ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:Gusht123/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Gusht123 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Gusht123 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 1:
== ผ้าขาวม้า ==
 
== ประวัติ ==
เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของความเป็นไทย ‘ผ้าขาวม้า’ คือหนึ่งในความภาคภูมิใจที่อยู่กับเรามานานหลายยุคสมัย เกือบทุกท้องถิ่นต้องมีไว้ใช้ จนกลายเป็นผ้าสามัญประจำบ้าน แต่คุณอาจไม่ทราบมาก่อนว่า เบื้องหลังความธรรมดาของผ้าขาวม้านั้น มีที่มาไม่ธรรมดา รวมถึงมีพัฒนาการจากอดีตจนถึงปัจจุบันที่น่าทึ่งอย่างยิ่ง
 
เส้น 8 ⟶ 9:
 
นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวของผ้าขาวม้ายังมีการถ่ายทอดผ่านความเชื่อจากเรื่องเล่า “นิทานกำเนิดผ้าขาวม้า” จากบันทึกของผ้าขาวม้ารำลึกตามรอยผ้าขาวม้าของพ่อ กล่าวว่า  กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว  มีช่างทอผ้าผู้หนึ่ง  เกิดอุตริไปปัสสาวะรดต้นไม้ใหญ่ในป่าที่มีนางไม้สิงสถิตอยู่โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นางไม้ด้วยความโกรธแค้นจึงแปลงร่างเป็นมดคันไฟเข้าไปกัดบริเวณที่ลับช่างทอผ้าจนบวมแดง       ช่างทอผ้าหลังจากโดนนางไม้กัด (มดคันไฟ) ทุนรนทุรายอยู่หลายวัน ทั้งแสบทั้งคัน  คิดว่าไม่นานอาการคงจะดีขึ้น คิดเพียงว่าแค่มดคันไฟกัดเดี๋ยวเดียวคงหาย ต่อมาปรากฏว่าอาการไม่ดีขึ้น ภรรยาของเขาจึงรีบไปตามหมอมารักษาอาการของช่างทอผ้า  ซึ่งไม่มีวี่แววว่าจะหาย ต่อมาเดือดร้อนถึงพระภูมิเจ้าที่ประจำบ้านที่อดสมเพชเวทนาไม่ได้  จึงได้มาเข้าฝันช่างทอผ้าในค่ำคืนหนึ่ง เพื่อบอกถึงสาเหตุความทุกข์ทรมานของช่างทอผ้า  และบอกวิธีการแก้ไข     ในฝันพระภูมิบอกกับช่างทอผ้าว่า  ให้เขาทอผ้าฝ้ายเป็นลายตารางหมากรุก สลับสีสลับลายให้สวยงามแล้วนำไปกราบไหว้ขอขมากับนางไม้ตรงบริเวณต้นไม้ที่ช่างทอผ้าไปยืนปัสสาวะรด  โดยให้นำผ้าที่ทอนั้นไปพันไว้โคนต้นไม้เป็นเวลาสามวัน หลังจากสามวันแล้วให้นำผืนผ้านั้นกลับมานุ่งแทนเสื้อผ้าเป็นเวลาสามวัน  แล้วช่างทอผ้าก็จะหายจากอาการที่เป็นอยู่ วันรุ่งขึ้นพอช่างทอผ้าตื่นขึ้นมา ได้เล่าความฝันให้ภรรยาฟัง ภรรยาถามเขาว่าได้ไปปัสสาวะรดต้นไม้ใหญ่จริงหรือไม่  ช่างทอผ้าตอบว่าจริง นางจึงบอกให้สามีรีบเร่งไปขอขมากับนางไม้ตามที่พระภูมิเจ้าที่มาเข้าฝันโดยเร็ว  หลังจากช่างทอผ้าได้ทำการขอขมากับนางไม้ตามที่พระภูมิเจ้าที่  อาการของช่างทอผ้าได้หายเป็นปลิดทิ้ง  แม้นเขาจะหายจากอาการคันแล้ว  เขาก็ยังนุ่งผ้าขาวม้าที่ใช้ขอขมานางไม้มาโดยตลอด มิหนำซ้ำเขายังได้แจกจ่ายผ้าขาวม้าให้กับเพื่อนบ้านคนอื่นๆ ได้นำไปใช้ประโยชน์อีกด้วย ซึ่งภายหลังผ้าขาวม้าจึงได้รับความนิยมเรียกกันติดปากว่า “ผ้าขมา”  ผ้าที่ใช้แทนการขอโทษ  หรือแทนคุณ จนกระทั่งปัจจุบันได้เพี้ยนมาเป็น “ผ้าขาวม้า” ในที่สุด
 
คำบอกเล่าเกี่ยวกับความเชื่อของผ้าขาวม้ายังเกี่ยวข้องกับเรื่องเวทมนต์ ดังเรื่องเล่าเกี่ยวกับหลวงพ่อพรหมณ์วัดช่องแค  ตำบลตากฟ้า อำเภอตาคลี  จังหวัดนครสวรรค์  ชาติภูมิเดิมเป็นชาวตำบลบ้านแพรก  อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พ.ศ. 2477 ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญถึงรหัสปริศนา ผ้าขาวม้าของชาวบ้าน จึงนำเอาผ้าขาวม้าของชาวบ้าน ตำบลหนองน้ำใส  อำเภอภาชี  ซึ่งมีรกรากจากชาวเวียงจันทน์  นำมาเสกด้วยพุทธาคม เป็น “ผ้าขาวม้ามหาเวทย์”   เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน  และใช้ในพิธีสำคัญ ต่างๆ เช่น ขึ้นบ้านใหม่ชาวบ้านจะนำผ้าขาวม้ามาผูกไว้ที่เสาเอกแขวนไว้ที่ขื่อ  ซึ่งมีความเชื่อว่าสามารถป้องกันขโมยลักวัว ควาย  เป็ด ไก่ได้  บางแห่งนำไปขับไล่สิ่งไม่ดี  ขับไล่นก หนู  แมลง  เพลี้ยกระโดด ไม่ให้ไปทำลายข้าวที่ตั้งไว้ในท้องไร่ท้องนา  ความเชื่อในความมหัศจรรย์  จากปริศนาแห่งโชคชะตา  บนเส้นใยผ้าขาวม้า  สรุปได้ว่า “ผ้าขาวม้าแห่งโชคชะตา  ทรงคุณค่าสู่สากล”  วัฒนธรรมผ้าขาวม้า ของชาวอยุธยาจึงมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 150 ปี  จากบรรพชนสู่เยาวชน  ในรุ่นปัจจุบัน
 
ผ้าขาวม้าอยู่คู่กับคนไทยมาทุกยุคทุกสมัย   แม้โดยประวัติผ้าขาวม้าอาจไม่ใช่ผ้าของคนไทย แต่ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า 900 ปีที่ผ่านไป ผ้าขาวม้าจัดเป็นผ้าสารพัดประโยชน์ของไทยอย่างแท้จริง เพราะอย่างน้อยด้วยรูปลักษณ์และลวดลายที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องได้รวมไว้ทั้งศาสตร์แห่งสีสันและศิลป์แห่งลายผ้าไทยที่นำมาผสมผสานอย่างกลมกลืน อำนวยความสะดวกให้กับคนไทยมาหลายศตวรรษ โดยไม่มีทีท่าว่าจะสูญหายไปง่ายๆ เกี่ยวข้องกับวิถีดำรงชีวิตมากมายหลายอย่าง นับสิ่งมหัศจรรย์แห่งสายใยที่ถักทอไว้อย่างประณีต จากตำนานกาลเวลา และคุณค่าอันน่ายกย่อง สรุปได้ว่าประโยชน์ของผ้าขาวม้าใช้กันตั้งแต่เกิดจนตาย