ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคว้นพะเยา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
RJFF (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
|}
 
'''แคว้นพะเยา'''<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 256</ref> หรือ '''นครรัฐพะเยา'''<ref>สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 62</ref> เป็นนครรัฐอิสระ<ref name="สรัส"/>ใน[[จังหวัดพะเยา]] ตั้งอยู่ใกล้[[แม่น้ำน้ำแม่อิง]]ซึ่งไหลลงมาจาก[[เทือกเขาผีปันน้ำ]] เป็นอาณาจักรร่วมสมัยเดียวกับยุคปลายของ[[หิรัญนครเงินยางเชียงแสน]]
 
แคว้นพะเยาเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในรัชกาล[[พญางำเมือง]] เคยขยายอำนาจปกครอง[[นครรัฐน่าน]]ระยะหนึ่ง ทั้งยังมีความสัมพันธ์อันดีกับ[[อาณาจักรล้านนา]] และ[[อาณาจักรสุโขทัย]] แต่ภายหลังในช่วงปี พ.ศ. 1877-1879 พะเยาถูกผนวกเข้ากับล้านนาในสมัย[[พญาคำฟู]]ที่เข้าปล้นพะเยาจากความร่วมมือของนครรัฐน่าน<ref name="วดี">สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 66</ref>
บรรทัด 49:
 
== ประชากร ==
ด้วยความที่พะเยาเป็นผลจากการขยายตัวของเมืองเงินยางที่ขยายลงมายังที่ราบลุ่มเชียงราย-พะเยา เป็นดินแดนที่เรียกว่า "โยนก" ที่มีประชากรเป็น ''[[ไทยวน]]'' ด้านการตั้งถิ่นฐานจะกระจายตามแอ่งหรือที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นแนวยาวตาม[[แม่น้ำน้ำแม่อิง|ลำน้ำอิง]]<ref name="พะเยา">{{cite web |url=http://heritage.mod.go.th/nation/oldcity/phayao2.htm|title=พัฒนาการทางประวัติศาสตร์|author=|date=|work= |publisher=หอมรดกไทย|accessdate=17 มกราคม 2557}}</ref> เมื่อขุนจอมธรรมตั้งเมืองพะเยา ได้รวบรวมไพร่พลจากหัวเมืองต่าง ๆ ได้ 80,000 คน แบ่งเป็น 36 พันนา นาละ 500 คน<ref name="พะเยา1">{{cite web |url=http://www.phayao.go.th/history-3.html|title=ประวัติความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญ|author=|date=|work= |publisher=เว็บไซต์จังหวัดพะเยา|accessdate=18 มกราคม 2557}}</ref> ชุมชนที่เกิดขึ้นในระยะแรก ๆ เป็นชุมชนเล็ก ๆ แยกกันอยู่เป็นแห่ง ๆ มีผู้นำชุมชนในนามของเจ้าผู้ปกครอง การตั้งชุมชนบ้านและเมืองได้พัฒนาจากถิ่นฐานที่อยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่า ผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างถิ่นที่เจริญกว่า<ref name="พะเยา"/> นอกจากนี้ประชากรบางส่วนเป็น[[ชาวกาว]] โดยเฉพาะที่เมืองงาวที่อยู่ใกล้กับ[[นครรัฐน่าน]]ที่มีชาติพันธุ์เดียวกัน<ref>เฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมี. ''ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นปกครองของล้านนาและสุโขทัย : ข้อคิดใหม่และข้อสังเกตบางประการ''. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559, หน้า 14</ref>
 
ทั้งนี้แคว้นพะเยาแต่เดิมนับถือผี<ref name="พะเยา"/> ต่อมา[[พญางำเมือง]]ได้มีศรัทธารับคติพุทธศาสนาจากหริภุญชัยมาประดิษฐานในแคว้น<ref name="ศาสนา">สุจิตต์ วงษ์เทศ (2537, กรกฎาคม). "คำให้การของบรรณาธิการ". ''ศิลปวัฒนธรรม''. (15:9), หน้า 18</ref> หลังการรับพุทธศาสนาจึงมีการสร้างพระพุทธรูปหินทรายและศาสนาวัตถุอื่น ๆ<ref name="พะเยา"/> กษัตริย์ทรงนับถือศาสนาพุทธ และตั้งพระองค์ตามหลักทศพิศราชธรรม<ref name="พะเยา1"/>
 
== ภูมิศาสตร์ ==
จากการขยายตัวของราชวงศ์ลาวที่ขยายตัวลงมาตามที่ราบลุ่มเชียงราย-พะเยา ทั้งนี้ตัวเมืองพะเยาตั้งอยู่บน[[แม่น้ำน้ำแม่อิง|ลุ่มน้ำอิง]]ที่ไหลลงสู่[[กว๊านพะเยา]] เป็นที่ราบปลายภูเขาที่มีชื่อเรียกตามตำนานว่า "ภูยาว" ต่อมาได้กลายเป็นคำว่า "พยาว" และเป็น "พะเยา" ที่ตั้งเมืองมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำสองแหล่งคือ [[แม่น้ำน้ำแม่อิง]]และ[[กว๊านพะเยา]] และเป็นที่ราบกว้างใหญ่เหมาะสมแก่การตั้งเมือง<ref name="ที่ตั้ง">สรัสวดี อ๋องสกุล. ''ประวัติศาสตร์ล้านนา''. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552. หน้า 62-63</ref>
 
เมื่อขุนจอมธรรมมาตั้งเมืองพะเยา เวียงแห่งแรกมีผังเมืองเป็นรูปน้ำเต้าเรียก "เวียงน้ำเต้า" ต่อมาในสมัยพญาสิงหราชได้มีการขยายชุมชนออกมาทางกว๊านพะเยาเพราะใกล้แหล่งน้ำเป็นเวียงรูปสี่เหลี่ยมเรียก "เวียงลูกตะวันตก" และถือว่าเวียงทั้งสองเป็นเวียงแฝด ทั้งยังเป็นเวียงหลักของพะเยา นอกจากนี้ยังมีเวียงบริวาร ได้แก่ เวียงพระธาตุจอมทอง, เวียงปู่ล่าม, เวียงหนองหวี และเวียงต๋อม<ref name="พะเยา"/>