ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้ามังระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ตามสากล
Banklive (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18:
}}
 
'''พระเจ้ามังระ''' หรือ '''พระเจ้าซินพะยูชิน''' ({{lang-my|ဆင်ဖြူရှင်}};‌ {{lang-roman| Hsinbyushin}}) เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในจำนวน 6 พระองค์ของ[[พระเจ้าอลองพญา]] ปฐมกษัตริย์[[ราชวงศ์อลองพญา]]หรือราชวงศ์คองบอง ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์อลองพญา ในปี พ.ศ. 2306 พระองค์ได้ตามเสด็จพระเจ้าอลองพญาออกรบตั้งแต่อายุ15ปี เมื่ออายุ17ปี ก็สามารถเป็นผู้นำทัพเข้ายึดกรุงอังวะจากทหารมอญทั้งที่มีกำลังพลน้อยกว่ามากได้อย่างน่าประหลาดใจ ครั้นอายุ20 ก็ช่วย[[พระเจ้าอลองพญา]]รวมแผ่นดินสถาปนาราชวงค์คองบองได้สำเร็จ อีกทั้งยังได้เป็นผู้ติดตามพระราชบิดามาทำสงครามกับอยุธยาในการบุกครั้งแรกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2306 หลังจากขึ้นครองราชย์ พระองค์ปรารภในที่ประชุมขุนนางว่า ''"อยุธยาไม่เคยแพ้อย่างราบคาบมาก่อน"'' พระองค์สืบทอดเจตนารมณ์ของพระราชบิดา ด้วยการส่ง[[เนเมียวสีหบดี]]เข้ามากวาดต้อนผู้คนและกำลังพลจากหัวเมืองทางเหนือก่อนในปี พ.ศ. 2307 และได้ส่งทัพจากทางใต้คือ[[มังมหานรธา]]เข้ามาเสริมช่วยอีกทัพหนึ่ง ทั้ง 2 ทัพได้ล้อมกรุงศรีอยุธยานานถึง 1 ปีกับสองเดือน แม้ถึงฤดูน้ำหลากก็ไม่ยกทัพกลับ สามารถเข้าตีพระนครได้เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ตรงกับวันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า ปีกุน <ref>Myint-U, p. 90</ref><ref name=rlf-88>Myint-U, pp. 88–91</ref>
 
== พระนาม ==
พระเจ้ามังระ มีพระนามที่ปรากฏในพงศาวดารพม่าว่า "เซงพะยูเชง" โดยเป็นพระนามที่พระองค์ตั้งเอง อันเป็นพระนามเดียวกับ [[พระเจ้าบุเรงนอง]] ซึ่งแปลว่า "[[พระเจ้าช้างเผือก]]" ก่อนที่จะยกทัพตีอยุธยา พระเจ้ามังระได้ยกความชอบธรรมเหนือดินแดนอยุธยามาแต่ครั้งพระเจ้าบุเรงนอง
 
ทรงเป็นนักรบ และนักการทหารที่เก่งกาจที่สุดพระองค์หนึ่งแห่งยุค โดยจะเห็นได้จากการทำสงครามแต่ละครั้งพระองค์จะทรงเป็นผู้มองภาพรวม และมอบหมายงานให้แม่ทัพแต่ละคนได้แสดงความสามรารถอย่างเต็มที่ โดยในยุคของพระองค์มีแม่ทัพที่เก่งกาจอยู่มากทั้ง [[อะแซหวุ่นกี้]], [[มังมหานรธา]], [[เนเมียวสีหบดี]], [[เนเมียวสีหตู]] และ[[บาลามินดิน]] โดยจะมีพระองค์เป็นจอมทัพที่จะคอยกำหนดภาพรวมของสงคราม และคอยสนับสนุนแม่ทัพต่างๆเมื่อถึงเวลา
 
[[ไฟล์:Konbaung.png|thumb|รวมอาณาเขตที่เข้ามาสวามิภักดิ์ และอาณาเขตที่สามารถพิชิตได้ในยุคของพระเจ้ามังระ (ยกเว้นแคว้นยะไข่)]]
บรรทัด 40:
== ศึกกับอาณาจักรอยุธยา ==
{{บทความหลัก|การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง}}
พระองค์ทรงเป็นผู้ที่เคยติดตามพระบิดาคือ [[พระเจ้าอลองพญา]] มาทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยา และเห็นพระบิดาของพระองค์สิ้นไปในศึกครั้งนี้ทำให้พระองค์มีความมุ่งมั่นที่จะพิชิตอาณาจักรอยุธยาเพื่อสานต่อปณิธานของบิดา รวมไปถึงการอ้างสิทธิครั้ง[[พระเจ้าบุเรงนอง]]เหนืออาณาจักรอยุธยา โดยในศึกครั้งนี้พระองค์ทรงกำหนดวิธีการพิชิตอาณาจักรอยุธยาโดยส่งแม่ทัพ[[มังมหานรธา]] และ[[เนเมียวสีหบดี]]โดยแบ่งเป็นฝ่ายเหนือ-ใต้ ให้ไล่ยึดหัวเมืองต่างๆเพื่อโดดเดียวอยุธยา จากนั้นก็ให้รวมไพร่พลระหว่างการเดินทัพ ซึ่งการมาครั้งนี้เป็นการจงใจมาในจังหวะที่อาณาจักรอยุธยาอ่อนแอ เนื่องจากแม่ทัพห่างสงครามมายาวนาน และภายในก็ระส่ำระส่ายจากขุนนางฉ้อฉน
 
พระองค์ทรงมีบทเรียนมาจากคราวทำศึกกับอาณาจักรอยุธยาครั้งแรก โดยมองออกว่าแม้ตัวเมืองอยุธยานั้นจะบุกได้ยากเนื่องจากมีลักษณะเป็นเกาะ แต่นั้นก็เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะหากเกาะที่ขาดกำลังบำรุงแม้จะแข็งแกร่งหรือมีไพร่พลมากซักเพียงใด สุดท้ายอาหารก็ต้องหมด การรักษาภาพรวมเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนผ่านผ่านฤดูน้ำหลากไปได้ ภายในเมืองย่อมระส่ำ ระส่าย และการณ์ก็เป็นเช่นนั้น เมื่อกองทัพพม่าสามารถพิชิตกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 ตรง กับวันอังคาร ขึ้นเก้าค่ำ เดือนห้า ปีกุน และนั้นแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่พระองค์คิดนั้นถูกต้อง กองทัพพม่าสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ได้ <ref>Phayre, pp. 188–190</ref>
 
== สงครามจีน-พม่า ==
บรรทัด 59:
== หมายพิชิตกรุงธนบุรี ==
{{บทความหลัก|สงครามอะแซหวุ่นกี้}}
พระเจ้ามังระทราบว่าขณะนี้ทางอยุธยากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง ราชธานีแห่งใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นนั้นคือ[[กรุงธนบุรี]] แต่ในช่วงเวลานี้ภัยคุกคามจากต้าชิงสำคัญกว่ามาก เพราะหากพลาดพลั้งนั้นหมายถึงการล่มสลายของอาณาจักรคองบองที่พระองค์เพียรสร้างขึ้น ดั่งเช่นอาณาจักรพุกามที่ถูกกองทัพมองโกลทำลายล้างในอดีต หลังจากจบศึกกับต้าชิง พระองค์ประเมินแล้วว่าอาณาจักรของพระองค์บอบช่ำเกินกว่าจะทำศึกต่อไปได้อีก พระองค์จึงทรงให้ไพร่พลได้พักฟื้นถึง 5 ปี ในระหว่างพักพื้นนั้นก็ได้มีการตระเตรียมเสบียงอาหารเอาไว้ เพื่อใช้สำหรับทำศึกกับอาณาจักรที่พึ่งก่อตั้งอย่างกรุงธนบุรี หลังเตรียมการเป็นอย่างดีในปี [[พ.ศ. 2318]] พระเจ้ามังระได้ให้[[อะแซหวุ่นกี้]]เป็นแม่ทัพใหญ่ลงมาทำศึกด้วยตนเอง อะแซหวุ่นกี้ได้นำทัพ 35000 นาย พิชิตหัวเมืองต่างๆมาได้ตลอดทางรวมแล้วมีกำลังพลมากกว่า 50,000 นาย จนสามารถตีเมืองพิษณุโลกแตกและเตรียมรวมทัพมุ่งสู่กรุงธนบุรี อีกเส้นพระองค์ได้ให้[[เนเมียวสีหบดี]]เป็นแม่ทัพไปปราบปรามหัวเมืองทางเหนือจนสามารถยึดเชียงใหม่ได้เตรียมนำกองทัพลงไปสมทบกับ[[อะแซหวุ่นกี้]]ที่เป็นแม่ทัพใหญ่อีกทางหนึ่ง ส่วนทัพทางใต้ก็สามารถตีเมืองกุย เมืองปราณได้สำเร็จพร้อมนำทัพบุกเข้ากรุงธนบุรีอีกทางหนึ่ง แต่แล้วในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2319 ราชสำนักอังวะได้แจ้งข่าวมาถึงอะแซหวุ่นกี้ ว่าพระเจ้ามังระได้เสด็จสวรรคตแล้ว [[พระเจ้าจิงกูจา]]กษัตริย์องค์ใหม่จึงมีบัญชาให้อะแซหวุ่นกี้ยกทัพกลับกรุงอังวะในทันที <ref name=app-207>Phayre, pp. 207–208</ref><ref>Phayre, p. 206</ref>
 
== สวรรคต ==
พระเจ้ามังระสวรรคตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2319 พระชนมายุเพียง 39 ปี ทรงครองราชได้ 12 ปี 164 วัน โดยก่อนจะสวรรคตพระองค์ลังเลที่จะมอบราชบัลลังก์ให้แก่[[พระเจ้าจิงกูจา]] เนื่องจากทรงเห็นอุปนิสัยตั้งแต่เด็กว่าชอบดื่มสุราและมีอารมณ์ฉุนเฉียวโหดร้าย ครั้นจะยกราชสมบัติให้ราชบุตรองค์รองเจ้าชายแชลงจา ซึ่งมีสติปัญญาดีและอ่อนโยนกว่าก็คิดว่าพระเจ้าจิงกูจาต้องไม่ยอมเป็นแน่ ไม่แคล้วคงเกิดสงครามระหว่างพี่น้องจึงได้ตัดสินพระทัยมอบราชสมบัติแก่พระเจ้าจิงกูจา โดยหวังว่าเมื่อได้สมบัติแล้วคงไม่คิดทำร้ายน้อง แต่ครั้งนี้พระองค์คิดผิดเมื่อพระเจ้าจิงกูจาได้ราชสมบัติแล้วก็สั่งปลด[[อะแซหวุ่นกี้]] แม่ทัพคู่บารมีของพระองค์ ทั้งที่เป็นผู้ส่งต่ออำนาจให้[[พระเจ้าจิงกูจา]]อย่างมั่นคง และที่น่าเศร้ากว่านั้นคือพระเจ้าจิงกูจาทรงระแวงพระอนุชาว่าจะคิดแย่งราชสมบัติ จึงสั่งให้นำเจ้าชายแชลงจาไปประหารด้วยเสียอีกคน <ref>Hall, p. 26</ref><ref>Myint-U, p. 299, p. 308</ref>
 
== อ้างอิง ==