ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเมรุมาศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{บทความคัดสรร}}
[[ไฟล์:Royal crematorium of Bhumibol Adulyadej - 2017-10-21 (11).jpg|350px|thumb|พระเมรุมาศ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]]]
'''พระเมรุมาศ''' และ'''พระเมรุ''' คือ [[สถาปัตยกรรม]]ชั่วคราว หรือสถาปัตยกรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้น ณ กลางใจเมือง เพื่อใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพหรือพระราชพิธีพระศพโดยเฉพาะ<ref>[http://www.siamensis.org/board/10192.html เล่าขานงานพระเมรุ : พระเมรุมาศ พระเมรุ เมรุ]</ref> เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ มีลักษณะเป็น "[[กุฎาคาร]] หรือ เรือนยอด" คือเรือนซึ่งหลังคาต่อเป็นยอดแหลม<ref>[http://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt033.html พระเมรุมาศ - พระเมรุ]</ref> โดยในอดีตนิยมสร้างเป็นแบบ ยอดปรางค์ อาจมี[[พรหมพักตร์]]หรือไม่มีก็ได้
 
พระอภิมหาเมรุมาศ เป็นพระเมรุขนาดสูงใหญ่ ใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพ [[พระมหากษัตริย์]] [[พระอัครมเหสี]] [[พระบรมราชินี]] [[พระราชชนนี]] [[กรมพระราชวังบวรสถานมงคล|พระบวรราชเจ้า]] [[สยามมกุฎราชกุมาร|พระยุพราช]] สำหรับการตายที่ใช้ราชาศัพท์ว่าสวรรคต ภายในพระเมรุมาศมี “พระเมรุทอง” ลักษณะของพระเมรุมาศที่ปรากฏการสร้างมี 2 รูปแบบคือพระเมรุมาศทรงปราสาท ที่สร้างมาแต่โบราณ มีขนาดใหญ่โตมโหฬาร และพระเมรุมาศทรงบุษบก ส่วนพระเมรุ เช่นเดียวกับพระเมรุมาศ แต่มีขนาดเล็กลง และไม่มีพระเมรุทองภายใน ใช้สำหรับราชวงศ์ที่ทรงฐานานุศักดิ์ใช้[[ราชาศัพท์]]ว่า “ทิวงคต” หรือ “สิ้นพระชนม์”
 
การออกแบบ[[สถาปัตยกรรม]]พระเมรุมาศ พระเมรุ ต้องอาศัยการสร้างสรรค์ออกแบบจากผู้รอบรู้เจนจบงานศิลปกรรมของชาติ ช่างที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ทั้งงานออกแบบรูปลักษณ์ ก่อสร้างอาคาร การคิดลวดลายขึ้นประดิษฐ์ตกแต่งทุกส่วนให้เข้ากับอาคาร โดยมีหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงว่าพระเมรุมาศของพระองค์ใด ที่แสดงลักษณะของพระองค์นั้น