ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมปรึกษาชาติชั้นสูง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
บรรทัด 1:
'''กรมปรึกษาชาติชั้นสูง''' ({{lang-km|ក្រុម​ប្រឹក្សា​ជាតិ​ជាន់​ខ្ពស់}} ''กฺรุมบฺรึกฺสาชาติชาน̍ขฺพส̍''}}; {{lang-en|Supreme National Council: SNC}}) เป็นความร่วมมือที่เกิดจากผู้นำ[[กัมพูชา]]ทั้งสี่ฝ่ายเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนกัมพูชาใน[[สหประชาชาติ]]ชั่วคราวจนกว่าการเลือกตั้งในกัมพูชาจะเสร็จสิ้น การประชุมของกรมปรึกษาชาติชั้นสูงเกิดขึ้นครั้งแรกในกรุงเทพฯเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2533 ที่สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาในประเทศไทย<ref name="กัมพูชาสี่ฝ่าย">วัชรินทร์ ยงศิริ.การประชุมกัมพูชาสี่ฝ่ายจากจาการ์ตาถึงพัทยา ใน กัมพูชา วันวารที่ผันเปลี่ยน. ศรีบูรณ์คอมพิวเตอร์กราฟิก. 2545 หน้า 163-170</ref> สมาชิกมี 12 คน ประกอบด้วย ฝ่ายรัฐบาลพนมเปญ 6 คน คือ [[ฮุน เซน]], [[กง ซัมโบล]], [[ฮอร์ นัมฮง]], [[สิน สอง]], [[เตีย บัญ]], และ[[เจียม สงวน]] ฝ่ายฟุนซินเปก 2 คนคือ พระ[[นโรดม รณฤทธิ์]] และแสง โกศล ฝ่าย[[แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร|แนวร่วมปลดปล่อยฯ]] 2 คนคือ [[ซอน ซาน]] และ[[เอียง เมาลี]] ฝ่าย[[เขมรแดง]] 2 คนคือ [[เขียว สัมพัน]] และ[[ซอน เซน]]<ref name="กัมพูชาสี่ฝ่าย"/>
 
ประธานกรมปรึกษาชาติชั้นสูง คือ สมเด็จพระ[[นโรดม สีหนุ]] ตามมติจากการประชุมเมื่อ 24-26 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ทุกฝ่ายยอมรับธงชาติและเพลงชาติของกรมปรึกษาชาติชั้นสูงว่าเป็นธงชาติและเพลงชาติของกัมพูชา แต่กัมพูชาทุกฝ่ายยังคงใช้ธงชาติและเพลงชาติของตนได้จนกว่าจะเลือกตั้ง ทุกฝ่ายตกลงหยุดยิงและหยุดรับความช่วยเหลือด้านอาวุธจากต่างชาติตั้งแต่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2534 สำนักงานใหญ่ของกรมปรึกษาชาติชั้นสูงอยู่ในกรุงพนมเปญ แต่ในระหว่างที่สำนักงานใหญ่ยังสร้างไม่เสร็จให้ใช้สถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาในประเทศไทยเป็นสถานที่ในการประชุม กรมปรึกษาชาติชั้นสูงยังมีหน้าที่ร่างกฎหมายเลือกตั้งและรัฐธรรมนูญใหม่ของกัมพูชา