ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฉบับพระเจ้าเจมส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: thumb|ปกฉบับพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1611 '''ฉบับพร...
 
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
ในการแปลนั้น คณะทำงานประกอบด้วยบัณฑิต 47 คน ทุกคนเป็นสมาชิกคริสตจักรอังกฤษ{{sfn|Daniell|2003| p=436}} การดำเนินงานเป็นไปในทำนองเดียวกับคำแปลชุดอื่น ๆ ในยุคนั้น คือ ภาคพันธสัญญาเดิม แปลจากเอกสาร[[ภาษาฮีบรู]]และ[[ภาษาแอราเมอิก]], ภาคนอกสารบบ แปลจากเอกสาร[[Koine Greek|ภาษากรีกแบบคอยเน]]และ[[ภาษาละติน]], ส่วนภาคพันธสัญญาใหม่ แปลจากเอกสารภาษากรีกแบบคอยเน นอกจากนี้ พระเจ้าเจมส์ยังมีพระราโชวาทกำกับการทำงาน ด้วยหมายพระทัยจะให้คำแปลฉบับใหม่สอดคล้องกับ[[ecclesiology|วิทยาการพระศาสนจักร]] (ecclesiology) รวมถึงสะท้อน[[Episcopal polity|โครงสร้างการปกครอง]]และความเชื่อใน[[Holy Orders|คณะสงฆ์]]ของคริสตจักรอังกฤษ{{sfn|Daniell|2003| p=439}} เมื่อสำเร็จแล้ว [[Robert Barker (printer)|รอเบิร์ต บาร์เกอร์]] (Robert Barker) [[King's Printer|ผู้พิมพ์หลวง]] เป็นผู้ตีพิมพ์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1611
 
คำแปลฉบับพระเจ้าเจมส์นี้มีชื่อเสียงด้าน "โวหารอลังการ" (majesty of style) และนับเป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญทางวัฒนธรรมอังกฤษ<ref name="hunt20110209">{{cite news | url=http://entertainment.timesonline.co.uk/tol/arts_and_entertainment/the_tls/article7171739.ece|archive-url=https://web.archive.org/web/20110617001812/http://entertainment.timesonline.co.uk/tol/arts_and_entertainment/the_tls/article7171739.ece|archive-date=2011-06-17 | title=400 years of the King James Bible | accessdate=8 March 2011 | date=9 February 2011 | publisher=The Times Literary Supplement}}</ref> ทั้งยังเป็นแรงผลักดันให้เกิดการหลอมรวมโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษ<ref>{{cite web|url=http://www.bbc.co.uk/programmes/b00zmc6f|title=The King James Bible: The Book That Changed the World - BBC Two|website=BBC}}</ref> คำแปลฉบับนี้ยังเป็นที่ยึดถือในคริสตจักร[[แองกลิคัน]]และ[[โปรเตสแตนต์]] เว้นแต่ส่วน[[เพลงสดุดี]] (Psalms) และข้อความสั้นบางตอน ที่ใช้ตาม ''[[Book of Common Prayer|หนังสือสวดมนต์ทั่วไป]]'' (Book of Common Prayer) คำแปลฉบับพระเจ้าเจมส์ไม่มีผู้ตั้งปัญหาเรื่องความถูกต้องแม่นยำเลยในตลอดครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทั้งนักวิชาการที่ใช้ภาษาอังกฤษก็ยึดเป็นพระคัมภีร์ฉบับมาตรฐานแทนเอกสาร[[Latin Vulgate|วัลเกตภาษาละติน]] (Latin Vulgate) ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษเดียวกันนั้น จนเมื่อการพิมพ์แบบ[[สเตริโอไทป์]] (stereotype) พัฒนาขึ้นเมื่อในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 คำแปลฉบับพระเจ้าเจมส์ก็กลายเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์บ่อยครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมักยึดฉบับพิมพ์ ค.ศ. 1769 ที่[[Benjamin Blayney|เบนจามิน เบลย์นีย์]] (Benjamin Blayney) จาก[[มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด]] ปรับปรุง เป็นแม่แบบ และมักตัดภาคนอกสารบบออก ดังนั้น เมื่อกล่าวถึงพระคัมภีร์พระเจ้าเจมส์ ปัจจุบันก็มักเข้าใจถึงฉบับออกซ์ฟอร์ดนี้
 
คำแปลฉบับพระเจ้าเจมส์ได้รับการแปลต่อเป็นหลายภาษา รวมถึงฉบับภาษาไทยที่[[สมาคมพระคริสตธรรมไทย]]ดำเนินการตั้งแต่ ค.ศ. 1920 จนถึง ค.ศ. 1940<ref>{{cite web|url=http://www.thaibible.or.th/home/ministry/bibletranslation/306-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2|title=วิวัฒนาการของการแปลพระคัมภีร์ไทย|date=ม.ป.ป.|publisher=สมาคมพระคริสตธรรมไทย|location=กรุงเทพฯ|accessdate=2017-11-23|author=สมาคมพระคริสตธรรมไทย|website=thaibible.or.th}}</ref>