ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอไพรบึง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thucydides49 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 26:
 
== ประวัติศาสตร์และพัฒนาการ ==
[[ไฟล์:ปราสาทเยอ.jpg|thumb|300px|ปราสาทเยอ]]หลักฐานทาง[[โบราณคดี]]และ[[ประวัติศาสตร์]]ในเขตอำเภอไพรบึง แสดงให้เห็นพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอำเภอแห่งนี้ตั้งแต่ประมาณ 1,000 ปีเป็นต้นมา โดยเฉพาะในวัฒนธรรมสมัย[[อาณาจักอาณาจักรขอม]][[โบราณ]] ดังปรากฏพบชุมชนโบราณและโบราณสถาน-โบราณวัตถุในยุคสมัยและรูปแบบ[[ศิลปะ]][[ขอม]]หลายแห่ง เช่น ปราสาทเยอ และแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทเยอ ตำบลปราสาทเยอ, แหล่งโบราณคดีบ้านหัวช้าง ตำบลสำโรงพลัน <ref> กรมศิลปากร. '''วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ'''.คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว; [บรรณาธิการ : ปรุงศรี วัลลิโภดม],กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544.</ref> [[ไฟล์:Prasatyer.jpg|thumb|300px|ส่วนมุขและปราสาทประธาน ปราสาทเยอ]]
 
ส่วนในยุคปัจจุบันหรือช่วงเวลาระยะเวลาร่วมสมัยนั้น เดิมอำเภอไพรบึงเป็นท้องที่อยู่ในปกครองของ[[อำเภอขุขันธ์]] จังหวัดศรีสะเกษ ครั้นในปี พ.ศ. 2506 ประชากรในตำบลไพรบึง สำโรงพลัน ดินแดง และ ตำบลปราสาทเยอ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกได้เรียกร้องขอให้แยกและยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ นายยอด อ่อนโอภาส นายอำเภอขุขันธ์ในขณะนั้น จึงได้จัดประชุมประชาชนใน 4 ตำบล ดังกล่าว ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งกิ่งอำเภอที่ บ้านไพรบึง ตำบลไพรบึง และให้เรียกชื่อว่า'''กิ่งอำเภอไพรบึง''' และได้ขออนุมัติจากกระทรวงมหาดไทย ให้จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอและได้รับงบประมาณ ในปี [[พ.ศ. 2511]] และเปิดที่ว่าการกิ่งอำเภอเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2512 โดยมีนายยศ ทองสุทธิ์ ดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ เป็นคนแรก และได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2518 โดยมีนายมั่น พรหมบุตร ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอเป็นคนแรก