ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามกรุงทรอย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
ชาวกรีกโบราณคาดว่าสงครามกรุงทรอยเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 13 หรือ 12 ก่อนคริสตกาล และเชื่อว่ากรุงทรอยตั้งอยู่ในประเทศตุรกีปัจจุบัน ใกล้กับ[[ช่องแคบดาร์ดาเนลส์]] เมื่อล่วงมาถึงสมัยใหม่ คนส่วนใหญ่เชื่อว่าทั้งสงครามและกรุงทรอยเป็นนิทานปรำปราที่แต่งขึ้น อย่างไรก็ดี ในปี 1868 นักโบราณคดีชาวเยอรมัน ไฮน์ริช ชไลมันน์พบกับแฟรงก์ คัลเวิร์ท ผู้โน้มน้าวชไลมันน์ว่า กรุงทรอยเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริง โดยตั้งอยู่ที่ฮิสซาร์ริคประเทศตุรกี และชไลมันน์เข้าควบคุมการขุดค้นของคัลเวิร์ทบนพื้นที่ซึ่งเป็นทรัพย์สินของคัลเวิร์ท<ref>{{cite book|last=Bryce|first=Trevor|title=The Trojans and their neighbours|year=2005|publisher=Taylor & Francis|isbn=978-0-415-34959-8|url=http://books.google.com/?id=XZelJgdu9mkC&pg=PA37&dq=Schliemann+credit+Calvert#v=onepage&q=Schliemann%20credit%20Calvert&f=false|page=37}}</ref> คำถามที่ว่ามีความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ใดอยู่เบื้องหลังสงครามกรุงทรอยหรือไม่นั้นยังไม่มีคำตอบ นักวิชาการจำนวนมากเชื่อว่านิยายดังกล่าวมีแก่นความจริงทางประวัติศาสตร์ แม้อาจหมายความว่า เรื่องเล่าของโฮเมอร์เป็นการผสมนิทการล้อมและการออกเดินทางต่าง ๆ ของชาวกรีกไมซีเนียนระหว่างยุคสัมฤทธิ์ก็ตาม ผู้ที่เชื่อว่าเรื่องเล่าสงครามกรุงทรอยมาจากความขัดแย้งในประวัติศาสตร์อย่างเฉพาะมักระบุเวลาไว้ว่าอยู่ในศตวรรษที่ 12 หรือ 11 ก่อนคริสตกาล ซึ่งค่อนข้างสอดคล้องกับหลักฐานทางโบราณคดีของการเผาทำลายทรอย 7เอ<ref>Wood (1985: 116–118)</ref>
 
==ต้นเหตุของสงคราม==
===พระประสงค์ของซุส===
 
===การตัดสินของปารีส===
[[File:Enrique Simonet - El Juicio de Paris - 1904.jpg|thumb|''[[El Juicio de Paris (Simonet)|การตัดสินของปารีส]]'' (1904) โดย เอริเก้ ซิโมเน]]
 
มหาเทพซุสทรงทราบคำทำนายจากเทพี[[เธมิส]] (Themis) หรือ [[โพรมีเทียส]]ซึ่งได้รับการปลดปล่อยจากการจองจำในเทือกเขาคอเคซัสโดยเฮราคลีส ว่าพระองค์จะถูกโค่นลงโดยโอรสของตนเอง เหมือนอย่างที่พระองค์เคยปราบ[[โครนัส]]พระบิดาของตนมาแล้ว ยังมีอีกคำทำนายหนึ่งว่านางอัปสรทะเล ''[[เธทิส]]'' ซึ่งพระองค์ตกหลุมรักเข้า จะให้กำเนิดบุตรที่เก่งกล้ากว่าบิดา<ref>Scholiast on Homer’s ''Iliad''; Hyginus, ''Fabulae'' 54; Ovid, ''Metamorphoses'' 11.217.</ref> ด้วยเหตุนี้เธทีสจึงถูกส่งไปเป็นชายาของกษัตริย์มนุษย์ชื่อ เพเลอัส บุตรแห่ง[[ไออาคอส]]ตามคำสั่งของมเหสี[[เฮรา]]ผู้เลี้ยงดูเธทิสมา<ref>Hesiod, ''Catalogue of Women'' fr. 57; ''Cypria'' fr. 4.</ref>
 
เทวดาทุกตนได้รับเชิญไปงานอภิเสกสมรสของ เพเลอัส กับ เธทีส และต่างก็นำของขวัญไปมากมาย<ref>Photius, ''Myrobiblion'' 190.</ref> เว้นก็แต่ ''[[เอริส]]'' เทพีแห่งความวิวาทขัดแย้ง ซึ่งไม่ได้ถูกรับเชิญและห้ามเข้ามาในงานตามคำสั่งของซุส<ref>P.Oxy. 56, 3829 (L. Koppel, 1989)</ref> เอริสโกรธและรู้สึกเสียหน้า จึงโยน[[แอปเปิ้ลทองคำ]] (το μήλον της έριδος) อันเป็นของขวัญที่ตนนำมาเข้าไปในงาน โดยสลักคำว่า ''καλλίστῃ'' หรือ "แด่ผู้ที่งามที่สุด"<ref>Apollodorus ''Epitome'' E.3.2</ref> ไว้บนแอปเปิ้ล ฯ สามเทวีแห่งโอลิมปัส ได้แก่ [[เฮรา]], [[อะธีนา]], และ [[แอโฟรไดที]] ต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในผลแอปเปิ้ล และโต้เถียงกันอย่างเผ็ดร้อน แต่ก็ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดยอมออกความเห็นตัดสินว่าเทพีองค์ไหนมีความงามเหนือกว่าคู่แข่ง ในที่สุดมหาเทพซุสจึงมีบัญชาให้เทพ[[เฮอร์มีส]]นำเทวีสวรรค์ทั้งสามไปหา[[ปารีส (ทรอย)|ปารีสเจ้าชายแห่งทรอย]] ปารีสนั้นไม่ทราบถึงชาติกำเนิดของตน เพราะถูกเลี้ยงมาอย่างเด็กเลี้ยงแกะบนภูเขาไอด้า<ref>Pausanias, 15.9.5.</ref> เนื่องจากมีคำนายว่าเด็กคนนี้จะนำความล่มสลายมาสู่กรุงทรอย<ref>Euripides ''Andromache'' 298; Div. i. 21; Apollodorus, ''Library'' 3.12.5.</ref> วันหนึ่งหลังปารีสจากชำระกายด้วยน้ำพุบนเขาไอด้าเสร็จ เทพธิดาทั้งสามก็ปรากฎตัวให้เขาเห็นด้วยสรีระอันเปลือยปล่าว ถึงกระนั้นปารีสก็ยังไม่สามารถตัดสินผู้ชนะได้ เหล่าเทวีจึงต้องใช้วิธีติดสินบน โดยอะธีนาเสนอจะทำให้ปารีสเป็นผู้มีปัญญาหยั่งรู้ และมีทักษะในการศึกสงครามเหนือกว่าวีรบุรุษนักรบคนใดๆ, เฮราเสนออำนาจทางการเมือง และสิทธิปกครองทั้งเอเชียให้, ส่วนเทพธิดาแอโฟรไดทีเสนอให้ความรักของสตรีที่งามที่สุดในโลก(ซึ่งหมายถึง[[เฮเลนแห่งทรอย|เฮเลนแห่งสปาร์ตา]])แก่ปารีส ปารีสจึงตกลงมอบแอปเปิ้ลทองคำให้แก่แอโฟรไดที หลังจากนั้นปารีสก็ออกผจญภัยจนกลับมาสู่กรุงทรอย
[[File:Hydria Achilles weapons Louvre E869.jpg|thumb|left|เธทิสมอบอาวุธที่ตีขึ้นโดยเทพช่างเหล็ก[[ฮิฟีสตัส]]แก่[[อคิลลีส]]บุตรชายของตน ([[เครื่องดินเผารูปเขียนสีดำ]] [[ไฮเดรีย]], 575–550 ก่อนคริสต์ศักราช)]]
เพเลอัสกับเธทิสให้กำเนิดบุตรชาย และตั้งชื่อให้ว่า[[อคิลลีส]] มีคำทำนายว่าหากอคิลลีสไม่ตายในวัยชราโดยไม่มีใครรู้จัก ก็จะตายแต่หนุ่มแน่นในสนามรบแต่กวีจะร้องขับขานวีรกรรมของเขาให้มีเกียรติก้องขจรไกลไปชั่วนิรันด์<ref>Homer Iliad I.410</ref> ต่อมาเมื่ออคิลลีสอายุได้เก้าขวบ [[แคลคัส]]โหรเอกของอากาเมมนอน พยากรณ์ว่าจะตีเอากรุงทรอยได้จำเป็นต้องอาศัยกำลังของอะคิลีส<ref name="Apollodorus, Library 3.13.8">Apollodorus, ''Library'' 3.13.8.</ref> มีตำนานจากหลายๆต้นเรื่องระบุว่า เธทิสผู้แม่พยายามทำให้อะคิลีสคงกระพันในขณะที่ยังเป็นทารก บางตำนานเล่าว่าหล่อนถือลูกชายไว้เหนือกองไฟทุกคืน เพื่อเผาส่วนที่เป็นมนุษย์ปุถุชนของเขาให้สิ้นไป และถูเขาด้วย[[อมฤต]]ภาพ หรือภัตตาหารเทพ[[แอมโบรเซีย]] ({{lang-gr|ἀμβροσία}}) ในเวลากลางวัน การกระทำดังกล่าวเท่ากับเป็นการฆ่าลูกชายในเวลากลางคืน และชุบให้ฟื้นขึ้นในเวลากลางวัน เมื่อเพเลอัสพบเห็นเข้าจึงสั่งให้หยุดเสีย<ref>Apollonius Rhodius [http://www.sacred-texts.com/cla/argo/argo49.htm#4.865-884 4.869–879]; Apollodorus, ''Library'' [http://www.perseus.tufts.edu/cgi-bin/ptext?lookup=Apollod.+3.13.6 3.13.6].</ref> อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่าเธทิสนำอคิลลีสไปอาบน้ำในแม่น้ำ[[สติกซ์]]ที่ไหลผ่าน[[ปรโลกตามตำนานกรีก|ปรโลก]] เพื่อให้อยู่ยงคงกระพัน แต่เพราะหล่อนจับข้อเท้าของบุตรไว้ร่างกายส่วนนี้จึงไม่ถูกน้ำ ไม่ได้รับอมตะภาพและไม่ทนต่อการโจมตี ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "[[ส้นเท้าของอคิลลีส]]" หมายถึงจุดอ่อน ฯ อคิลลีสเติบโตขึ้นมากลายเป็นนักรบผู้แกล้วกล้าที่สุดในหมู่มนุษย์ ธีทิสผู้แม่กลัวคำทำนายของแคลคัสจึงนำลูกชายไปซ่อนเสียที่[[เกาะสกีรอส]] ({{lang-gr|Σκύρος}}) ณ ราชฐานของกษัตริย์[[ไลโคมีดีส]] ({{lang-gr|Λυκομήδης}}) โดยให้แต่งตัวเหมือนเด็กผู้หญิง<ref>Hyginus, ''Fabulae'' 96.</ref> แต่[[โอดิสเซียส]]ให้ปัญญาล่อให้เผยตัวออกมาได้
 
===ปารีสและเฮเลนหนีตามกัน===
 
==การรวบรวมกำลังรบของชาวอะเคียน และการเดินทัพครั้งแรก==
 
===โอดิสเซียสกับอคิลลีส===
 
===การรวมพลที่เอาลิส===
 
==การรวมทัพครั้งที่สอง==
 
==สงครามเก้าปี==
 
===ฟิลัคตีตีส===
 
===ทัพกรีกเดินทางถึงทรอย===
 
===การทัพของอคิลลีส===
 
== อ้างอิง ==