ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ป้ายสุสาน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
== ที่มา ==
แท่งหินประดับหลุมศพ<ref>มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545</ref> (stele) ในบริบทของโบราณคดีเป็นรูปแบบของศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดของ[[ศิลปะเกี่ยวกับความตาย]] เดิมศิลาจารึกหน้าหลุมศพมาจากฝาของ[[โลงหิน]] และ แผ่นหินหน้าหลุมศพก็มาจากแผ่นหินที่วางทับบนหลุมศพ[[grave (burial)|หลุมศพ]] ในปัจจุบันคำเหล่านี้ใช้สำหรับเครื่องหมายที่ตั้งเหนือหลุมศพ เดิมหลุมศพในคริสต์ทศวรรษ 1700 จะมีหินไม่แต่ที่หัวของหลุม (Headhead) แต่ที่ตรงปลายสุดของหลุมด้วย หินตรงปลายหลุมมักจะไม่มีการแกะสลักนอกไปจากอักษรย่อของชื่อผู้เสียชีวิตเท่านั้น และสุสานหลายสุสานก็ถอนทิ้งไปเพื่อที่จะได้ทำการตัดหญ้าได้ง่ายขึ้น สิ่งที่น่าสังเกตคือในบางสุสานในสหราชอาณาจักร ป้ายสุสานจะตั้งอยู่ที่ปลายเท้าของหลุมศพ
 
หลุมศพเป็นสถานที่ที่สร้างขึ้นเพื่อการรำลึกถึงผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว บนศิลาจารึกบางแผ่นก็จะทิ้งช่องว่าไว้สำหรับเพิ่มเติมชื่อของสามีภรรยาหรือญาติพี่น้องที่มาเสียชีวิตในภายหลัง ฉะนั้นศิลาจารึกบางแผ่นจึงเป็นหลักฐานที่แสดงประวัติการตายของตระกูลตามลำดับเวลาหลายสิบปี นอกจากการเป็นการแสดงที่ฝังผู้ตายแล้วป้ายสุสานและที่ฝังศพในสุสานก็ยังเป็นเครื่องแสดงฐานะทั้งทางสังคมและทางเศรษฐกิจของผู้ตายอีกด้วย ฉะนั้นป้ายสุสานบางชิ้นก็อาจจะเป็นงานที่จ้างโดยผู้ที่ยังไม่เสียชีวิตก็ได้ ในสมัยโบราณผู้ที่มีฐานะหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ร่ำรวยพอที่จะสร้าง[[อนุสรณ์ผู้ตาย|อนุสรณ์]]ภายในคริสต์ศาสนสถานได้ก็จะสร้างกันภายในคริสต์ศาสนสถานแทนที่จะเป็นศิลาจารึกที่ตากแดดตากฝนอยู่ภายนอก