ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ้าขาวม้า"
→ภาคกลาง
คำบอกเล่าเกี่ยวกับความเชื่อของผ้าขาวม้ายังเกี่ยวข้องกับเรื่องเวทมนต์ ดังเรื่องเล่าเกี่ยวกับ หลวงพ่อพรหมวัดช่องแค ตำบลตากฟ้า อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ชาติภูมิเดิมเป็นชาวตำบลบ้านแพรก อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2477 ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญถึงรหัสปริศนาผ้าขาวม้าของชาวบ้าน จึงนำเอาผ้าขาวม้าของชาวบ้าน ตำบลหนองน้ำใส อำเภอภาชี ซึ่งมีรกรากจากชาวเวียงจันทน์ นำมาเสกด้วยพุทธาคม เป็น “ผ้าขาวม้ามหาเวทย์” เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ ชาวบ้านจะนำผ้าขาวม้ามาผูกไว้ที่เสาเอกแขวนไว้ที่ขื่อ ซึ่งมีความเชื่อว่าสามารถป้องกันขโมยวัว ควาย เป็ด ไก่ได้ บางแห่งนำไปขับไล่สิ่งไม่ดี เช่น นก หนู แมลง เพลี้ยกระโดด ไม่ให้ไปทำลายข้าวที่ตั้งไว้ในท้องไร่ท้องนา <ref>หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค. 2539.</ref>
== ผ้าขาวม้าในภาค
=== 1. ภาคกลาง ===
1) ผ้าขาวม้าพระนครศรีอยุธยา ผ้าขาวม้าผืนเล็กใช้ทอผืนแคบ และจะมีบางผืนที่ทอผืนใหญ่เป็นพิเศษเอาไว้สำหรับตัดเป็นเสื้อผ้า หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ลวดลายคละสลับกันเป็นตารางหมากรุกประมาณครึ่งนิ้ว และมีสองสีสลับด้าน ด้านตามยาวของปลายทั้งสองข้าง ทำเป็นลายริ้วสลับสีกัน เช่น ขาวแดง ขาวแดง แดงดำ ขาวน้ำเงิน
6) ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี ส่วนใหญ่จะทออยู่ 2 ลวดลาย คือ ลายหมากรุก และลายตาปลา เป็นผ้าขาวม้าที่สวยงามเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ราคาถูก และสีไม่ตก สำหรับผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรีจะรู้จักการในนาม “ผ้าทอบ้านไร่” แต่ในปัจจุบันผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรี มีชื่อเสียงโด่งดังมาก จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของคนรุ่นใหม่ ที่มีการพัฒนาสี ลวดลาย รูปแบบ ให้ผ้าขาวม้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยมากขึ้นในชื่อ “Pakamian”
=== 2. ภาคอีสาน ===
1) ผ้าขาวม้าจังหวัดศรีสะเกษ ผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษได้รับอิทธิพลมาจากลาว สำหรับผ้าขาวม้าของศรีสะเกษนั้นจะมีการทอด้วยไหมและฝ้าย ผ้าขาวม้าที่ทอด้วยผ้าไหมจะทำในโอกาสพิเศษ หรืองานพิธีสำคัญเท่านั้น ส่วนลายของผ้าขาวม้าที่ทอจะเป็นลายเส้นขัดเป็นตารางหมากรุก นิยมใช้สีกั้น 2 หรือ 3 สี ในการทอจะใช้ “เขา” เพียง 2 เขา เท่านั้น วิธีการสร้างลายจะสับหูกเส้นเครือหรือเส้นยืนด้วยสีต่างกัน หรือจะใช้เส้นด้ายสีต่างกันพุ่งสลับกันตามต้องการ
6) ผ้าขาวม้าจังหวัดยโสธร บ้านหัวเมือง ตำบลหัวเมือง อำเภอชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นหมู่บ้านคนขยัน ตั้งอยู่ในทุ่งกว้าง เขตรอยต่อทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนจากประธานกลุ่มแม่บ้าน หลังจากเสร็จสิ้นฤดูการทำนาหันมาทอผ้าขาวม้า ทอผ้าห่ม ซึ่งเป็นงานทอในขั้นพื้นฐาน เพื่อเก็บไว้ใช้เองในครอบครัว และใช้เป็นของฝากของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเหลือก็นำมาจำหน่าย ชาวบ้านรวมกลุ่มกันได้เหนียวแน่นจึงได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานพัฒนาชุมชน และมีการพัฒนาในด้านการตลาดมากขึ้น (ข่าวสด. วันที่ 12 ตุลาคม 2542 : 28)
=== 3. ภาคเหนือ ===
ภาคเหนือ จะเรียกผ้าขาวม้าว่า ผ้าหัว ผ้าตะโก้งหรือตาโก้ง ซึ่งจะหมายถึงผ้าลายตาราง ผ้าเตี่ยว
|