3 ตะกอ จึงทำให้ผ้ามีลักษณะที่หนาเนื้อผ้าแน่น
▲5) ผ้าขาวม้าจังหวัดอุดรธานี มหัศจรรย์ผ้าขาวม้าอเนกประสงค์ ภูมิปัญญาชาวบ้านชุมชนดอนอีไข ได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ให้ทอผ้าขาวม้าพื้นบ้าน เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในหลายรูปแบบ เช่น ลายขาวดำ ลายขัดพื้น มีทุกสีให้เลือก นอกจากนั้นยังมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ตัดเย็บจากผ้าขาวม้าจำหน่าย ทั้งของสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี ในราคาตั้งแต่ 400-1,000 บาท
▲6) ผ้าขาวม้าจังหวัดยโสธร บ้านหัวเมือง ตำบลหัวเมือง อำเภอชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นหมู่บ้านคนขยัน ตั้งอยู่ในทุ่งกว้าง เขตรอยต่อทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนจากประธานกลุ่มแม่บ้าน หลังจากเสร็จสิ้นฤดูการทำนาหันมาทอผ้าขาวม้า ทอผ้าห่ม ซึ่งเป็นงานทอในขั้นพื้นฐาน เพื่อเก็บไว้ใช้เองในครอบครัว และใช้เป็นของฝากของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเหลือก็นำมาจำหน่าย ชาวบ้านรวมกลุ่มกันได้เหนียวแน่นจึงได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานพัฒนาชุมชน และมีการพัฒนาในด้านการตลาดมากขึ้น (ข่าวสด. วันที่ 12 ตุลาคม 2542 : 28)
=== ภาคกลาง ===
ภาคกลาง เรียก “ผ้าขาวม้า” ซึ่งมีผลิตกันโดยจะทอเป็น ผ้าฝ้ายทอเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามักมีลายตาหมากรุก ลายสก็อต ลายทาง และมีสีสันและขนาดของลวดลายแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไปมักใช้เส้นใยฝ้ายหรือเส้นใยโทเรเป็นหลัก
# <u>ผ้าขาวม้าพระนครศรีอยุธยา</u> ผ้าขาวม้าผืนเล็กใช้ทอผืนแคบ และจะมีบางผืนที่ทอผืนใหญ่เป็นพิเศษเอาไว้สำหรับตัดเป็นเสื้อผ้า หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ลวดลายคละสลับกันเป็นตารางหมากรุกประมาณครึ่งนิ้ว และมีสองสีสลับด้าน ด้านตามยาวของปลายทั้งสองข้าง ทำเป็นลายริ้วสลับสีกัน เช่น ขาวแดง ขาวแดง แดงดำ ขาวน้ำเงิน
# <u>ผ้าขาวม้าจังหวัดนครสวรรค์</u> จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าผ้าขาวม้ามักจะทอกันอยู่แถบตำบลบ้านไร่ อำเภอลาดยาว และอีกที่หนึ่งที่นิยมทอในปัจจุบัน บ้านตะเคียนเลื่อน ตำบลเกาะหงส์ อำเภอเมือง สีของผ้าขาวม้าจะเป็นสีที่ตัดกันทอเป็นลายตาสก๊อต นิยมใช้เส้นด้ายฝ้ายในการทอผ้าขาวม้า เพราะฝ้ายจะมีความนิ่มเนื้อละเอียด
# <u>ผ้าขาวม้าจังหวัดชัยนาท</u> จะมีลักษณะเป็นผ้าทอด้วยไหมประดิษฐ์ด้วยโทเรและฝ้ายออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมทอด้วยโทเร เป็นลายสก๊อต ลายทาง หรือลายสี่เหลี่ยม และผ้าขาวม้าของตำบลเนินขาม อำเภอหินตามีชื่อเรียกว่า “ผ้าขาวม้า 5 สี” คือ สีแดง เหลือง ส้ม เขียว ขาว โดยจะการย้อมผ้าจะทำเช่นเดียวกันกับผ้ามัดหมี่ คือ การมัดแล้วย้อมเป็นสีต่างๆ
# <u>ผ้าขาวม้าจังหวัดลพบุรี</u> ณ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี จัดได้ว่าเป็นแหล่งทอดผ้าพื้นเมืองที่เรียกได้ว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะผ้าดั้งเดิมของอำเภอบ้านหมี่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะชาวอำเภอบ้านหมี่เป็นชาวไทพวนที่อพยพมาจากประเทศลาว ดังนั้นผ้าขาวม้าอำเภอบ้านหมี่จึงถือว่าเป็นผ้าความม้าที่มีลวดลายสีสันสวยงาม และเป็นผลงานของผ้าทอมือที่ประณีตมาก
# <u>ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี</u> ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี ส่วนใหญ่จะทออยู่ 2 ลวดลาย คือ ลายหมากรุก และลายตาปลา เป็นผ้าขาวม้าที่สวยงามเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ราคาถูก และสีไม่ตก สำหรับผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรีจะรู้จักการในนาม “ผ้าทอบ้านไร่” แต่ในปัจจุบันผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรีมีชื่อเสียงโด่งดังมาก จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของคนรุ่นใหม่
=== ภาคใต้ ===
== '''ลักษณะของผ้าขาวม้า''' ==
ผ้าขาวม้า เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยโดยทั่วไปรู้จักกันดีมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนใหญ่ทอมาจากฝ้าย แต่บางครั้งอาจทอจากเส้นไหม ในบางท้องถิ่นนิยมทอจากเส้นด้ายดิบและเส้นป่าน นิยมทอสลับสีกันเป็นลายตาหมากรุกหรือเป็นลายทาง โดยมากผลิตในแถบภาคเหนือหรือภาคอีสาน มีขนาดความกว้าง
== '''คุณสมบัติของผ้าขาวม้า''' ==
|