ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หินตะกอน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Worrachat chemanititanapron (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: blanking แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการก่อกวน 3 ครั้งของ Worrachat chemanititanapron (พูดคุย) ไปยังรุ่น...
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Limestoneshale7342.jpg|thumb|right|400px|ภาพหินโผล่ของชั้นหินตะกอน 2 ชนิด คือชั้นหินปูนวางซ้อนทับชั้นหินดินดานปนปูน ณ [[ที่ราบสูงคัมเบอร์แลนด์]] [[รัฐเทนเนสซี]]]]
 
'''หินตะกอน''' ({{lang-en|sedimentary rock}}) คือ [[หิน]]ที่เกิดจาก[[การตกตะกอน]]ของเม็ด[[แร่]]ที่ได้จาก[[การผุพัง]]ของหินชนิดใดก็ได้ที่[[ผิวโลก]] และถูกพัดพาไปโดย [[น้ำ]] [[ลม]] หรือ[[ธารน้ำแข็ง]] แล้วจับตัวกันแข็งเป็นหิน หรือ เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของ[[สารละลาย]]จากในน้ำ ในลำธาร [[ทะเล]] หรือ[[มหาสมุทร]] เนื่องจาก[[ปฏิกิริยาเคมี|ปฏิกิริยาทางเคมี]]หรือการระเหยของน้ำ ที่อุณหภูมิปกติบนผิวโลก ลักษณะเด่นของหินตะกอน คือ การเกิดเป็นชั้นหลายๆชั้น อาจมี[[ซากดึกดำบรรพ์]] หรือแสดงลักษณะ[[โครงสร้างของการตกตะกอน]]ตามลำดับอายุ
[
 
'''หินตะกอน'''
 
== การเรียกชื่อ ==
เนื่องจากลักษณะที่หินตะกอนในประเทศไทยเรามักแสดงลักษณะชั้น (bed) เนื่องจากการตกตะกอนให้เห็นเด่นชัด จึงทำให้ในอดีตมีหลายท่านเรียกชื่อหินตะกอนเหล่านี้อีกอย่างหนึ่งว่า "หินชั้น" แต่ในปัจจุบันพบว่าการเรียกชื่อหินตะกอนว่าหินชั้นนั้น ไม่ค่อยเป็นที่นิยมสักเท่าไร ในทั่วไปนี้ให้ใช้ชื่อ "หินตะกอน" ในการเรียกชื่อหินตะกอนแทนคำว่า ''หินชั้น''
เนื่องจากลักษณะที่หินตะกอนใน
 
== ประเภทของหินตะกอน ==
นักธรณีวิทยาจำแนกหินตะกอนตามลักษณะการเกิดออกเป็น 3 กลุ่มคือ
* หินตะกอนอนุภาค (Clastic rocks)
** [[หินกรวดมน]] (Conglomerate) เป็นหินเนื้อหยาบเกิดจากตะกอนซึ่งเป็นหิน กรวด ทราย ที่ถูกกระแสน้ำพัดพามาอยู่รวมกันแล้วแข็งตัว สารละลายในน้ำใต้ดินทำตัวเป็นซิเมนต์ประสานให้อนุภาคใหญ่เล็กเหล่านี้ เกาะตัวกันเป็นก้อนหิน
** [[หินทราย]] (Sandstone) เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดปานกลาง เกิดจากการทับถมตัวของทรายเป็นระยะเวลานาน มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอรตซ์ คนโบราณใช้หินทรายแกะสลัก สร้างปราสาท และทำหินลับมีด
** [[หินดินดาน]] (Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งและอนุภาคดินเหนียวทับถมกันเป็นชั้นบาง ๆ ขนานกัน เมื่อทุบหินจะแตกตัวตามรอยชั้น (ฟอสซิลมีอยู่ในหินดินดาน) ดินเหนียวที่เกิดดินดานใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา
* หินตะกอนเคมี (Chemical sedimentary rocks)
** [[หินปูน]] (Limestone) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด หินปูนใช้ทำเป็นปูนซิเมนต์ และใช้ในการก่อสร้าง
** [[หินเชิร์ต]] (Chert) หินตะกอนเนื้อแน่นแข็ง เกิดจากการตกผลึกใหม่ เนื่องจากน้ำพาสารละลายซิลิกาเข้าไปแล้วระเหยออก ทำให้เกิดผลึกซิลิกาแทนที่เนื้อหินเดิม หินเชิร์ตมักเกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เนื่องจากแพลงตอนที่มีเปลือกเป็นซิลิกาตายลง เปลือกของมันจะจมลงทับถมกัน หินเชิร์ตจึงปะปนอยู่ในหินปูน
* หินตะกอนอินทรีย์ (Organic sedimentary rocks)
** [[ถ่านหิน]] (Coal) เกิดจากการทับถมของซากพืชที่ยังไม่เน่าเปื่อยไปหมดเนื่องจากสภาวะออกซิเจนต่ำ สภาวะเช่นนี้เกิดตามห้วยหนองคลองบึง ในแถบภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร การทับถมทำให้เกิดการแรงกดดันที่จะระเหยขับไล่น้ำและสารละลายอื่น ๆ ออกไป ยิ่งมีปริมาณคาร์บอนมากขึ้นถ่านหินจะยิ่งมีสีดำ [[ลิกไนต์]] (Lignite) เป็นถ่านหินคุณภาพปานกลาง มีมากที่เหมืองแม่เมาะ จ. ลำปาง [[แอนทราไซต์]] (Anthracite) เป็นถ่านหินคุณภาพสูง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
 
[[หมวดหมู่:หินตะกอน]]