ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ชุด)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4:
| border = no
| caption = โปสเตอร์ภาพยนตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
| director = [[ปีเตอร์ แจ็คสันแจ็กสัน]]
| producer = {{Plainlist|
*[[ปีเตอร์ แจ็คสันแจ็กสัน]]
*[[Barrie M. Osborne]]
*[[Fran Walsh]]
*Tim Sanders<br>{{small|(''อภินิหารแหวนครองพิภพ'')}}}}
| screenplay = {{Plainlist|
*[[ปีเตอร์ แจ็คสันแจ็กสัน]]
*[[Fran Walsh]]
*[[Philippa Boyens]]
บรรทัด 55:
เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นบนโลกในจินตนาการ [[มิดเดิลเอิร์ธ]] เกี่ยวกับการเดินทางของ[[ฮอบบิท]]ผู้หนึ่งชื่อ [[โฟรโด แบ๊กกิ้นส์]] และเพื่อนของเขา ที่จำเป็นต้องรับภารกิจในการทำลาย [[แหวนเอกธำมรงค์]] เพื่อโค่นอำนาจของจอมมารมืด[[เซารอน]] พร้อมกันนั้น พ่อมด[[แกนดัล์ฟ]] และ[[อารากอร์น]] ทายาทบัลลังก์[[กอนดอร์]] ได้รวบรวมเหล่าอิสระชนแห่งมิดเดิลเอิร์ธเข้าร่วมใน[[สงครามแหวน]] เพื่อเปิดทางให้โฟรโดสามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ
 
เนื้อความในฉบับนิยายถูกดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์โดย [[ปีเตอร์ แจ็คสันแจ็กสัน]] ร่วมกับ แฟรน วอลช์ และ ฟิลิปปา โบเยนส์ โดยมี[[นิวไลน์ ซีนีม่า]] เป็นผู้จัดจำหน่าย โครงการสร้างภาพยนตร์ไตรภาคชุดนี้ถือเป็นโครงการขนาดใหญ่มากที่สุดโครงการหนึ่งที่เคยเกิดขึ้น ด้วยทุนสร้างสูงถึง 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้เวลาตลอดโครงการนานถึง 8 ปี โดยถ่ายทำภาพยนตร์ทั้งสามภาคไปในคราวเดียวกันทั้งหมด ที่ประเทศ[[นิวซีแลนด์]] บ้านเกิดของปีเตอร์ แจ็คสันเองแจ็กสันเอง
 
ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทางด้านการเงินอย่างมาก โดยติด[[อันดับภาพยนตร์ทั่วโลกที่ทำเงินได้มากที่สุดตลอดกาล|อันดับภาพยนตร์ทำเงินตลอดกาล]]ในลำดับที่ 27, ที่ 20 และ ที่ 6 เรียงตามลำดับ และได้รับ[[รางวัลออสการ์]]รวมทั้งสิ้น 17 รางวัล รวมถึงเสียงชื่นชมทั้งส่วนของนักแสดงและเทคนิคพิเศษ
 
== ก่อนจะเป็นภาพยนตร์ ==
จุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจเกิดขึ้นเมื่อ ปีเตอร์ แจ็คสันแจ็กสัน ได้เห็น[[ภาพยนตร์เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (1978)|ภาพยนตร์การ์ตูน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]] ฉบับของราล์ฟ บัคชิ ปี ค.ศ.1978 จากนั้นเขาได้อ่านหนังสือเรื่องนี้ระหว่างการเดินทางบนรถไฟจาก[[นิวซีแลนด์|เวลลิงตัน]] ไปยัง[[นิวซีแลนด์|โอ๊คแลนด์]] ขณะเมื่ออายุ 17 ปี แล้วแจ็คสันแจ็กสันก็คิดว่า "ผมรอไม่ไหวที่จะให้ใครมาทำหนังเรื่องนี้ ผมอยากเห็นมัน!"
 
ปี ค.ศ.1995 หลังจากแจ็คสันแจ็กสันทำเรื่อง ''The Frighteners'' จบลง เขาก็เริ่มคิดถึงโครงการ "เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์" เวลานั้นคอมพิวเตอร์กราฟิกแสดงให้เห็นผลสำเร็จเป็นอย่างดีแล้วจากภาพยนตร์เรื่อง ''จูราสสิค ปาร์ค'' ดังนั้น แจ็คสันแจ็กสัน กับ แฟรน วอลช์ เพื่อนและคู่ชีวิต จึงจัดทีมขึ้นและไปนำเสนอโครงการแก่บริษัท มิราแมกซ์ (Miramax) เพื่อเจรจาเรื่องลิขสิทธิ์กับ Saul Zaentz ซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิ์ในการดัดแปลงหนังสือ ''[[เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]'' และ ''[[เดอะฮอบบิท]]'' โดยจะสร้างภาพยนตร์ "เดอะฮอบบิท" หนึ่งตอน และ "เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์" สองตอน แต่ปรากฏว่า Saul Zaentz ไม่ได้เป็นผู้มีสิทธิ์ในการจัดจำหน่าย ''เดอะฮอบบิท'' ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ที่ไม่ค่อยลงตัวทำให้แจ็คสันแจ็กสันต้องหันไปรับงานสร้าง "คิงคอง" ของค่ายยูนิเวอร์แซล ไปพลางก่อน แต่ในปี 1997 ทางยูนิเวอร์แซลยกเลิกโครงการสร้าง "คิงคอง" ไปชั่วคราว แจ็คสันกับวอลช์แจ็กสันกับวอลช์จึงหันมาศึกษาเนื้อเรื่อง ''เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์'' อย่างจริงจัง และเขียนบทภาพยนตร์ภาคแรกขึ้นมา
 
พวกเขาตั้งใจว่าภาพยนตร์ตอนแรกจะเป็น [[ลอร์ดออฟเดอะริงส์: อภินิหารแหวนครองพิภพ|Lord of the Rings - The Fellowship of the Ring]], [[ลอร์ดออฟเดอะริงส์: ศึกหอคอยคู่กู้พิภพ|The Two Towers]] และภาพยนตร์ตอนที่สองจะเป็น [[ลอร์ดออฟเดอะริงส์: มหาสงครามชิงพิภพ|The Return of the King]] โดยภาคแรกจะจบลงที่ [[ซารูมาน]]ตาย [[แกนดัล์ฟ]]กับ[[ปิ๊ปปิ้น]]เดินทางไป[[มินัสทิริธ]] โดยในบทร่างแรกยังมี [[กลอร์ฟินเดล]] [[ตัวละครอื่นในลอร์ดออฟเดอะริงส์|เอลลาดาน]] [[ตัวละครอื่นในลอร์ดออฟเดอะริงส์|เอลโรเฮียร์]] และ[[พ่อมด (มิดเดิลเอิร์ธ)|ราดากัสต์]] ปรากฏอยู่ด้วย เขานำบทชุดแรกและรายละเอียดโครงการไปเสนอให้แก่ผู้บริหารของมิราแมกซ์ คือฮาร์วี่และบ๊อบ ไวน์สไตน์ ผู้ไม่เคยอ่านหนังสือเรื่องนี้มาก่อน ทั้งสองพอใจและตกลงให้ทุนสร้างในวงเงิน 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ<ref>ไบรอัน ซิบลี่ย์ (2006). "Quest for the Ring", ''Peter Jackson: A Film-maker's Journey'', ลอนดอน: สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์ ISBN 0-00-717558-2</ref>
 
กลางปี ค.ศ.1997 แจ็คสันได้แจ็กสันได้ ฟิลิปปา โบเยนส์ มาร่วมในทีมเขียนบทเพิ่มเติม โบเยนส์เป็นแฟนตัวยงของหนังสือเรื่องนี้ พวกเขาใช้เวลาเกือบ 14 เดือนเขียนบทภาพยนตร์ทั้งสองตอนขึ้นใหม่โดยปรับแก้หลายครั้ง เช่น ตัด[[ลอธลอริเอน]]ออก ให้[[กาลาเดรียล]]มาร่วมใน[[ที่ประชุมของเอลรอนด์]] รวมถึง[[เดเนธอร์]] พ่อของ[[โบโรเมียร์]] ก็เดินทางมา[[ริเวนเดลล์]]ด้วย เปลี่ยนกลอร์ฟินเดลออก ให้[[อาร์เวน]]เป็นคนมาช่วยโฟรโดแทนและเป็นคนสังหาร[[วิชคิง]] รวมถึงการเขียนฉากต่อเนื่องในการสู้กับโทรลล์ถ้ำของเหล่าพันธมิตรแห่งแหวน
 
เวลาเดียวกันนั้น ตัวแทนจากมิราแมกซ์ได้ไปเยือน[[นิวซีแลนด์]] ผลประเมินบอกว่าภาพยนตร์สองตอนนี้จะต้องใช้เงินลงทุนมากขึ้นสองเท่า กลายเป็น 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมิราแมกซ์ไม่สามารถสนับสนุนเงินทุนขนาดนั้นได้ แต่โครงการได้เริ่มไปแล้ว และได้จ่ายเงินไปแล้วถึง 15 ล้านเหรียญ ดังนั้นทางมิราแมกซ์จึงสั่งให้ยุบรวมภาพยนตร์สองตอนให้กลายเป็นตอนเดียว โดยให้ตัดฉากที่[[บรี]]และ[[โรฮัน|เฮล์มสดีพ]]ออก รวม[[โรฮัน]]กับ[[กอนดอร์]]เป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วให้[[เอโอวีน]]เป็นน้องสาวของโบโรเมียร์ และตัดเหตุการณ์ในริเวนเดลล์กับ[[มอเรีย]]ให้สั้นลง การแก้ไขเนื้อเรื่องจำนวนมากทำให้แจ็คสันแจ็กสันไม่พอใจและหยุดพักโครงการชั่วคราว ส่วนมิราแมกซ์ก็เรียกร้องว่าชิ้นงานต้นแบบที่[[เวต้าเวิร์คชอป]]จัดทำไว้ จะต้องตกเป็นสมบัติของเขา
 
แจ็คสันแจ็กสันเที่ยวตระเวนไปตามค่ายหนังต่างๆ ทั่ว[[ฮอลลีวู้ด]]เป็นเวลาถึง 4 สัปดาห์ พร้อมกับวิดีโอต้นแบบความยาว 30 นาที จนกระทั่งเขาไปถึงบริษัท นิวไลน์ ซีนีม่า ผู้บริหารโรเบิร์ต เชย์ ถามว่าทำไมเขาจึงทำหนังเพียงแค่สองตอน ในเมื่อหนังสือเขียนเอาไว้สามตอน ทางนิวไลน์ฯ ต้องการให้สร้างภาพยนตร์ขึ้นมาเป็นไตรภาค ดังนั้นแจ็คสันแจ็กสันกับทีมจึงต้องกลับไปเขียนบทใหม่
 
การขยายภาพยนตร์ออกเป็นสามตอนทำให้สามารถสร้างสรรค์รายละเอียดได้ดียิ่งขึ้น พวกเขาจัดลำดับการนำเสนอใหม่ไม่ตรงกับหนังสือนัก (เพราะลักษณะการบรรยายในหนังสือจะจับความเป็นส่วนๆ และเล่าย้อนเหตุการณ์ที่เกิดกับตัวละครอีกกลุ่มหนึ่งในภายหลังแม้เหตุการณ์จะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน) โดยเลือกให้ 'ภารกิจของโฟรโด' เป็นหัวใจหลักของเรื่อง และ 'เรื่องของ[[อารากอร์น]]' เป็นซับพล็อตหลัก เหตุการณ์ในรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องกับพล็อตหลักจะถูกตัดทิ้งไป เช่นเรื่องของ [[ทอม บอมบาดิล]] และเรื่อง[[สงครามแหวน|การรบที่ไชร์]] เป็นต้น การจัดเรียงลำดับการนำเสนอใหม่ทำให้พวกเขาต้องเพิ่มเติมรายละเอียดบางอย่างที่โทลคีนไม่ได้ให้รายละเอียดไว้ในฉบับหนังสือ เช่นรายละเอียดในการสงคราม เป็นต้น
บรรทัด 79:
:''บทความหลัก : [[งานออกแบบในภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]''
 
แจ็คสันแจ็กสันเริ่มจัดทำสตอรี่บอร์ดของภาพยนตร์ทั้งสามภาคกับ คริสเตียน ริเวอร์ส ในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1997 และมอบหมายให้ทีมงานของเขาไปจัดเตรียมโลก "[[มิดเดิลเอิร์ธ]]" ให้พร้อม เวลาเดียวกัน แจ็คสันแจ็กสันว่าจ้างให้เพื่อนร่วมงานเก่าแก่ [[ริชาร์ด เทย์เลอร์]] เจ้าของ[[เวต้าเวิร์คชอป]] สตูดิโอเล็กๆ ใน[[นิวซีแลนด์]] รับผิดชอบงานออกแบบหลักห้าส่วนได้แก่ เสื้อเกราะ เครื่องอาวุธ เมคอัพ สัตว์ประหลาด และฉากขนาดย่อม<ref>ดีวีดี ''เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ : อภินิหารแหวนครองพิภพ'', แผ่นพิเศษ (Extended Version), [[นิวไลน์ ซีนีม่า]]</ref> เดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1997 ศิลปินนักวาดภาพจากผลงานของโทลคีนผู้มีชื่อเสียงสองคน คือ [[อลัน ลี]] และ [[จอห์น ฮาว]] ได้เข้ามาร่วมงานกับโครงการ และได้สร้างภาพจากจินตนาการในหนังสือให้ออกมาชัดเจนยิ่งขึ้น แกรนต์ เมเจอร์ ได้รับมอบหมายให้สร้างภาพแบบร่างของคนทั้งสองให้ออกมาเป็นโมเดลของจริง
 
แจ็คสันแจ็กสันให้ความสำคัญกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ทุกอย่างในการทำงาน เขาต้องการให้โลกมิดเดิลเอิร์ธในภาพยนตร์ดูสมจริงสมจังที่สุด ตัวอย่างเช่น การสร้างเมือง[[ไชร์ (มิดเดิลเอิร์ธ)|ฮอบบิตัน]]ขึ้นใหม่ในฟาร์มแห่งหนึ่ง โดยการลงทุนปลูกหญ้าและต้นไม้ต่างๆ ล่วงหน้าเป็นเวลานานนับปี การออกแบบสัดส่วนสัตว์ประหลาดเช่น ปีกของ[[สัตว์ประหลาดอื่นๆ (มิดเดิลเอิร์ธ)#เฟลบีสต์|เฟลบีสต์]] จะต้องสมเหตุสมผลว่ามันบินได้ด้วยปีกนั้นจริงๆ เวต้าเวิร์คชอปสร้างเสื้อเกราะกว่า 48,000 ตัว คันธนู 500 คัน ลูกศรนับหมื่นดอก และเท้า[[ฮอบบิท]]กว่า 1800 คู่ เพื่อใช้ประกอบในการแสดง รวมถึงฉากในภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นในสัดส่วนต่างๆ เพื่อใช้ถ่ายทำกับตัวละครในแบบต่างๆ เป็นต้น
 
== การถ่ายทำ ==
:''บทความหลัก : [[การถ่ายทำภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]''
 
การถ่ายทำภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ถ่ายทำในประเทศ[[นิวซีแลนด์]]ทั้งหมดพร้อมกันทั้งสามภาค ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ.1999 จนถึงวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ.2000 เป็นเวลารวมทั้งสิ้น 274 วัน หลังจากนั้นมีการถ่ายซ่อมเล็กๆ น้อยๆ ในระหว่างปี 2001 ถึง 2004 ใช้สถานที่ถ่ายทำทั้งหมดถึง 150 แห่ง<ref>ไบรอัน ซิบลี่ย์ (2002), ''The Making of the Movie Trilogy'', สำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์คอลลินส์ </ref> ใช้กองถ่ายทำทั้งหมด 7 กอง โดยแจ็คสันแจ็กสันคุมกองหลัก และมีผู้กำกับกองอื่นๆ อีกได้แก่ จอห์น แมคฮัฟฟี่, จอฟฟ์ เมอร์ฟี่, แฟรน วอลช์, แบร์รี่ ออสบอร์น, ริค พอร์รัส และผู้ช่วยผู้กำกับอีกหลายคน โดยกองถ่ายย่อยจะส่งข้อมูลผ่าน[[ดาวเทียม]]มาแสดงผลบนจอมอนิเตอร์ของแจ็คสันแจ็กสันที่กองถ่ายหลัก เพื่อให้เขาตรวจสอบผล บางครั้งกองถ่ายภาพยนตร์ต้องไปตั้งกองถ่ายทำในสถานที่ห่างไกลในนิวซีแลนด์ที่ไม่มีถนนเข้าถึง และสภาพอากาศอันแปรปรวนในนิวซีแลนด์ซึ่งเป็นเกาะกลางมหาสมุทร ทำให้ทีมงานต้องเตรียมชุดยังชีพติดตัวไว้เสมอเผื่อกรณีฉุกเฉินหาก[[เฮลิคอปเตอร์]]ไม่สามารถมารับพวกเขากลับเข้าเมืองได้ทันเวลา
 
== นักแสดง ==
บรรทัด 166:
:''บทความหลัก : [[เทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ไตรภาคเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์]]''
 
ภาพยนตร์ภาคแรกมีการถ่ายทำฉากเทคนิคพิเศษ 540 ช็อต ภาคที่สอง 799 ช็อต และภาคสุดท้ายถ่ายทำเทคนิคพิเศษถึง 1488 ช็อต (รวมทั้งสิ้น 2730 ช็อต) เมื่อนับรวมกับเนื้อเรื่องส่วนขยายหรือ Extended Editions มีฉากพิเศษรวมทั้งสิ้น 3420 ช็อต ในตอนเริ่มต้นโครงการ ภาพยนตร์ใช้นักเทคนิคพิเศษทางภาพ 260 คน และต้องเพิ่มจำนวนทีมงานขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อถ่ายทำไปถึงภาคที่สอง คือศึกหอคอยคู่กู้พิภพ หัวหน้าทีมงานเทคนิคพิเศษคือ จิม ไรเจิล (Jim Rygiel) และ แรนดี้ คุก (Randy Cook) พวกเขาต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อให้ได้ภาพเทคนิคพิเศษออกมาดังต้องการในเวลาอันรวดเร็ว ให้ทันกับจินตนาการของแจ็คสันแจ็กสันที่วิ่งฉิว เช่น ฉากสำคัญๆ ในศึกเฮล์มสดีพเกือบทั้งหมดสร้างขึ้นภายในเวลาหกสัปดาห์สุดท้ายของช่วง post-production ของศึกหอคอยคู่กู้พิภพ งานอันเร่งรีบนี้ยังเกิดขึ้นอีกครั้งในหกสัปดาห์สุดท้ายของช่วง post-production ของกษัตริย์คืนบัลลังก์
 
== Post-Production ==
บรรทัด 174:
[[โฮวาร์ด ชอร์]] เป็นผู้ประพันธ์ดนตรีประกอบภาพยนตร์ทั้งสามภาค เขาได้รับว่าจ้างเข้าร่วมทีมงานในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2000 จากนั้นจึงได้ไปเยี่ยมชมการถ่ายทำและการตัดต่อภาพยนตร์ ดนตรีประกอบชุดแรกบันทึกเสียงในเวลลิงตัน<ref>The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring Appendices [DVD]. New Line Cinema.</ref> แต่ดนตรีประกอบเรื่องที่เหลือทั้งหมดบันทึกเสียงที่ Watford Town Hall และมิกซ์เสียงที่ Abbey Road Studios ในกรุง[[ลอนดอน]] ประเทศ[[อังกฤษ]]
 
วงดนตรี London Philharmonic Orchestra เป็นผู้บรรเลงดนตรีประกอบทั้งหมด โดยมีนักดนตรีและศิลปินอีกมากมายร่วมงานด้วย เช่น [[เบน เดล แมสโตร]], [[เอนยา]], เรเน่ เฟลมมิง, เซอร์ เจมส์ กัลเวย์ และ [[แอนนี่ เล็นนอกซ์]] นักแสดงบางคนก็ร่วมบันทึกเสียงด้วย เช่น [[บิลลี บอยด์]] [[วิกโก มอร์เทนเซ่น]] [[ลิฟ ไทเลอร์]] [[มิรันดา ออตโต]] และตัว[[ปีเตอร์ แจ็คสันแจ็กสัน]]เอง คำร้องในบทเพลงหลายบทประพันธ์โดย แฟรน วอลช์ และฟิลิปปา โบเยนส์ จากนั้น เดวิด ซาโล จึงแปลงไปเป็นภาษาของโทลคีน สำหรับเพลงจบของภาพยนตร์ตอนที่สาม คือ ''Into the West'' แจ็คสันและวอลช์แจ็กสันและวอลช์ ตั้งใจมอบให้เป็นของขวัญแด่เพื่อนรุ่นน้อง คาเมรอน ดันแคน ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในปี ค.ศ. 2003<ref>The Lord of the Rings: The Return of the King "Appendices" [DVD]. New Line Cinema.</ref>
 
== ผลตอบรับและรางวัล ==
บรรทัด 199:
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{คอมมอนส์|Lord of the Rings (movie)|เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (ภาพยนตร์ไตรภาค)}}
* [http://www.lordoftherings.net/ เว็บไซต์ทางการของภาพยนตร์]
* [http://www.theonering.net/ เว็บไซต์แฟนคลับ TheOneRing.net]
บรรทัด 211:
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ไตรภาค]]
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศนิวซีแลนด์]]
[[หมวดหมู่:ภาพยนตร์ที่กำกับโดย ปีเตอร์ แจ็คสันแจ็กสัน]]
{{โครงภาพยนตร์}}