ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สายการบิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
→‎สายการบินโดยสาร: สายการบินพรีเมียมบางรายไม่ใช่สายการบินประจำชาติใดเลย
Love Krittaya (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 8:
#'''สายการบินระดับพรีเมียม (Premium airlines)''' หรือบางครั้งอาจเรียกว่าสายการบินฟูลเซอร์วิส (Full-service airlines) คือสายการบินที่ให้บริการตามมาตรฐานสากล ทั่วโลก ซึ่งมีชั้นธุรกิจและชั้นประหยัดบนเครื่องบิน แต่บางสายการบินหรือบางลำอาจจะมีชั้นหนึ่งหรือชั้นประหยัดพิเศษให้บริการด้วย เช่น [[การบินไทย]] [[การบินไทยสมายล์]] [[แอร์ฟรานซ์]] [[โคเรียนแอร์]] [[สิงคโปร์แอร์ไลน์]] [[เดลตาแอร์ไลน์]] [[บริติชแอร์เวย์]] เป็นต้น
#'''[[สายการบินต้นทุนต่ำ]] (Low-Cost Airlines)''' เป็นสายการบินที่มีราคาค่าตั๋วถูกกว่าสายการบินมาตรฐาน ด้วยการลดต้นทุนการบิน เช่น เครื่องแบบพนักงานที่ดูเรียบง่ายกว่าสายการบินพรีเมียม, ไม่มีอาหารและเครื่องดื่มบริการฟรีบนเครื่องบิน, ไม่มีโควตาน้ำหนักบรรทุกสัมภาระใต้เครื่องบินให้ผู้โดยสารฟรี เป็นต้น ทำให้สามารถขายตั๋วโดยสารในราคาประหยัดได้ อีกทั้งมีการขายตั๋วล่วงหน้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถวางแผนจัดการเที่ยวบินได้ง่าย ลดความเสี่ยงด้านการโดยสารไม่เต็มลำ เช่น [[ไทยแอร์เอเชีย]] [[ไทเกอร์แอร์เวย์]] [[นกแอร์]] [[ไทยไลอ้อนแอร์]] เป็นต้น
#'''[[สายการบินในภูมิภาค]] (Regional airlines)''' เป็นสายการบินที่บินอยู่ภายในภูมิภาคนั้น ๆ ในระยะทางไม่ไกล โดยส่วนมากมักจะใช้เครื่องบินขนาดเล็กแบบใบพัด ไม่เกิน 100 ที่นั่ง เช่น กานต์แอร์ ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ เป็นต้น สายการบินในภูมิภาคบางรายเป็นมีการให้บริการแบบเดียวกับสายการบินระดับพรีเมียม จึงอาจถือว่าเป็นสายการบินพรีเมียมด้วย เช่น [[บางกอกแอร์เวย์]]
#'''[[สายการบินเช่าเหมาลำ]]''' คือ สายการที่ให้บริการเช่าเหมาลำโดยเฉพาะ ไม่มีการบินแบบประจำ ซึ่งบางสายการบินมีเครื่องบินเช่าเหมาลำที่จัดที่นั่งแต่ชั้นประหยัด หรืออาจจะมีชั้นธุรกิจเพิ่มมาด้วย ซึ่งรวมไปถึง เครื่องบินส่วนตัว (Private Jet) เช่น บิซิเนสแอร์ เป็นต้น