ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรมอญ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20:
 
==ประวัติ==
อักษรมอญโบราณพัฒนามาจากอักษรยุคหลังปัลลวะ พบจารึกอักษรนี้ในเขต[[หริภุญชัย]] เช่นที่ จารึกแม่หินบดเวียงมะโน <ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=551</ref> เวียงเถาะ รูปแบบของอักษรมอญถูกพัฒนาขึ้นใช้ก่อนอักษรขอม และแตกต่างจากอักษรขอมที่พัฒนาจากอักษรในอินเดียใต้รุ่นเช่นเดียวกันคือ อักษรมอญตัดบ่าอักษรออกไป ทำให้รูปอักษรค่อนข้างกลม ส่วน[[อักษรขอม]]เปลี่ยนบ่าอักษรเป็นศกหรือหนามเตย
 
อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ [[ศิลาจารึก|จารึก]]วัดโพธิ์ร้าง อายุราวพุทธศตวรรษที่12 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้|เอเชียอาคเนย์]]ทั้งหมด ปรากฏเป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงใน[[ภาษามอญ]] แสดงว่ามอญใช้อักษรปัลลวะในการสื่อสาร<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=271</ref> อักษรที่ประดิษฐ์เพิ่มนี้ยังได้พบในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับ[[พระพุทธศาสนา]] สันนิษฐานว่า จารึกในราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 อักษรจารึกในศิลาหลักนี้ เรียกว่า ตัวอักษรหลังปัลลวะ<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=921</ref>