ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ้าขาวม้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gusht123 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Gusht123 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 17:
ผ้าขาวม้าอยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย   แม้โดยประวัติผ้าขาวม้าอาจไม่ใช่ผ้าของคนไทย แต่ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 900 ปีที่ผ่านไป ผ้าขาวม้าจัดเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ของไทยอย่างแท้จริง เพราะอย่างน้อยด้วยรูปลักษณ์และลวดลายที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องได้รวมไว้ทั้งศาสตร์แห่งสีสันและศิลป์แห่งลายผ้าไทยที่นำมาผสมผสานอย่างกลมกลืน อำนวยความสะดวกให้กับคนไทยมาหลายศตวรรษ โดยไม่มีทีท่าว่าจะสูญหายไปง่ายๆ เกี่ยวข้องกับวิถีดำรงชีวิตมากมายหลายอย่าง นับสิ่งมหัศจรรย์แห่งสายใยที่ถักทอไว้อย่างประณีต จากตำนานกาลเวลา และคุณค่าอันน่ายกย่อง สรุปได้ว่าประโยชน์ของผ้าขาวม้าใช้กันตั้งแต่เกิดจนตาย
 
        จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้นำผ้าขาวม้ามาออกแบบใช้เป็นเครื่องแต่งกายที่มีสีสันสวยงาม พร้อมทั้งดำรงไว้ซึ่งเอกลักษณ์คุณค่า  รักษาความเป็นไทย นอกจากนี้ทางจังหวัดยังมีการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมให้ข้าราชการทุกหมู่เหล่า หันมานิยมสวมใส่ผ้าขาวม้าเป็นเครื่องแต่งกาย มีการถ่ายแฟชั่นผ้าขาวม้า  และรณรงค์ให้กลุ่มอาชีพทอผ้า อำเภอภาชี  อำเภอบางซ้าย และกลุ่มทอดผ้าต่างๆ หันมาทอดผ้าขาวม้าด้วยสีสันที่สะดุดตา เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหัตถกรรมและอุตสาหกรรมครัวเรือนจนเรียกได้ว่า “Lifestyle  วัฒนธรรม  สีสันชูราศี แฟชั่นดี  ผ้าขาวม้า  เคียงคู่อยุธยา  จากหัตถา สู่สากล”  การทอผ้าขาวม้าไม่ได้นิยมกันเพียงเฉพาะในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเท่านั้น แต่ผ้าขาวม้านั้นทอกันทุกภูมิภาคในประเทศไทย ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของคนไทย สู่การทอ ย้อมสี ประดิษฐ์ลวดลาย ‘ผ้าขาวม้า’ อันมีเอกลักษณ์ประจำแต่ละท้องถิ่น เป็นของดีประจำจังหวัด สร้างอาชีพและรายได้ให้ชุมชนอย่างยั่งยืน อาทิ{{มรดกภูมิปัญญาชาติ/ช่างฝีมือดั้งเดิม}}
 
== ภาคกลาง ==
1) ผ้าขาวม้าพระนครศรีอยุธยา ผ้าขาวม้าผืนเล็กใช้ทอผืนแคบ และจะมีบางผืนที่ทอผืนใหญ่เป็นพิเศษเอาไว้สำหรับตัดเป็นเสื้อผ้า  หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  ลวดลายคละสลับกันเป็นตารางหมากรุกประมาณครึ่งนิ้ว และมีสองสีสลับด้าน  ด้านตามยาวของปลายทั้งสองข้าง ทำเป็นลายริ้วสลับสีกัน เช่น ขาวแดง ขาวแดง แดงดำ  ขาวน้ำเงิน
 
2) ผ้าขาวม้าจังหวัดนครสวรรค์ จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าผ้าขาวม้ามักจะทอกันอยู่แถบตำบลบ้านไร่ อำเภอลาดยาว  และอีกที่หนึ่งที่นิยมทอในปัจจุบัน บ้านตะเคียนเลื่อน  ตำบลเกาะหงส์ อำเภอเมือง สีของผ้าขาวม้าจะเป็นสีที่ตัดกันทอเป็นลายตาสก๊อต นิยมใช้เส้นด้ายฝ้ายในการทอผ้าขาวม้า  เพราะฝ้ายจะมีความนิ่มเนื้อละเอียด
 
3) ผ้าขาวม้าจังหวัดกาญจนบุรี  จะมีสีสันสดใสหลากสีด้วยกัน ผ้าขาวม้าผืนหนึ่งมักจะใช้สีที่ทอสลับกันประมาณสี่สี  สำหรับสีของเส้นไหมที่ทอเมื่อ 2 สีขดไปเกิดซ้อนกันก็จะทำให้ได้สีใหม่ขึ้นมา ทำให้มีสีสันสวยงามมากขึ้น สำหรับผ้าขาวม้าของจังหวัดกาญจนบุรีมิได้มีเพียงลวดลายเดียวตี่มีหลากหลายลวดลาย ซึ่งให้ความงดงามต่างจากถิ่นอื่น
 
4) ผ้าขาวม้าจังหวัดชัยนาท  จะมีลักษณะเป็นผ้าทอด้วยไหมประดิษฐ์ ด้วยโทเร และด้วยฝ้ายออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะนิยมทอด้วยโทเร ทอเป็นลายสก๊อต ลายทาง  หรือลายสี่เหลี่ยม  และผ้าขาวม้าของ  ตำบลเนินขาม อำเภอหินตามีชื่อเรียกว่า “ผ้าขาวม้า 5 สี”คือ สีแดง  เหลือง ส้ม  เขียว  ขาว การทอผ้าขอม้าจะทอแบบเดียวกับกันผ้ามัดหมี่ คือ การมัดแล้วย้อมเป็นสีต่างๆ
 
5) ผ้าขาวม้าจังหวัดลพบุรี  ณ อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี  จัดได้ว่าเป็นแหล่งทอดผ้าพื้นเมืองที่เรียกได้ว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ลักษณะผ้าดั้งเดิมของอำเภอบ้านหมี่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะชาวอำเภอบ้านหมี่เป็นชาวไทยพวนที่อพยพมาจากประเทศลาว ดั้งนั้นผ้าขาวม้าอำเภอบ้านหมี่จึงถือว่าเป็นผ้าความม้าที่มีลวดลาย สีสันสวยงาม และเป็นผลงานของผ้าทอมือที่ประณีตมาก
 
6) ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี  ผ้าขาวม้าจังหวัดราชบุรี ส่วนใหญ่จะทออยู่ 2 ลวดลาย คือ ลายหมากรุก และลายตาปลา เป็นผ้าขาวม้าที่สวยงามเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ราคาถูก และสีไม่ตก สำหรับผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรีจะรู้จักการในนาม “ผ้าทอบ้านไร่” แต่ในปัจจุบันผ้าขาวม้าของจังหวัดราชบุรี    มีชื่อเสียงโด่งดังมาก  จากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของคนรุ่นใหม่ ที่มีการพัฒนาสี  ลวดลาย  รูปแบบ ให้ผ้าขาวม้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัยมากขึ้นในชื่อ “Pakamian”
 
== ภาคอีสาน ==
        ภาคอีสาน จะเรียกผ้าขาวม้าว่า ผ้าแพ ผ้าแพอีโป้ ผ้าขาวม้า ซึ่งในอีสานเองจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ผ้าแพรขาวม้าจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสคล้ายตาหมากรุก และผ้าแพรใส้ปลาไหล หรือผ้าแพลิ้นแลน และในพจนานุกรมภาษาถิ่นอีสาน ก็จะเรียกว่า ผ้าขัดด้าม ผ้าขาวด้าม หรือผ้าด้าม
 
1) ผ้าขาวม้าจังหวัดศรีสะเกษ ผ้าทอของจังหวัดศรีสะเกษได้รับอิทธิพลมาจากลาว สำหรับผ้าขาวม้าของศรีสะเกษนั้นจะมีการทอด้วยไหมและฝ้าย ผ้าขาวม้าที่ทอด้วยผ้าไหมจะทำในโอกาสพิเศษ  หรืองานพิธีสำคัญเท่านั้น ส่วนลายของผ้าขาวม้าที่ทอจะเป็นลายเส้นขัดเป็นตารางหมากรุก นิยมใช้สีกั้น 2 หรือ 3 สี ในการทอจะใช้ “เขา” เพียง 2 เขา เท่านั้น วิธีการสร้างลายจะสับหูกเส้นเครือหรือเส้นยืนด้วยสีต่างกัน หรือจะใช้เส้นด้ายสีต่างกันพุ่งสลับกันตามต้องการ
 
2) ผ้าขาวม้าจังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันมีการทอมากในกิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ บ้านเขวาสินรินทร์  จังหวัดสุรินทร์ ชาวสุรินทร์มักใช้ผ้าขาวม้าในการแต่งกายประจำจังหวัดใน  พิธีกรรมที่สำคัญตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายมักจะมีผ้าขาวม้ามาเกี่ยวข้องเสมอ ลายผ้าขาวม้าของจังหวัดสุรินทร์จะเป็นผ้าลายตารางสีแดงดำ  เขียวเข้ม และชาวสุรินทร์จะมีผ้าข้าม้าประจำตระกูลเมื่อสิ้นบุญผู้อาวุโสมักจะมอบผ้าขาวม้าไว้เป็นมรดกแก่ลูกหลาน
 
3) ผ้าขาวม้าจังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบันการทอผ้าขาวม้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดมหาสารคาม จะอยู่ที่บ้านหนองหิน  ตำบลโคกก่อ  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  เอกลักษณ์โดดเด่น คือ เป็นผ้าขาวม้าทอมือ  ด้วยสีธรรมชาติ มีการพัฒนาลวดลายให้ทันสมัยมากขึ้น ผ้าขาวม้าคุณภาพดีของกลุ่มยังถูกจัดส่งไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น ทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากทางจังหวัดให้พัฒนาด้านการตลาด มีการตั้งชื่อสินค้าในนาม “ศิลาภรณ์” และนำผ้าขาวม้าที่เป็นผ้าฝ้ายคุณภาพดี  มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตัดเย็บเป็น  เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า  ผ้าห่มเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสีสันที่สวย สดใส ทันสมัย และมีการย้อมสีตามคำสั่งของลูกค้าผ้าขาวม้าบ้านหนองหิน มีชื่อเสียงโด่งดัง  เพราะคุณภาพดี และตัวแทนของกลุ่มได้ไปจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เมืองทองธานีหลายครั้ง
 
4) ผ้าขาวม้าจังหวัดขอนแก่น จัดได้ว่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีความวิจิตรพิสดารตระการตา ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์เป็นลายเฉพาะของผ้าขาวม้าจังหวัดขอนแก่น ลายผ้าขาวม้าจะเป็นลาย “หมี่กง”  ซึ่งเป็นต้นแบบและเป็นลายเก่าแก่ของผ้าเมืองขอนแก่น  ส่วนสีจะเน้นที่สี  ม่วง แดง  เขียว จัดเป็นสีดั้งเดิมของผ้าขาวม้าขอนแก่นและทำการทอลักษณะแบบ 3 ตะกอ จึงทำให้ผ้ามีลักษณะที่หนาเนื้อผ้าแน่น
 
5) ผ้าขาวม้าจังหวัดอุดรธานี  มหัศจรรย์ผ้าขาวม้าอเนกประสงค์ ภูมิปัญญาชาวบ้านชุมชนดอนอีไข ได้รับการสนับสนุนจากท้องถิ่นเทศบาลตำบลหนองสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ให้ทอผ้าขาวม้าพื้นบ้าน  เป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในหลายรูปแบบ  เช่น ลายขาวดำ  ลายขัดพื้น มีทุกสีให้เลือก  นอกจากนั้นยังมีเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ตัดเย็บจากผ้าขาวม้าจำหน่าย ทั้งของสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี ในราคาตั้งแต่ 400-1,000 บาท
 
6) ผ้าขาวม้าจังหวัดยโสธร  บ้านหัวเมือง ตำบลหัวเมือง  อำเภอชนะชัย  จังหวัดยโสธร เป็นหมู่บ้านคนขยัน  ตั้งอยู่ในทุ่งกว้าง เขตรอยต่อทุ่งกุลาร้องไห้ ชาวบ้านได้รับการสนับสนุนจากประธานกลุ่มแม่บ้าน หลังจากเสร็จสิ้นฤดูการทำนาหันมาทอผ้าขาวม้า  ทอผ้าห่ม ซึ่งเป็นงานทอในขั้นพื้นฐาน เพื่อเก็บไว้ใช้เองในครอบครัว และใช้เป็นของฝากของที่ระลึกเล็กๆ น้อยๆ เมื่อเหลือก็นำมาจำหน่าย ชาวบ้านรวมกลุ่มกันได้เหนียวแน่นจึงได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานพัฒนาชุมชน และมีการพัฒนาในด้านการตลาดมากขึ้น
 
== ภาคเหนือ ==
ภาคเหนือ จะเรียกผ้าขาวม้าว่า ผ้าหัว ผ้าตะโก้งหรือตาโก้ง ซึ่งจะหมายถึงผ้าลายตาราง ผ้าเตี่ยว
 
1) ผ้าขาวม้าจังหวัดแพร่  ปัจจุบันการทอผ้าขาวม้าของจังหวัดแพร่ มักจะพบในพื้นที่อำเภอเมือง  อำเภอสูงเม่น อำเภอสอง  และอำเภอร้องกวาง  การทอลักษณะแบบ “จก”  ที่บริเวณของผ้าขาวม้าด้วย เรียกว่า “ผ้าขาวม้ามีเชิง”  เชิงของผ้าขาวม้าจะมีเทคนิคการจกลวดลายเพิ่มเติมเข้าไปในตัวผ้า ส่วนใหญ่จะเป็นลายหมากรุก  หรือลวดลายเรขาคณิตทั่วไป ส่วนลายที่จกจะเป็นลายสัตว์ตามคตินิยม  ความเชื่อ และขนบธรรมเนียมประเพณีของแต่ละกลุ่มชน เช่น ลายนก  ลายช้าง ลายม้า เป็นต้น
 
2) ผ้าทอจังหวัดน่าน    การทอผ้าของชาวน่านมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ดังปรากฏภาพฝาผนังในวัดภูมินทร์ ผ้าขาวม้าชาวน่านจะเรียกกันว่า “ผ้าตะโก้ง” ส่วนมากมักนิยมทอด้วยฝ้าย เส้นฝ้ายนั้นทำเองตั้งแต่ปั่นฝ้าย ย้อมสี และสีที่ใช้ทอมักจะเป็นสีจากเปลือกไม้กลัด ไม้ประดู่  มะเกือ  ใบสัก เป็นต้น เดิมจะนิยมทอผ้าขาวม้าเป็นสีแดงดำ ซึ่งเป็นสีดั้งเดิม แต่ปัจจุบันนิยมทอผ้าขาวม้าให้มีสีคลาสสิคมากยิ่งขึ้น โดยเน้นสีเขียว  ฟ้า น้ำตาล เป็นสีที่กลมกลืนกับธรรมชาติ บริเวณชายผ้ามักจะจกลายช้าง ลายม้า ลายเจดีย์  ลายยกดอกลวดลายที่ทอเน้นเกี่ยวกับความเชื่อ ความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ใช้ ผ้าทอของจังหวัดน่านจะคล้ายคลึงกับจังหวัดแพร่ แต่จะแตกต่างกับผ้าขาวม้าของที่อื่นตรงบริเวณเชิงผ้าที่มีการจกลายเพิ่มเติม แต่ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าของจังหวัดต่างๆ ก็มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การทอผ้าของจังหวัดแพร่และน่านจึงมีการถ่ายทอดความรู้ไปให้จังหวัดอื่นๆ บางพื้นที่จึงมีการทอผ้าขาวม้าและจกลายบริเวณเชิงผ้าเพิ่มเติมด้วย จัดว่าเป็นการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมอีกทางหนึ่ง
 
== ภาคใต้ ==
ภาคใต้ เรียกผ้าขาว
 
== คุณสมบัติ ==
'''ลักษณะของผ้าขาวม้า'''
 
ผ้าขาวม้า เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ที่คนไทยโดยทั่วไปรู้จักกันดีมีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนใหญ่ทอมาจากฝ้าย แต่บางครั้งอาจทอจากเส้นไหม ในบางท้องถิ่นนิยมทอจากเส้นด้ายดิบและเส้นป่าน นิยมทอสลับสีกันเป็นลายตาหมากรุกหรือเป็นลายทาง โดยมากผลิตในแถบภาคเหนือหรือภาคอีสาน มีขนาดความกว้าง - ยาวแตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่จะกว้างประมาณ 3 คืบ ยาว 5 คืบ อายุของการใช้งานจะประมาณ 1 - 3 ปีสำหรับราคาก็จะแตกต่างกันออกไปตามวัสดุที่ใช้
 
'''คุณสมบัติของผ้าขาวม้า'''
 
ดูแลรักษาง่าย สวมใส่สบาย ไม่อบร้อน ระบายอากาศได้ดีมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สามารถทนความร้อนสูงได้ประโยชน์ของผ้าขาวม้าใช้ทำความสะอาดร่างกาย, ปูรองนั่ง, โพกศรีษะกันแดด, นุ่มแทนกางเกง, ห่มคลุมร่างกาย, นุ่งกระโจมอกแทนผ้าถุง, ม้วนหนุนหัวแทนหมอน ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้, คลุมโต๊ะ, ซับเหงื่อ, ผูกเป็นเปล, คลุมเวลาผลัดเปลี่ยนผ้า, เป็นผ้าเช็ดตัว, เป็นผ้ากันเปื้อน
 
== การดูแลเก็บรักษาผ้าขาวม้า ==
 - สามารถซักได้ด้วยมือและเครื่องซักผ้า ยิ่งซักผ้าจะยิ่งนุ่ม
 
 - ซักในน้ำอุณหภูมิสูงและรีดด้วยความร้อนค่อนข้างสูงได้เช่นเดียวกัน
 
 - ควรใช้ผงซักฟอกอ่อน /ไม่มีฟอกสีถ้าจะให้ดีใช้น้ำยากซักผ้าแบบอ่อนแบบซักผ้าเด็ก
 
== กรรมวิธีการผลิต ==
อุปกรณ์ในการทำผ้าขาวม้า
 
1) ด้ายโทเร
 
2) ไหมประดิษฐ์
 
3) อุปกรณ์ปั่นด้าย
 
4) อุปกรณ์ควงด้าย
 
5) อุปกรณ์ขึงด้าย
 
6) ที่หวีด้าย
 
7) ที่เก็บตระกอ
 
8) กระสวย (ตัววิ่งด้าย)
 
'''ขั้นตอนในการทำผ้าขาวม้า'''
 
1) เตรียมด้ายประดิษฐ์ที่ยังไม่ได้ม้วนใส่ในหลอดแปปมาใส่ โดยนำด้ายประดิษฐ์มาคล้องใส่ในอุปกรณ์ การปั่นด้าย เพื่อด้ายจะได้ม้วนออกมาใส่ในหลอดแปปโดยการใช้อุปกรณ์ในการควงเป็นตัวในการปั่นด้าย หลังจากนั้นจึงควงด้าย ควงด้ายใส่หลอดแปปจนหมดโดยการปั่นต้องมีคนปั่นด้วย 1 คน และอีกคน 1 เป็นคนเรียงด้าย เพื่อไม่ให้พื้นที่ในการเรียงด้ายไม่เว้นว่าง ควรทำให้เต็มหลอด และไม่ให้ด้ายที่ควง พันกัน
 
2) นำด้ายมาขึงไว้บนอุปกรณ์การทอกี่กระตุกด้วยมือ (อุปกรณ์ประกอบขึ้นจากไม้)
 
3) เริ่มการทอผ้าโดยใช้อุปกรณ์การทอที่กระตุกด้วยมือ (อุปกรณ์ประกอบจอกไม้)
 
4) โดยใช้กระสวย เป็นตัววิ่งด้าย สลับไปมา ซ้าย-ขวา และในกระสวยจะมีม้วนด้ายที่ต่างๆ ใส่ไว้ในกระสวย เพื่อสามารถเปลี่ยนสีด้ายได้ เช่น การทำแทบสีผ้าขาวม้า หรือ ลายสีด้าย
 
ทอผ้าขาวม้าต่อไปเลื่อยๆจนเสร็จ เป็นผืนหน้ากว้าง 34 นิ้ว  ความยาว 1.50 เมตร เป็นอันว่าเสร็จเรียบร้อย จากนั้นมาบรรจุใส่หีบห่อ ให้เรียบร้อย และนำไปจัดจำหน่ายต่อไปๆ
 
== ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ==
ปัจจุบัน การคิดไอเดียนำวัตถุดิบ “ผ้าขาวม้า” มาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีหลากหลาย แต่สิ่งที่จะยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์แบรนด์ nim’s คิดและทำมากกว่านั้น คือ การดีไซน์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้สอดรับกับความต้องการของตลาดไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่ผูกพันกับเครื่องมือและอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ ชนิดแยกกันไม่ออก จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นเท่ไม่ซ้ำใครที่นอกจากจะสื่อเอกลักษณ์ของผ้าขาวม้าแล้ว ยังเหมาะสมต่อการใช้งานด้วย
 
ฉัตรี ชุติสุนทรากุล เจ้าของไอเดียเล่าว่า จุดเริ่มต้นเกิดจากความชอบในลายตารางหรือลายสก็อตแบบไทยๆ บนผืนผ้าขาวม้า และพบว่าผ้าขาวม้าในภาคต่างๆ จะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันและมีอยู่หลายเกรดตามคุณภาพเนื้อผ้าและลวดลาย ประกอบกับพื้นฐานครอบครัวเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่แล้ว มีความรู้และความพร้อมด้านการผลิตงานตัดเย็บ จึงเกิดไอเดียนำผ้าขาวม้ามาเย็บเป็นกระเป๋าเพื่อจำหน่าย
 
 อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกงานออกแบบยังไม่ลงตัวเท่าที่ควร โดยเฉพาะปัญหาการจะทำผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้าให้ออกมาเข้าชุดกับเครื่องแต่งกายของผู้ใช้ เนื่องจากผ้าขาวม้ามีลวดลายและสีสันที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวสูง เมื่อทำออกมาเป็นผลิตภัณฑ์แล้วมักโดดจนไม่เข้ากับเครื่องแต่งกาย ดังนั้น ได้เข้าโครงการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ที่ทางศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจัดขึ้น โดยได้รับการเวิร์คชอป และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญของ TCDC ช่วยให้เกิดไอเดียต่อยอดผลิตภัณฑ์ ด้วยการนำผลิตภัณฑ์อื่นๆ มาผสมผสาน เช่น ผ้าลูกไม้ และผ้าแคนวาส ช่วยให้ดีไซน์มีความลงตัวยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ยังสามารถรักษาเอกลักษณ์ของผ้าขาวม้าไว้ได้ด้วย 
 
 "เราตั้งเป้าที่จะทำเป็นกระเป๋าและอุปกรณ์เสริม (แอคเซสซารี่) แต่ด้วยลวดลายของผ้าขาวม้า ทำให้จับคู่กับการแต่งกายได้ลำบาก จึงได้รับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญของ TCDC ในการผสานผ้าแคนวาสสีสดกับผ้าขาวม้า เสริมด้วยผ้าลูกไม้และเลื่อมให้ดูหวานแบบผู้หญิงมากขึ้น การใช้สีพื้นของผ้าแคนวาสเป็นการลดทอนลายของผ้าขาวม้า ที่อาจมากเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการจับคู่กับเสื้อผ้าของสาวๆ บวกกับผ้าลูกไม้และเลื่อมที่ทำให้กระเป๋าไม่เรียบจนเกินไป ตอบโจทย์การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าขาวม้าได้ในที่สุด ไอเดียดังกล่าวจึงถูกนำมาต่อยอดสู่การผลิตสินค้าทั้งหมด
 
นอกจากนั้น ในด้านการดีไซน์เป็นผลิตภัณฑ์ พยายามให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย คือ คนรุ่นใหม่ ซึ่งปัจจุบันผูกพันเป็นการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ดิจิตอลต่างๆ อย่างยิ่ง จึงสร้างสรรค์เป็นอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้กับอุปกรณ์ดิจิตอลยอดนิยมต่างๆ เช่น กระเป๋าใส่โน้ตบุ๊ค ซอฟเคส ซองใส่สมาร์ทโฟน ซองใส่แท็บเล็ต ฯลฯ นอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่คงจุดยืนสอดรับกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ทั้งสิ้น
 
เจ้าของไอเดีย ระบุด้วยว่า สินค้าทุกชิ้นยังคงจุดขายที่การผสมผสานระหว่างการใช้ผ้าขาวผ้า เข้ากับผ้าแคนวาส โดยเลือกใช้วัตถุดิบผ้าเกรดเอ สีไม่ตก สามารถซักได้ โดยสินค้ามีทั้งแบบสีสดและสีทึม สามารถใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง
 
ด้านช่องทางขาย วางขายที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เอ็มโพเรี่ยม และรับผลิตตามคำสั่งซื้อ ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยอยู่ที่หลักร้อยบาท โดยกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ และคนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบในงานดีไซน์ผสมผสานความไทยร่วมสมัย
 
== ช่องทางการผลิตและการจัดจำหน่าย ==
ในไทยมีแหล่งจำหน่ายและแหล่งผลิตผ้าขาวม้าหลากหลายแห่งให้ได้เลือกสรรแต่ในที่นี้จะขอรวบรวมแหล่งผ้าขาวม้าทั้งหมด แต่ 7 แหล่งที่เป็นที่ขึ้นชื่อแลแก่การะคุณภาพดีคุ้มค่าแก่การลงทุน
 
1) อิมปานิ ผ้าขาวม้า IMPANI
 
Create & Design lifestyle from "Pa-Kao-Ma" เปลี่ยนผ้าขาวม้าเชยๆ ให้ทันสมัย กับหลายหลายผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ จากผ้าขาวม้า โดยเป็นทั้งผู้ผลิต-จัดจำหน่ายผ้าขาวม้า ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปพื้นเมืองกึ่งแฟชั่น และสินค้าแปรรูปแบบต่างๆ จากผ้าขาวม้า ทั้งปลีก-ส่ง พร้อมรับทอผ้าพิ้นเมือง รับผลิตสินค้าพรีเมี่ยมจากผ้าขาวม้า จังหวัดราชุรี
 
ที่อยู่: 20/5 ถนนอุดมศิริ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี ราชบุรี 70000
 
2) PAKAMIAN THAILAND พาคาเมี่ยน-ผ้าขาวม้าในเมืองใหญ่ด้วยเอกลักษณ์ ในการนำผ้าขาวม้าที่คุ้นเคยมาประยุกต์ออกแบบเป็นผลินภัณฑ์ต่างๆที่ทันสมัย เกือบสองปีที่สินค้าลายผ้าขาวผ้าออกโลดแล่นให้คนรักบ้านเลือกซื้อหาตามงานแสดงสินค้าและเว็บไซต์
 
ที่อยู่ J 102 โครงการ Featival Walk ถนนเกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพฯ โทร086-344-5059 เปิดบริการทุกวัน เวลา 10.00-22.00 น.
 
3) ผ้าขาวม้า ยิ่งเจริญโรงงานทอผ้าขาวม้ายิ่งเจริญ โรงงานทอผ้าขาวม้า ยิ่งเจริญ จ.ราชบุรี เป็นโรงงานทอผ้าขาวม้าที่ครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ผลิตและจำหน่ายผ้าขาวม้าบ้านไร่ตราช้างแดง ตรารถไฟคู่ ตรารถไฟเดี่ยวมานานกว่า 35 ปี รับทอผ้าพื้นเมือง ผ้าขาวม้า และรับสั่งทอผ้าทุกชนิดตามความต้องการของคุณ การทอผ้าของเราควบคุมทุกขั้นตอนอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การสรรหาวัตถุดิบอย่างพิถีพิถัน การออกแบบคัดเลือกลายผ้า การย้อมสีเส้นด้าย การทอ และการบรรจุเพื่อความสมบูรณ์แบบในการส่งถึงมือลูกค้า นอกจากผ้าขาวม้าบ้านไร่แล้ว เรายังผลิตผ้าขาวม้าแบบอื่นๆ เช่น ผ้าขาวม้าเชียงใหม่ ผ้าขาวม้าไส้ปลาไหล เป็นต้น ซึ่งมี 4 ขนาดมาตรฐาน คือ 60x160, 70x170, 80x180, 90x200 เซนติเมตร บรรจุเป็นแพ็คโดย 1 แพ็ค(กุลี)มีผ้า 20 ผืน โดยทางโรงงานจะคละลายตามการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญของโรงงาน
 
ที่อยู่  ติดต่อคุณโอ๊ต โทร. 0853452888, คูบัว จังหวัดราชบุรี
 
4) โรงงานทอผ้า แม่สมัยผ้าขาวม้า โรงงานทอผ้าแม่สมัยการทอ เป็นผู้ผลิดผ้าพื้นเมือง ผ้าขาวม้า ทั้งผลิตและจัดจำหน่าย
 
ที่อยู่ โรงงานทอผ้า แม่สมัย ผ้าขาวม้า ขอนแก่นหมู่10 บ้านละว้า ตำบลเมืองเพีย อำเภอบ้าไผ่ จังหวัดขอนแก่น เทศบาลนครขอนแก่น  โทร 086-229-263
 
5) เอมจิตต์ผ้าไทย(สำเพ็ง)
 
เอมจิตต์เปิดดำเนินการมากว่า 40 ปี เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในฐานะเป็นผู้ผลิตและค้าส่งสินค้า มีประสบการณ์ในการจัดจำหน่ายผ้าไทยส่งไปทั่วประเทศทั้งแบบค้าปลีกและค้าส่งผ่านผู้แทนจำหน่ายในแต่ละจังหวัด
 
ที่อยู่  120 ถ.วานิช 1 แขวง จักรวรรดิ์ เขต สัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100  โทรศัพท์: 02 221 0651
 
6) โรงงานทอผ้าขาวม้า ไข่มุก ราชบุรี
 
เป็นทั้งรงงานผลิตและจัดจำหน่าย จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง
 
ที่อยู่  92 หมู่ที่ 2, ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี, 70000 โทร 085 345 2888
 
7) Busaba craft & design
 
สินค้าไทยร่วมสมัยไม่เชยชัวร์ แถมชิค  บุษบาได้นำผ้าขาวม้าลายสกอตไทยสีสันสดใส มาพัฒนาและแปรรูปด้วยการนำเอาผ้าขาวม้าดั้งเดิมของไทยมาเพิ่มความคงทน กันเปียก กันเปื้อน แล้วนำมาผลิตเป็นสินค้าที่ทันสมัยกับยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเคส Iphone กระเป๋า Ipad กระเป๋ษแฟชั่น มากฟังก์ชั่นการใช้งานทำให้ผ้าขาวม้าผ้าภูมิปัญญาไทยสาระพัดประโยชน์กลับมาผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทย บุษบา นอกจากจะผลิตสินค้าผ้าขาวม้า ชิคๆ ให้ได้ชมในร้านสาขาแล้ว เรายังรับทำสินค้าตามออเดอร์อีกด้วย
 
ที่อยู่:773/3ประชาชื่น22 วงศ์สว่างเขต บางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 โทรศัพท์: 087 - 917 7734 พบกับสินค้าบุษบาได้ที่
 
สาขาในกรุงเทพ
 
 - ชั้น 3 Siam Paragon โซน Be Trend
 
- ชั้น 3 Siam Discovery
 
- B2S สาขา Central ลาดพร้าว       
 
สาขาต่างจังหวัด
 
- Busaba Cafe (ตรงข้ามวัดมหาธาตุ) จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 
 
- ชั้น G เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
 
- ชั้น 2 MAYA เชียงใหม่
 
- ชั้น 2 Central Airport เชียงใหม่
 
== วิสาหกิจชุมชน คอตตอนดีไซน์ ==
เดิมทีการผลิตผ้าขาวม้า เป็นกระบวนการผลิตท้องถิ่น ซึ่ง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี นั้นเป็นถิ่นที่ชาวมอญอพยพมาอยู่ โดยวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวมอญนั้นนิยมใช้ผ้าฝ้าย ซึ่งผู้ชายชาวมอญนิยมนำผ้าฝ้ายมาพาดผ้าที่ไหลทั้ง 2 ข้างและปล่อยชายผ้าไว้ข้างหลัง ส่วนผู้หญิงชาวมอญนั้นจะนิยมใช้ผ้าฝ้ายพาดที่ไหล่ทั้ง 2 ข้างเช่นกัน แต่จะปล่อยส่วนของชายผ้าไว้ข้างหน้าลำตัว ส่งผลให้ผ้าขาวม้าถูกใช้เป็นที่แพร่หลายในพื้นที่บริเวณนี้
 
'''1.วัตถุดิบและส่วนประกอบ'''
 
- เส้นใยฝ้าย เป็นเส้นใยแท้ที่ทำมาจากต้นฝ้าย โดยส่วนของฝ้ายที่จะนำมาทำเป็นเส้นใยนั้น ได้มาจากส่วนของดอก หลังจากนั้นนำมาตีเกลียวให้เป็นเส้นๆ และนำมาทอผ้า
 
- กี่ทอผ้า หรือ กี่กระตุก เป็นเครื่องมือที่มีลักษณะเป็นไม้ โดยผู้ทอจะใช้ขาเหยียบไม้ และจะใช้มือกระตุกเขยิบไม้ใหม่ สับเปลี่ยนกันจนเกิดเป็นผ้าทอออกมา
 
- สี ในการจับคู่สีที่ใช้ในการทอผ้าขาวม้าจะขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวของผู้ทอผ้าขาวม้าในผืนนั้นๆ ส่งผลให้ผ้าขาวม้ามีสีและลวดลายที่มีความหลากหลายและต่างกัน โดยจะใช้เทคนิคของการสลับ สีของเส้นยืนและเส้นพุ่ง ให้เกิดลวดลายและการสลับสีที่สวยงาม ซึ่งสีที่ใช้ในการย้อมเส้นใยนั้นจะเป็นใช้สีที่มาจากธรรมชาติ เช่น
 
'''โทนสีแดง''' ได้จาก ครั่ง ดอกมะลิวัลย์
 
'''โทนสีเหลือง''' ได้จาก ดอกคูณ แก่นขนุน
 
'''โทนสีน้ำเงิน''' ได้จาก ใบบวบ ใบตะขบ
 
'''โทนสีดำ''' ได้จาก ต้นแคน มะเกลือ เป็นต้น
 
<nowiki>*</nowiki>ซึ่งข้อดีของสีย้อมผ้าที่สกัดจากธรรมชาตินั้น จะไม่เป็นพิษต่อร่างกาย และเกิดความปลอดภัยต่อการใช้งานมากที่สุด
 
'''2. ขั้นตอนการผลิต'''
 
ในการทอผ้าขาวม้าแต่ละผืนนั้น จะต้องเตรียมเส้นฝ้ายด้วยการนำกอฝ้ายมาเข็นเป็นเส้น หลังจากนั้นนำเส้นฝ้ายไปย้อมสีจากธรรมชาติ และนำมาใช้ในการทอผ้าฝ้าย โดยมีขั้นตอนการผลิตดังนี้
 
1. เลือกสีเส้นฝ้ายที่จะนำมาใช้ในการผลิต
 
2. นำเส้นฝ้ายมาสาว เพื่อนำไปขึ้นหัวม้วนตามลวดลายที่ต้องการ
 
2. สืบหูกด้วยการนำเส้นฝ้ายที่ได้ขึ้นหัวม้วนมาสืบเข้าฟันฟืมและร้อยตะกอตามลายที่ต้องการ
 
3. ทอเป็นผืนผ้าตามที่ต้องการ
 
'''3. เคล็ดลับในการผลิต'''
 
เส้นใยผ้าฝ้ายที่นำมาใช้ในการมาทอมือนั้นจะใช้ฝ้ายแท้ ซึ่งจะทำให้เกิดความนุ่มนวลของตัวผ้า ซึ่งส่งผลให้ผู้สวมใส่รู้สึกสบายจากการได้สวมใส่
 
'''4. คุณสมบัติของผ้าขาวม้า'''
 
ดูแลรักษาง่าย สวมใส่สบาย สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี ระบายความชื้นจากน้ำและเหงื่อได้เร็ว มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สามารถทนความร้อนสูงได้
 
'''5. ประโยชน์ในการใช้สอยของผ้าขาวม้า'''
 
ทำความสะอาดร่างกาย, ปูรองนั่ง, โพกศรีษะกันแดด, นุ่งแทนกางเกง, ห่มคลุมร่างกาย, นุ่งกระโจมอกแทนผ้าถุง, ม้วนหนุนหัวแทนหมอน ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้, คลุมโต๊ะ, ซับเหงื่อ, ผูกเป็นเปล, คลุมเวลาผลัดเปลี่ยนผ้า, เป็นผ้าเช็ดตัว, เป็นผ้ากันเปื้อน, กระเป๋าใส่สัมภาระ
 
'''6. การดูแลเก็บรักษาผ้าขาวม้า'''
 
- สามารถซักได้ด้วยมือและเครื่องซักผ้า ยิ่งซักผ้าจะยิ่งนุ่ม
 
- ซักในน้ำอุณหภูมิสูงและรีดด้วยความร้อนค่อนข้างสูงได้เช่นเดียวกัน
 
- ควรใช้ผงซักฟอกอ่อน /ไม่มีฟอกสี ถ้าจะให้ดีใช้น้ำยากซักผ้าแบบอ่อนแบบซักผ้าเด็ก
 
== สรุป ==
ผ้าขาวม้าเป็นผ้าทอสารพัดประโยชน์ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาเนิ่นนาน นิยมใช้นุ่งอาบน้ำ ใช้แทนผ้าเช็ดตัว ห่มนอน ปูนอน โพกหัว คาดเอว ฯลฯ ซึ่งแล้วแต่เราแต่ละคนจะนำไปดัดแปลง
 
== ''คำศัพท์ที่ควรรู้'' ==
- '''ฟันฟืม''' หมายถึง ส่วนประกอบหนึ่งของกี่ทอผ้า มีฟันเป็นซี่คล้ายหวี ใช้กระทบให้ด้ายหรือไหมเส้นยืนและเส้นพุ่งประสานกันแน่น ฟืมเป็นสิ่งกำหนดความแคบและความกว้างของหน้าผ้า
 
- '''ร้อยตะกอ''' หมายถึง การนำด้ายยืนร้อยเข้าไปในห่วงของตะกอ แบ่งด้ายยืนออกเป็นหมู่ จะเป็นกี่หมู่นั้นขึ้นอยู่กับลวดลายที่ต้องการ
 
- '''สืบหูก''' หมายถึง การต่อด้ายในการทอหูก
 
== อ้างอิง ==
http://www.manager.co.th/smes/viewnews.aspx?NewsID=9550000077930
 
[http://loincloththai.com/เคล็ดลับ/https://www.clipmass.com/story/83894https://www.clipmass.com/story/83894 http://loincloththai.com/เคล็ดลับ/]
 
[http://loincloththai.com/เคล็ดลับ/https://www.clipmass.com/story/83894https://www.clipmass.com/story/83894 https://www.clipmass.com/story/83894]
 
[http://loincloththai.com/เคล็ดลับ/https://www.clipmass.com/story/83894https://www.clipmass.com/story/83894 https://www.clipmass.com/story/83894]
 
บทความวิชาการ วัฒนธรรมสร้างสรรค์มนต์เสน่ห์แห่งผืนผ้าลายตาราง นามว่า “ผ้าขาวม้าสารพัดนึก” Creative Culture: the Wonderful and Versatile Pakama โดย ดร.ธีรกานต์ โพธิ์แก้ว
 
ข่าวสดรายวัน  วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7900 http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUyTURjMU5RPT0=&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1pMHdOeTB4Tmc9PQ
 
หนังสือพิมพ์บ้านเมือง.  27 มกราคม 2541. หน้า 17-18.
 
http://mblog.manager.co.th/comenubb/th-87272/ (2554, พฤศจิกายน  1).
 
“บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ธีรกานต์ ใน การวิจัยทางวัฒนธรรม”, https://www.gotoknow.org/posts/467482
 
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค. 2539
 
<nowiki>http://mblog.manager.co.th/comenubb/th-87272/</nowiki>{{มรดกภูมิปัญญาชาติ/ช่างฝีมือดั้งเดิม}}
[[หมวดหมู่:ผ้าไทย]]