ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วงจรประเสริฐและวงจรอุบาทว์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
'''วงจรอุบาทว์''' ({{lang-en|Vicious Cycle}}) หมายถึง วงจร หรือ วัฏจักร ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมลงไปเรื่อยๆ และหากไม่มีการแทรกแซงหรือแก้ไข วัฏจักรนี้ก็จะดำเนินต่อไปไม่สิ้นสุด มักใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า Virtuous Cycle
 
อาจใช้เป็นคำศัพท์ทางการเมืองการปกครองของประเทศไทยเพื่อแสดงถึงวงจรการเลือกตั้งที่เกิดจาการซื้อเสียง คือ ถ้ารัฐบาลได้ที่รับเลือกตั้งเป็นผลมาจากการ[[ซื้อเสียง]] เมื่อ[[รัฐบาล]]นั้นปกครองประเทศก็มีแนวโน้มที่จะโกงกินและ[[คอร์รัปชั่น]] เพื่อให้เกิดประโยชน์ส่วนตัว จนกระทั่งหมดสมัย เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ก็มีแนวโน้มที่รัฐบาลเดิมจะได้รับเลือกตั้งเนื่องด้วยการซื้อเสียง ด้วยเงินที่ได้จากการโกงกินขณะเป็นรัฐบาล ทำให้[[พรรคการเมือง]]อื่นๆ ไม่สามารถเข้าไปเป็นรัฐบาลได้ และจะเป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ไป{{อ้างอิง}}
วงจรอุบาทว์ อาจจะใช้ได้กับประเด็นต่างๆ ในทางการเมืองที่ เมื่อมีการกล่าวถึงแล้ว อาจสามารถสร้างความแตกแยกในสังคมได้ เนื่องจากเป็นประเด็นที่ต่างฝ่ายต่างมีความคิดต่างกันสุดขั้วในประเด็นนั้นๆ โดยประเด็นที่ถูกยกมาใช้นั้น มีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละประเทศ
{{โครงเศรษฐศาสตร์}}
 
== ประเทศไทย ==
ความหมายของคำว่าวงจรอุบาทว์ ที่ใช้อธิบายการเมืองไทย ส่วนมากอธิบายถึง เหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ ประชาชนคนไทยไม่หลุดพ้นทางการเมือง การปกครอง ระหว่าง ระบบรัฐสภา โดยรัฐบาลพลเรือน หรือ ระบบเผด็จการทหาร ที่มาจากการรัฐประหาร ยึดอำนาจประชาชน ซึ่งมีการเกิดขึ้นสลับกันไปมา นับตั้งแต่มี[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]] ซึ่งที่ผ่านมา มีการรัฐประหารมาแล้ว ถึง 13 ครั้ง
 
ซึ่งขบวนการที่ทำให้เกิดวงจรอุบาทว์ในประเทศไทยนั้น มีการกระทำหลายอย่าง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการ "ทำซ้ำ" เช่น การกล่าวหา ว่านักการเมืองโกง ซื้อเสียง ทั้งที่ยังไม่มีการพิสูจน์, เป็นเผด็จการรัฐสภา, สร้างวาทกรรมล้มเจ้า และการจัดตั้งมวลชน ที่ทำให้เกิดการสร้างสถานการณ์ต่างๆ ที่นำไปสู่การฉีกรัฐธรรมนูญ และรัฐประหารซ้ำแล้วซ้ำเล่า <ref>http://thongkum.blogspot.com/2016/01/blog-post_77.html</ref>
 
[[หมวดหมู่:การเงิน]]