ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กระจ่างนภา (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
[[พลตรี]] [[หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)]] อดีตเลขาธิการพระราชวัง ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงมีความคิดที่จะก่อสร้างเมรุถาวรขึ้นที่สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาส โดยให้มีเตาเผาสำหรับเผาศพโกศ ท่านจึงได้ลองเอาความคิดดังกล่าวไปสอบถามความเห็นบุคคลหลายฝ่าย ซึ่งตอบรับความคิดพลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์<ref>{{อ้างหนังสือ||ผู้แต่ง=คณะกรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์||ชื่อหนังสือ=หนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์)||URL=||จังหวัด=กรุงเทพ||พิมพ์ที่=||ปี= พ.ศ. 2514||ISBN=||หน้า=||จำนวนหน้า=280}}</ref>
 
โดยได้ลอกแบบมาจากพระเมรุ [[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส]] แต่ปรับเปลี่ยนให้บริเวณมุขที่เป็นที่เทียบพระราชยานและหอเปลื้องในแบบเดิม ให้เป็นที่ตั้งของเตาสุมเพลิง ภายในตั้งจิตกาธานสี่เหลี่ยมจตุรัส มีตาข่ายดอกไม้ประดับ และมีฉากบังเพลิงแบบบานเฟี้ยมเขียนลายช่อชัยพฤกษ์ติดไว้ทั้งสี่ด้าน ครั้นเมื่อเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ก่อสร้างเสร็จได้ติดตั้งเครื่องพ่นไฟในเตาเผาศพโกศ ก็ได้มีการทดลองเผากระดาษ ผ้า และไม้ในเตาเผาก่อน การทดลองเผาทำให้เกิดเหตุขลุกขลักขัดข้องที่น่ากลัว เช่น ควันที่เกิดจากการเผาลอยออกไปตามปล่องไม่สะดวก เกิดความดันขึ้นในเตาเผาทำให้ไฟจากเครื่องพ่นไฟย้อนกลับออกมาทางช่องเครื่องเผาและทางช่องมองศพในเตาเผา ทำเอาเจ้าหน้าที่ที่ทดลองดังกล่าวแสบร้อนหน้าแทบพอง เมื่อได้ลงมือสำรวจหาสาเหตุปัญหาความขัดข้องที่เกิดขึ้นในการทดลองเผา ก็พบว่ามีน้ำเข้าไปขังอยู่ในท่อปล่องใต้ดิน ทำให้ควันไปตามท่อไม่สะดวก เมื่อสูบน้ำที่ขังในท่อออกหมด ควันก็สามารถลอยออกไปตามปล่องได้สะดวก ปล่องควันเมรุหลวงที่สร้างใหม่นี้ใช้ท่อเคลือบ ไม่ใช้ท่อโลหะ เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดสนิมผุกร่อนในภายหน้า ส่วนการรั่วซึมในท่อจนทำให้น้ำเข้ามาขังอยู่นั้นได้ตรวจสอบพบในภายหลังว่าเป็นเพราะปูนซีเมนต์ที่ยาแนวท่อตรงข้อต่อแต่ละท่อนมีรอยรั่วอยู่ จึงได้รื้อแก้ไขใหม่ ในที่สุดก็สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด สามารถประกอบพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ[[สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2503]] ได้อย่างเรียบร้อย และได้ใช้เมรุหลวงถาวรนี้ในการพระราชทานเพลิงศพที่มีเกียรติยศได้รับพระราชทานโกศเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน
 
โดยการพระราชทานการเพลิงศพนั้นที่เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสนั้น ในกรณีอยู่ในพระโกศหรือโกศจะเชิญพระศพหรือศพ ออกมาบรรจุไว้ในลุ้งที่ทำด้วยไม้เป็นทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อน จากนั้นจึงนำเข้าเตาสุมเพลิงต่อไป โดยลุ้งนี้ถ้าเป็นเจ้านายชั้นสูงจะมีการปิดด้วยกระดาษทอง แต่ถ้าเป็นชั้นศพทั่วไปจะเป็นเพียงลุ้งไม้สีขาว
 
ปัจจุบัน เมรุหลวงนี้ได้เปลี่ยนจากเตาสุมเพลิงแบบพ่นไฟธรรมดา มาเป็นเตาสุมเพลิงด้วยระบบไฟฟ้า ซึ่งมีมลพิษน้อยกว่า ใช้เวลาในการสุมเพลิงเร็วกว่าเตาพ่นไฟ และทำให้อัฐิหลังจากการเผามีสีขาว
 
=== การปรับปรุงเพื่อใช้เป็นพระเมรุ ===