ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่ต้องใส่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{issues|ปรับภาษา=yes|ต้องการอ้างอิง=yes|จัดรูปแบบ=yes}}
{{ความหมายอื่น||ภาพยนตร์|ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปฐมวัย}}
{{กล่องข้อมูล รายการโทรทัศน์
| show_name = ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช The Series (2560)
บรรทัด 45:
ต่อมา ความสัมพันธ์ระหว่างพิษณุโลกสองแควและอยุธยาเริ่มคลอนแคลนกันมากขึ้น เมื่อทางฝ่าย [[สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช]] หลังจากที่ต้องสูญเสียพระมเหสี และเชื้อพระวงศ์ไปในศึกสงคราม จึงได้ส่งพระราชสาสน์มาขอตัว [[พระเทพกษัตรีย์]] ([[ปัทมวรรณ เค้ามูลคดี]]) พระธิดาพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเป็นพระมเหสีด้วยว่าเป็นพระธิดาใน[[สมเด็จพระสุริโยไท]] แต่ทางฝ่ายพระมหาธรรมราชาได้ลักลอบส่งสาสน์ไปบอกความยังพระเจ้าบุเรงนอง ให้มาชิงตัวไปในระหว่างทาง
 
ทางฝ่ายล้านช้าง เมื่อสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชได้สูญเสียพระเทพกษัตรีไปแล้วนั้น ได้ยกทัพมาโจมตีพิษณุโลกสองแคว ทำให้ทางฝ่ายพระมหินทราธิราชเกิดความระแวงในตัวพระมหาธรรมราชาหนักยิ่งขึ้น เพราะเกรงว่านี่จะเป็นกลศึก การสงครามที่สมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชตีพิษณุโลกสองแควนั้นไม่สำเร็จ พระเจ้าบุเรงนองได้ส่ง พระยาพุกาม และ พระยาเสือหาญ สองทหาร[[มอญ]]เข้ามาช่วยไล่ตีด้วยเพราะความเป็นสัมพันธไมตรีกันระหว่างสองเมือง แต่พระยามอญทั้งคู่ทำการไม่สำเร็จ พระเจ้าบุเรงนองจึงออกอุบายขอพระยารามณรงค์ไป แล้วจะเลิกทัพ พระมหินทราธิราชทรงเห็นด้วยจึงเข้าแผนของพระเจ้าบุเรงนองทันที
 
ขณะที่พระมหาธรรมราชาเสด็จไปยังหงสาวดีนั้น ทางฝ่ายพระมหินทราธิราชได้เสด็จมายังพิษณุโลกสองแควอัญเชิญตัวพระนางวิสุทธิ์กษัตริย์กลับไปยังอยุธยา ทางฝ่ายพระมหาธรรมราชาและพระเจ้าบุเรงนองที่ยังประทับอยู่ที่หงสาวดีทราบความดังนั้นก็พิโรธ ยกทัพของทั้งสองเมืองไปโจมตีอยุธยาพร้อมกัน แต่การสงครามครั้งนี้กลับยืดเยื้อนานกว่าที่คาดคิด จนเวลาล่วงไปเกือบปี ขณะเดียวกัน สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ก็เสด็จสวรรคต พระมหินทราธิราช ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็น สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้า ทางฝ่ายพระเจ้าบุเรงนองไม่อาจให้การสงครามยืดเยื้อมากไปกว่านี้ ออกญาจักรี ขุนนางฝ่ายอโยธยาเก่าได้ทำอุบายแสร้งเป็นว่าสามารถหนีมาจากทัพหงสาวดีได้และเข้าไปในราชสำนักอยุธยาเสนอตัวเป็นผู้บัญชาการทัพเอง โดยที่สมเด็จพระมหินทราธิราชเจ้าก็มิได้สงสัย ท้ายที่สุดออกญาจักรีก็เปิดประตูเมืองให้ฝ่ายหงสาวดีเข้ามาตีเมืองได้