ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วินสตัน เชอร์ชิล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 95:
ส.ส. วินสตันเป็นบุคคลที่ต่อต้านความเคลื่อนไหวต่างๆเพื่อปลดแอก[[บริติชราช|อินเดีย]]รวมถึงต่อต้านกฎหมายที่จะให้เอกราชแก่อินเดีย ในปี 1920 เขากล่าวว่า ''"[[มหาตมา คานธี|คานธี]]ควรจะถูกมัดมือมัดเท้าไว้หน้าประตูเมืองเดลี แล้วก็ปล่อยให้ช้างตัวเบ้อเร่อเหยียบ"''<ref>Barczewsk, Stephanie, John Eglin, Stephen Heathorn, Michael Silvestri, and Michelle Tusan. ''Britain Since 1688: A Nation in the World'', p. 301</ref><ref>Toye, Richard. ''Churchill's Empire: The World That Made Him and the World He Made'', p. 172<!--publisher; ISSN/ISBN needed--></ref> ยังมีเอกสารระบุในภายหลังอีกว่า วินสตันอยากจะเห็นคานธีอดอาหารให้ตายๆไปซะ<ref>{{cite news|url=http://news.bbc.co.uk/2/hi/south_asia/4573152.stm|title=Churchill took hardline on Gandhi|publisher=BBC News|date=1 January 2006|accessdate=12 April 2010}}</ref> วินสตันเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มที่มีชื่อว่า สันนิบาตป้องกันอินเดีย (India Defence League) เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อธำรงไว้ซึ่งอิทธิพลของอังกฤษในอินเดีย ในปี 1930 วินสตันออกมาประกาศว่า กลุ่มคนและทุกอย่างของลัทธิ[[มหาตมา คานธี|คานธี]]จะต้องถูกจับกุมและถูกทำลาย<ref name="independent.ie">{{cite news|first=Kevin|last=Myers|url=http://www.independent.ie/opinion/columnists/kevin-myers/kevin-myers-seventy-years-on-and-the-soundtrack-to-the-summer-of-1940-is-filling-britains-airwaves-2286560.html|title=Seventy years on and the soundtrack to the summer of 1940 is filling Britain's airwaves|work=The Irish Independent|accessdate=7 November 2010|date=6 August 2010}}</ref> วินสตันถึงขนาดแตกหักกับ[[สแตนลีย์ บอลดวิน|นายกรัฐมนตรีบอลดวิน]]ที่จะเริ่มกระบวนการให้เอกราชแก่อินเดีย โดยกล่าวว่าจะไม่ขอรับตำแหน่งใดๆในรัฐบาลอีกตราบใดที่บอลดวินยังเป็นนายกฯอยู่
 
=== นายกรัฐมนตรีครั้งสมัยแรก (ค.ศ. 1940–45)===
==== หวนคืนสู่กระทรวงทหารเรือ ====
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น ในวันที่ 3 กันยายน 1939 วันที่สหราชอาณาจักรประกาศสงครามต่อเยอรมัน วินสตันได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงทหารเรือ ตำแหน่งเดิมกับที่เขาเคยดำรงตำแหน่งในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเป็นเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะรัฐมนตรีฝ่ายสงคราม (War cabinet) ในรัฐบาลของเชมเบอร์ลิน<ref>Churchill, Winston. ''The Second World War'' (abridged edition), p. 163. Pimlico (2002); {{ISBN|0-7126-6702-4}}</ref><ref name="papers-bio">{{cite web|url=http://www.chu.cam.ac.uk/archives/churchill_papers/biography|title=The Churchill Papers: Biographical History|accessdate=26 February 2007|last=Brendon|first=Piers|publisher=[[Churchill Archives Centre]], [[Churchill College, Cambridge]]}}</ref> ในตำแหน่งนี้ วินสตันได้พิสูจน์ตนเองเป็นรัฐมนตรีมือดีในยุคที่เรียกว่า "[[สงครามลวง]]" ตอนแรกวินสตันเสนอแผนจะส่งกองเรือทะลวงเข้าไปใน[[ทะเลบอลติก]] แต่ก็เปลี่ยนแผนเป็นการวางทุ่นระเบิดเส้นทางเดินเรือไม่ให้นอร์เวย์สามารถส่งแร่เหล็กออกจากเมืองนาร์วิกไปป้อนอุตสาหกรรมทหารของเยอรมันได้ ซึ่งจะบีบเยอรมันให้เปิดฉากโจมตีนอร์เวย์ เป็นโอกาสดีที่ราชนาวีอังกฤษจะมีชัยเหนือกองเรือเยอรมัน<ref>Lunde 2009, pp. 11–14</ref> อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเชมเบอร์ลินตลอดจนคณะรัฐมนตรีฝ่ายสงครามคัดค้านแผนการนี้ทำให้แผนล่าช้าออกไป แผนวางทุ่นระเบิดอันมีชื่อว่า "[[ปฏิบัติการวิลเฟรด]]" นี้เริ่มขึ้นในวันที่ 8 เมษายน 1940 เพียงวันเดียวก่อนที่เยอรมันจะประสบความสำเร็จใน[[การทัพนอร์เวย์|การบุกครองนอร์เวย์]]<ref name=planer>{{cite encyclopedia|first=François|last=Kersaudy|authorlink=François Kersaudy|encyclopedia=[[Norsk krigsleksikon 1940–45]] |title=allierte planer|editor=[[Hans Fredrik Dahl|Dahl]] |editor2=[[Guri Hjeltnes|Hjeltnes]] |editor3=[[Berit Nøkleby|Nøkleby]] |editor4=[[Nils Johan Ringdal|Ringdal]] |editor5=[[Øystein Sørensen|Sørensen]] |url=http://urn.nb.no/URN:NBN:no-nb_digibok_2010113005006 |accessdate=|year=1995|publisher=Cappelen|location=Oslo|isbn=82-02-14138-9|pages=17–18|language=Norwegian}}</ref>