ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
'''กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด''' ({{lang-en|Myocardial infarction; MI}}) หรือรู้จักกันว่า '''อาการหัวใจล้ม''' (heart attack) เกิดเมื่อเลือดไหลสู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจลดลงหรือหยุดไหล ทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบมากที่สุด คือ เจ็บอกหรือแน่นหน้าอกซึ่งอาจร้าวไปไหล่ แขน หลัง คอหรือกราม บ่อยครั้งเจ็บบริเวณกลางอกหรืออกด้านซ้ายและกินเวลาไม่ใช่เพียงไม่กี่นาที อาการแน่นหน้าอกบางทีอาจรู้สึกคล้าย[[อาการแสบร้อนกลางอก]] อาการอื่น ได้แก่ [[การหายใจลำบาก]] คลื่นไส้ รู้สึกหมดสติ [[เหงื่อ]]แตก หรือ[[ความล้า|รู้สึกล้า]] ผู้ป่วยประมาณ 30% มีอาการไม่ตรงแบบ หญิงมักมีอาการไม่ตรงแบบมากกว่าชาย ในผู้ป่วยอายุกว่า 75 ปีขึ้นไป ประมาณ 5% เคยมี MI โดยไม่มีหรือมีประวัติอาการเพียงเล็กน้อย MI ครั้งหนึ่งอาจทำให้เกิด[[ภาวะหัวใจล้มเหลว]] [[ภาวะหัวใจเสียจังหวะ]] [[ช็อกเหตุหัวใจ]] หรือ[[หัวใจหยุด]]
 
MI ส่วนใหญ่เกิดจาก[[โรคหลอดเลือดหัวใจ]] ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ [[ความดันโลหิตสูง]] สูบบุหรี่ [[เบาหวาน]] ไม่ออกกำลังกาย [[โรคอ้วน]] ภาวะคอเลสเทอรอลสูงในเลือด กินอาหารเลวและบริโภค[[แอลกอฮอล์]]มากเกินเป็นต้น กลไกพื้นเดิมของ MI ปกติเกิดจากการแตกของ[[โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง|แผ่นโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง]] (atherosclerotic plaque) ทำให้เกิดการอุดกั้นสมบูรณ์หลอดเลือดหัวใจ MI ที่เกิดจากการบีบเกร็งของหลอดเลือดหัวใจซึ่งอาจเกิดได้จาก[[โคเคน]] ความเครียดทางอารมณ์อย่างสำคัญ และความเย็นจัด เป็นต้น นั้นพบน้อย มีการทดสอบจำนวนหนึ่งเป็นประโยชน์ช่วยวินิจฉัยรวมทั้ง[[ภาพคลื่นไฟฟ้าหัวใจ]] การทดสอบเลือด และการบันทึกภาพรังสีหลอดเลือดหัวใจ ECG ซึ่งเป็นบันทึกกัมมันตภาพไฟฟ้าของหัวใจ อาจยืนยัน MI ชนิด ST ยก (STEMI) หากมีการยกของ ST การทดสอบที่ใช้ทั่วไปมีทั้งโทรโปนินและครีเอตีนไคเนสเอ็มบีที่ใช้น้อยกว่า
 
การรักษา MI นั้นสำคัญที่เวลา แอสไพรินเป็นการรักษาทันทีี่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สงสัยเป็น MI อาจใช้[[ไนโตรกลีเซอรีน]]หรือ[[โอปิออยด์]]เพื่อช่วยระงับอาการเจ็บอก ทว่า ยาทั้งสองไม่ได้เพิ่มผลลัพธ์โดยรวมของการรักษา การให้ออกซิเจนเสริมอาจให้ในผู้ป่วยระดับออกซิเจนต่ำหรือหายใจกระชั้น ในผู้ป่วย STEMI การรักษาเป็นไปเพื่อพยายามฟื้นฟูการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจ และอาจรวมถึงการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจทางผิวหนัง (percutaneous coronary intervention, PCI) ซึ่งมีการผลักหลอดเลือดแดงให้เปิดออกและอาจถ่ายขยาย หรือการสลายลิ่มเลือด ซึ่งมีการใช้ยาเพื่อขจัดบริเวณที่เกิดการอุดกั้น ผู้มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือดแบบไม่มี ST ยก (NSTEMI) มักรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเฮปาริน และการใช้ PCI อีกครั้งในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง ในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดเลือดหัวใจหลายเส้นและโรคเบาหวาน อาจแนะนำ[[การผ่าตัดทางเลี่ยงหลอดเลือดหัวใจ]]แทนศัลยกรรมตกแต่งหลอดเลือด หลังเป็น MI ตรงแบบแนะนำการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ร่วมกับการรักษาระยะยาวด้วย[[แอสไพริน]] [[เบตาบล็อกเกอร์]] และ[[สแตติน]]