ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ้าขาวม้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 21:
== ผ้าขาวม้าในภาคต่างๆ ==
 
=== 1. ภาคกลาง ===
1)      ผ้าขาวม้าพระนครศรีอยุธยา ผ้าขาวม้าผืนเล็กใช้ทอผืนแคบ และจะมีบางผืนที่ทอผืนใหญ่เป็นพิเศษเอาไว้สำหรับตัดเป็นเสื้อผ้า  หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  ลวดลายคละสลับกันเป็นตารางหมากรุกประมาณครึ่งนิ้ว  และมีสองสีสลับด้าน  ด้านตามยาวของปลายทั้งสองข้าง ทำเป็นลายริ้วสลับสีกัน เช่น ขาวแดง ขาวแดง  แดงดำ  ขาวน้ำเงิน
 
บรรทัด 34:
6)      ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี  ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี  ส่วนใหญ่จะทออยู่ 2 ลวดลาย คือ ลายหมากรุก และลายตาปลา เป็นผ้าขาวม้าที่สวยงามเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  ราคาถูก และสีไม่ตก สำหรับผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรีจะรู้จักการในนาม “ผ้าทอบ้านไร่”  แต่ในปัจจุบันผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรี     มีชื่อเสียงโด่งดังมาก  จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของคนรุ่นใหม่ ที่มีการพัฒนาสี  ลวดลาย  รูปแบบ ให้ผ้าขาวม้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยมากขึ้นในชื่อ “Pakamian”
 
=== 2. ภาคอีสาน ===
ภาคอีสาน จะเรียกผ้าขาวม้าว่า ผ้าแพ ผ้าแพอีโป้ ผ้าขาวม้า ซึ่งในอีสานเองจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ผ้าแพรขาวม้าจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคล้ายตาหมากรุก และผ้าแพรใส้ปลาไหล หรือผ้าแพลิ้นแลน และในพจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน ก็จะเรียกว่า ผ้าขัดด้าม ผ้าขาวด้าม หรือผ้าด้าม
 
บรรทัด 49:
6)      ผ้าขาวม้าจังหวัดยโสธร  บ้านหัวเมือง ตำบลหัวเมือง อำเภอชนะชัย  จังหวัดยโสธร เป็นหมู่บ้านคนขยัน  ตั้งอยู่ในทุ่งกว้าง  เขตรอยต่อทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนจากประธานกลุ่มแม่บ้าน  หลังจากเสร็จสิ้นฤดูการทำนาหันมาทอผ้าขาวม้า  ทอผ้าห่ม ซึ่งเป็นงานทอในขั้นพื้นฐาน เพื่อเก็บไว้ใช้เองในครอบครัว และใช้เป็นของฝากของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ  เมื่อเหลือก็นำมาจำหน่าย ชาวบ้านรวมกลุ่มกันได้เหนียวแน่นจึงได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานพัฒนาชุมชน  และมีการพัฒนาในด้านการตลาดมากขึ้น  (ข่าวสด. วันที่ 12 ตุลาคม 2542  : 28)
 
=== 3. ภาคเหนือ ===
ภาคเหนือ จะเรียกผ้าขาวม้าว่า ผ้าหัว ผ้าตะโก้งหรือตาโก้ง ซึ่งจะหมายถึงผ้าลายตาราง ผ้าเตี่ยว